โอเล่ห์ดง ศักดิ์เสมอชัย

โอเล่ห์ดง ศิษย์เสมอชัย มีชื่อจริงว่า กิตติพงษ์ ใจกระจ่าง ชื่อเล่น โอ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ที่ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา (ปัจจุบัน คือ อำเภอรัษฎา) จังหวัดตรัง นับว่าเป็นแชมป์โลกคนแรกด้วยที่เป็นชาวใต้ หลังจากมีนักมวยจากภาคใต้หลายคนได้ชิงแชมป์โลกแล้ว แต่ยังไม่เคยมีใครประสบความสำเร็จเลย

โอเล่ห์ดง ศักดิ์เสมอชัย
เกิดกิตติพงษ์ ใจกระจ่าง
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (39 ปี)

ประวัติ

แก้

โอเล่ห์ดงเป็นบุตรของนายเสมอ และนางสมจิตร ใจกระจ่าง นายเสมอ พ่อของโอเล่ห์ดงเป็นนักมวยเก่าในชื่อ สิงห์เสมอ ลูกเจ้าแม่ไทรน้อย โอเล่ห์ดงหัดมวยกับพ่อตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และเริ่มขึ้นชกตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ต่อมาได้เข้ามาชกในกรุงเทพฯ ภายใต้การดูแลของจ่าแกะ ควนกรด และเข้าเรียนที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา จนกระทั่งจบมัธยมศึกษาปีที่ 3

ในปี พ.ศ. 2545 วิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ นำโอเล่ห์ดงมาสร้างสรรค์ในแบบมวยสากล ขณะที่มีอายุเพียง 17 ปี และได้ครองแชมป์โลกเยาวชนของสภามวยโลก ในการชกมวยสากลครั้งที่ 3 เท่านั้น และป้องกันแชมป์ได้มาตลอด จนได้ชกตัดเชือก ชนะคะแนน โอมาร์ โซโต ได้เป็นรองแชมป์โลกอันดับหนึ่งและได้ชิงแชมป์โลกไฟต์บังคับกับ เด่น จุลพันธ์ นักมวยชาวไทยที่ไปชกอยู่ที่ญี่ปุ่น และโอเล่ห์ดงเป็นฝ่ายชนะคะแนนได้ครองแชมป์โลก ในปลายปี พ.ศ. 2550 ซึ่งถือว่าเป็นแชมป์โลกมวยสากลคนแรกของไทยที่เป็นชาวใต้

หลังจากเสียแชมป์โลกในรุ่น 105 ปอนด์ (สตอร์วเวท) ไปแล้วเพราะต้องลดน้ำหนักเยอะ ได้เลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่น 115 ปอนด์ (ซูเปอร์ฟลายเวท) ซึ่งก็สามารถคว้าแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลของสภามวยโลก (WBC) ไปได้[1]

ชีวิตส่วนตัว โอเล่ห์ดงสมรสกับ สมหญิง ฉายแสง ชื่อเล่น ไอติม ชาวชุมพร ทั้งคู่คบหากันนานกว่า 10 ปี จึงสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันทั้งหมดหนึ่งคน ที่เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2554[2]

