โอโดริจิ

(เปลี่ยนทางจาก โอะโดะริจิ)

โอโดริจิ (ญี่ปุ่น: 踊り字, 躍り字โรมาจิodoriji) หมายถึงเครื่องหมายซ้ำ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน (หรือสัญลักษณ์) กลุ่มหนึ่งที่ใช้สำหรับซ้ำคำหรือพยางค์เป็นหลักในภาษาญี่ปุ่น มีหลายลักษณะเช่น 々 ヽ หรือ ゝ ขึ้นอยู่กับโอกาสในการใช้

โอโดริจิอาจมีชื่อเรียกอย่างอื่นเช่น โอโดริ (ญี่ปุ่น: おどりโรมาจิodori), คูริกาเอชิฟูโง (ญี่ปุ่น: 繰り返し符号โรมาจิkuri kaeshi fugō), คาซาเนจิ (ญี่ปุ่น: 重ね字โรมาจิkasaneji), โอกูริจิ (ญี่ปุ่น: 送り字โรมาจิokuriji), ยูซูริจิ (ญี่ปุ่น: 揺すり字โรมาจิyusuriji), จูจิ (ญี่ปุ่น: 重字โรมาจิjūji), จูเต็ง (ญี่ปุ่น: 重点โรมาจิjūten), โจจิ (ญี่ปุ่น: 畳字โรมาจิjōji) ซึ่งทั้งหมดก็แปลว่าเครื่องหมายซ้ำเหมือนกัน

ประวัติ แก้

 
อักษรบนเครื่องสำริด วลีที่ปรากฏเครื่องหมายซ้ำอยู่ที่มุมซ้ายล่าง

ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของราชวงศ์ซาง เมื่ออักษรจีนมีคำเดียวกันสองคำเขียนติดกัน มันจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตัวหนึ่งที่ใช้แทนการซ้ำ เป็นจุดเริ่มต้นเครื่องหมายซ้ำ [1][2] เครื่องหมายซ้ำในสมัยนั้นใช้คำว่า ขนาดเล็กกำกับลงไปแทนคำที่ซ้ำ พบได้ในวลี 寶用 บนเครื่องสำริด (ประมาณ 900 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีความหมายเดียวกับ 子子孫孫寶用 (ของใช้สมบัติลูก ๆ หลาน ๆ)

แต่วัฒนธรรมจีนในเวลาต่อมา ก็ไม่ได้สานต่อการใช้เครื่องหมายซ้ำในลักษณะนี้อีก จะมีใช้ก็แต่เพียงภาษาญี่ปุ่นซึ่งใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน

โดโนจิเต็ง แก้

โดโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: 同の字点, อักษรโรมัน: do no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำลักษณะดังนี้ ญี่ปุ่น: (U+3005) มีรูปร่างคล้ายอักษรจีน (หรือคันจิ) โดยทฤษฎีหนึ่งว่าแปรมาจากคำว่า แปลว่า เหมือนกัน อีกทฤษฎีหนึ่งว่าแปรมาจากจุดสองจุด (หรือขีดสองขีด) จุดประสงค์หลักของเครื่องหมายนี้เพื่อย่อการเขียนคันจิ ตัวมันเองไม่มีเสียงอ่าน นั่นคือเวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม

วิธีใช้คือวางเครื่องหมายหลังคันจิที่ต้องการซ้ำแทนที่คันจิตัวที่สอง เช่น

ตามหลักการแล้ว คำที่มีความหมายแยกกันไม่สามารถใช้โดโนจิเต็ง เช่นวลี ญี่ปุ่น: 会社社長โรมาจิkaisha shachō (ไคชาชาโจ ประธานบริษัท) และ ญี่ปุ่น: 民主主義โรมาจิminsha shagi (มินชาชางิ ประชาธิปไตย) ในขณะที่ ญี่ปุ่น: 公演会々場โรมาจิkōenkaikaijō (โคเอ็งไกไกโจ สถานที่จัดงาน) สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ งานแต่งงานและงานศพในวัฒนธรรมญี่ปุ่น การเขียนคันจิซ้ำกันโดยตรงถือว่าไม่เป็นมงคล เนื่องจากหมายถึงการแต่งงานซ้ำอีก หรือความโชคร้ายซ้ำซาก ดังนั้นวลี ญี่ปุ่น: 結婚式々場โรมาจิkekkonshiki shikijō (เค็กกนชิกิชิกิโจ สถานที่จัดงานแต่งงาน) และ ญี่ปุ่น: 告別式々場โรมาจิkokubetsushiki shikijō (โคกูเบ็ตสึชิกิชิกิโจ สถานที่จัดงานศพ) จึงมักเขียนด้วยโดโนจิเต็ง

โดโนจิเต็งอาจใช้ได้กับวลีที่มีคันจิซ้ำกันทีละสองตัว ซึ่งก็ต้องใส่เครื่องหมายสองตัวเช่นกัน

ถ้าคำที่ซ้ำกันจำเป็นต้องตัดขึ้นบรรทัดใหม่ระหว่างกลางเช่นการเขียนด้วยมือ กรณีนี้จะไม่ใช้เครื่องหมายซ้ำ ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น: 散々โรมาจิsanzan (ซันซัง อย่างรุนแรง) เมื่อจำเป็นต้องเขียนแยกบรรทัดจะเขียนเป็น 散散 แทน ดังนั้นการขึ้นต้นบรรทัดด้วย 々 จึงไม่ควรเกิดขึ้น ในโปรแกรมประยุกต์ที่มีคุณลักษณะการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อมีการตัดคำท้ายบรรทัด โดโนจิเต็งจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นคันจิตัวปกติ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้น นั่นคือกรณีที่เป็นชื่อเฉพาะของบุคคลเช่น ญี่ปุ่น: 佐々木โรมาจิSasaki (ซาซากิ) เมื่อถูกตัดคำระหว่างกลาง โดโนจิเต็งจะต้องคงอยู่อย่างนั้น

กรณีคันจิซ้ำกันสองตัวแต่อ่านไม่เหมือนกัน ปกติจะไม่ใช้โดโนจิเต็ง ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น: 湯湯婆โรมาจิyutanpo (ยูตัมโปะ, ขวดใส่น้ำร้อน)

อิจิโนจิเต็ง แก้

อิจิโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: 一の字点โรมาจิichi no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำที่มีลักษณะขีดเดียว ใช้กับคานะเท่านั้น โดยที่ฮิรางานะใช้แบบมีเส้นตวัด (ゝ) (U+309D) กับ (ゞ) (U+309E) ส่วนคาตากานะใช้แบบไม่มีเส้นตวัด (ヽ) (U+30FD) กับ (ヾ) (U+30FE) อิจิโนจิเต็งใช้สำหรับแทนพยางค์ที่ซ้ำในประโยคทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในชื่อเฉพาะก็สามารถพบได้เช่นกัน

วิธีใช้คือวางเครื่องหมายหลังคานะที่ต้องการซ้ำแทนที่คานะตัวที่สอง เช่น

หลักการใช้ดากูเต็ง (เครื่องหมายเสียงก้อง ゛) กำกับหรือไม่กำกับอิจิโนจิเต็ง ถ้าใช้ ゝ หมายถึงบังคับให้พยางค์นั้นเป็นเสียงไม่ก้อง และถ้าใช้ ゞ หมายถึงบังคับให้เป็นเสียงก้อง

นิโนจิเต็ง แก้

 
นิโนจิเต็ง

นิโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: 二の字点โรมาจิni no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำลักษณะดังนี้ (〻) (U+303B) มีรูปร่างคล้ายขีดสองขีดเขียนติดกันแบบหวัด ซึ่งมีที่มาจากอักษร 二 ขนาดเล็ก เครื่องหมายนี้เรียกอีกอย่างว่า ยูซูริเต็ง (ญี่ปุ่น: 揺すり点โรมาจิyusuriten) ใช้สำหรับการเขียนแนวตั้งเป็นหลัก ใช้กำกับการอ่านอักษรที่อยู่ข้างบนในบรรทัด ความแตกต่างจากโดโนจิเต็งคือ ในขณะที่ 々 ใช้แทนอักษรที่เขียนมากกว่าหนึ่งครั้ง นิโนจิเต็งไม่ได้ใช้แทนตัวอักษรที่เขียนซ้ำ แต่ใช้แสดงการอ่านที่มีการซ้ำพยางค์ในตัวมัน ตัวอย่างเช่น 各 กับ 屡 เป็นอักษรหนึ่งตัวที่อ่านว่า โอโนโอโนะ กับ ชิบาชิบะ ตามลำดับ

เมื่อนิโนจิเต็งถูกเขียน ตำแหน่งของมันอาจเยื้องไปทางซ้ายล่างเล็กน้อยกว่าตัวก่อนหน้าเมื่อเทียบกับบรรทัด (บรรทัดในที่นี้หมายถึงเส้นกำกับในแนวตั้ง) อย่างไรก็ตามการจัดตำแหน่งเช่นนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