เกียรติประวัติ

แก้
  • แชมป์โลกเยาวชน WBC รุ่นมินิมัมเวท (2545 - 2549)
    • ชิง 24 ตุลาคม 2545 ชนะคะแนน อาร์มัน เดอ ลาครูซ (  ฟิลิปปินส์) ที่ ตลาดสุขุมวิท 101/1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 31 มกราคม 2546 ชนะคะแนน นีโน ซูอีโล (ฟิลิปปินส์) ที่ สุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม.
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 14 มีนาคม 2546 ชนะน็อค ยก 5 เรย์ โอราอิส (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ร้อยเอ็ด
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 5 พฤษภาคม 2546 ชนะคะแนน อีลิโดร โลโรน่า (ฟิลิปปินส์) ที่ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 25 กรกฎาคม 2546 ชนะคะแนน คาร์โล พีซาเรส (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ชัยภูมิ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 23 ตุลาคม 2546 ชนะคะแนน เฟเดริโก คาตูไบ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ราชบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 20 ก.พ. 2547 ชนะคะแนน ฟิลิป พาร์คอน (ฟิลิปปินส์) ที่ ตลาดสุขุมวิท กทม.
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 30 เม.ย. 2547 ชนะคะแนน เอ็ดมุนด์ วีลาโย‎ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นครราชสีมา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 25 มิ.ย. 2547 ชนะน็อค ยก 1 ซีเนอเดอ โอแคมโป (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นครราชสีมา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 8 ต.ค. 2547 ชนะน็อค ยก 4 เจย์ เฮอร์ล่า (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ภูเก็ต
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 25 ก.พ. 2548 ชนะน็อค ยก 6 เรย์ โอราริส (ฟิลิปปินส์) ที่ พัทยา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11, 26 สิงหาคม 2548 ชนะน็อค ยก 3 หยาง เชา (  จีน) ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12, 28 ตุลาคม 2548 ชนะน็อค ยก 6 ลิโต ซิสนอริโต (ฟิลิปปินส์) ที่ ตลาดโชคชัย 4 เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13, 23 ธันวาคม 2548 ชนะคะแนน อเล็กซ์ อารอย (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.เพชรบูรณ์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 14, 17 มีนาคม 2549 ชนะคะแนน ทอมมี่ เทอราโด (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15, 28 เมษายน 2549 ชนะคะแนน รอลเลน เดลคัสติญโญ (ฟิลิปปินส์) ที่ ตลาดไทเก็ก จังหวัดสระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16, 23 สิงหาคม 2549 ชนะคะแนน ไรอัน นิโต (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นครสวรรค์
    • พ.ศ. 2550 สละแชมป์
  • แชมป์โลก รุ่นสตอร์วเวท WBC (2550-2554)
  • แชมป์อินเตอร์เนชั่นแนล รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBC (2554-2558)
    • ชิง, 29 กรกฎาคม 2554 ชนะคะแนน มาร์ค แอนโทนี่ (ฟิลิปปินส์) ที่ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[6]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 28 ตุลาคม 2554 ชนะน็อค ยก 7 เจสัน คานอย (ฟิลิปปินส์) ที่ หน้า ศาลากลางจ.มหาสารคาม
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 6 ธันวาคม 2554 ชนะคะแนน โยบุ นาคากาม่า (ญี่ปุ่น) ที่ เวทีมวยชั่วคราว เทศบาลตำบลตากฟ้า จ.นครสวรรค์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 27 เมษายน 2555 ชนะทีเคโอ ยก 7 ฮายาโตะ คิมูระ (ญี่ปุ่น) ที่ เวทีมวยชั่วคราว ศาลพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร[7]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 12 กรกฎาคม 2555 ชนะทีเคโอ ยก 8 ไรอัน บิโต (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยชั่วคราว เทศบาลเมืองสระบุรี จ.สระบุรี[8]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 12 พฤศจิกายน 2555 ชนะคะแนน ฮิโรยูกิ ฮิซากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ เวทีมวยชั่วคราว ศาลากลาง จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 29 มีนาคม 2556 ชนะทีเคโอ ยก 7 ริชาร์ด การ์เซีย (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยชั่วคราว ศาลากลาง จ.ชัยภูมิ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 24 กรกฎาคม 2556 ชนะฟาล์ว ยก 6 โยบุ ทาคายาม่า (ญี่ปุ่น) ที่ เวทีมวยชั่วคราว สนามกีฬา จ.ลำพูน
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 31 ตุลาคม 2556 ชนะคะแนน จิโอวานนี่ เอสคาเนอร์ (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยชั่วคราว อาคารยิมเนเซี่ยม สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง จ.ตรัง
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 30 พฤษภาคม 2557 ชนะทีเคโอ ยก 4 โนริ โมราเลส (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยชั่วคราว อาคารยิมเนเซี่ยม สนามกีฬาสุระกุล ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
    • พฤศจิกายน 2558 ถูกปลดเนื่องจากไม่ได้ป้องกันตำแหน่งนานเกินกำหนด [9]

ชื่อในการชกมวยชื่ออื่น ๆ

แก้
  • โอเล่ห์ดง กระทิงแดงยิม
  • โอเล่ห์ดง ซีพีเฟรชมาร์ท

อ้างอิง

แก้
  1. "ไอ้ลูกอม" โอเล่ห์ดง กระทิงแดงยิม แชมป์โลกประวัติศาสตร์คนแรกของชาวใต้. นิตยสารมวยโลก. ฉบับที่ 1214. ธันวาคม 2550 หน้า 8-9.
  2. "คู่ชีวิต 'โอเล่ห์ดง' สมหญิง ฉายแสง 'ไอติม' กับ 'ลูกอม' ผสมรวมด้วยหัวใจ". สยามสปอร์ต. 12 October 2012. สืบค้นเมื่อ 22 February 2014.
  3. เทปการชกแชมป์เฉพาะกาลรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท WBA โอเล่ห์ดง ซีพีเฟรชมาร์ท กับ มูฮัมมัด รัคมัน.
  4. เทปในช่วงพิธีการก่อนการชกแชมป์โลกรุ่นสตรอเวท WBC โอเล่ห์ดง ซีพีเฟรชมาร์ท กับ คาสึโตะ อิโอกะ.
  5. เทปการชกแชมป์โลกรุ่นสตรอเวท WBC โอเล่ห์ดง ซีพีเฟรชมาร์ท กับ คาสึโตะ อิโอกะ.
  6. โอเล่ห์ดงชนะแต้มปินส์ซิวแชมป์สภามวยโลก จากสยามสปอร์ต
  7. วาง "โอเล่ห์ดง" ตัวแทน "พงษ์ศักดิ์เล็ก"[ลิงก์เสีย] จากผู้จัดการออนไลน์
  8. "โอเลห์ดง" ป้องกันแชมป์น็อคฟิลิปปินส์ยก 8 จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  9. WBC ปลดแชมป์ "โอเล่ห์ดง-นกน้อย" เหตุไม่ขึ้นชก เล็งให้ "ศิริมงคล" คืนสังเวียน[ลิงก์เสีย], มติชนออนไลน์.

ดูเพิ่ม

แก้