การซ้ำประโยคด้วยเครื่องหมาย 〃 (บุพสัญญา) ซึ่งมีชื่อว่า โนโนเต็ง (ญี่ปุ่น: ノノ点โรมาจิnonoten) หรือ โนโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: ノノ字点โรมาจิnonojiten) แม้มีขีดสองขีดเหมือนกันแต่ก็มีลักษณะต่างจากนิโนจิเต็ง

คูโนจิเต็ง แก้

 
โอโดริจิที่มีการใช้หลายแบบในงานเขียนเดียวกัน ในภาพมีทั้งโดโนจิเต็ง อิจิโนจิเต็ง และคูโนจิเต็ง

คูโนจิเต็ง (ญี่ปุ่น: くの字点, อักษรโรมัน: ku no jiten) คือเครื่องหมายซ้ำที่มีลักษณะคล้ายกับฮิรางานะ く (คุ) ที่เขียนยืดยาวออก มักจะสูงเท่ากับสองตัวอักษร ยูนิโคดจึงแบ่งเครื่องหมายนี้ออกเป็นครึ่งบนและครึ่งล่าง ได้แก่ 〳 (U+3033) 〴 (U+3034) และ 〵 (U+3035) ประกอบกันเป็นคูโนจิเต็งดังนี้ ญี่ปุ่น:
และ ญี่ปุ่น:
ใช้สำหรับการเขียนแนวตั้งเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ นอกจากนี้ ยูนิโคดก็ยังมีคูโนจิเต็งขนาดสูงหนึ่งตัวอักษรได้แก่ 〱 (U+3031) และ 〲 (U+3032)

เมื่อต้องการซ้ำลักษณะเดียวกันในการเขียนแนวนอน มักใช้ขีดขนานกันสองเส้นและมีดากูเต็งกำกับไว้ หรือใช้ へ (เฮะ) เขียนแบบยืดยาวออก คล้ายกับการหมุนคูโนจิเต็ง 90 องศาให้หันไปทางซ้าย

คูโนจิเต็งใช้เขียนแทนคานะ หรือคันจิกับคานะ ที่ซ้ำกันอย่างน้อยสองตัว เช่น

(มามา, ก็งั้น ๆ, เอาละ ๆ)

(โดชิเตโดชิเตะ, ทำไม ๆ)

(มิรูมิรุ, เร็วมาก, ชั่วพริบตา)

เมื่อพยางค์ที่ซ้ำมีเสียงก้อง ก็จะใช้คูโนจิเต็งแบบมีดากูเต็ง

(ชิกาจิกะ, อย่างนี้อย่างนั้น)

(ฮานาเรบานาเระ, แยกออกเป็นส่วน)

ในกรณีที่พยางค์ต้นแบบเป็นเสียงก้องอยู่แล้ว คูโนจิเต็งอาจจะเติมดากูเต็งหรือไม่ก็ได้

(โบยาโบยะ, ไม่ระมัดระวัง, สะเพร่า)

(บูรัมบูรัง)

ถ้ามีการอ่านซ้ำสามครั้ง คูโนจิเต็งจะถูกใช้สองครั้ง และถ้ามีการอ่านสี่ครั้ง คูโนจิเต็งจะถูกใช้ ณ เสียงอ่านครั้งที่สองกับครั้งที่สี่ [3]

การใช้งานนอกประเทศญี่ปุ่น แก้

 
ตัวอย่างการใช้โอโดริจิในภาษาจีนของไต้หวัน

วัฒนธรรมญี่ปุ่นบนเกาะไต้หวันในสมัยที่ญี่ปุ่นครอบครอง ก็เคยมีการใช้ 々 ในภาษาจีน ตัวอย่างเช่น 謝謝 (เซี่ยเซี่ย, ขอบคุณ) จะถูกเขียนเป็น 謝々 แต่ไม่ถูกใช้ในการสะกดในเอกสารทางการ นอกจากนี้โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนก็อาจใช้ 〃 หรือตัวเลข 2 เขียนเป็น 謝〃 หรือ 謝2 ซึ่งเยี่ยงอย่างเหล่านี้สามารถพบเห็นได้แม้ในประเทศญี่ปุ่นเอง

อ้างอิง แก้

  1. 戦国楚簡研究会 (บ.ก.), 書誌情報用語解説, สืบค้นเมื่อ 2008-06-13
  2. Richter, Matthias (2006), Database of Selected Characters from Guodian and Mawangdui Manuscripts — Introduction (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-02-27, สืบค้นเมื่อ 2008-06-13
  3. ตัวอย่างการเขียนซ้ำเช่นนี้แสดงให้เห็นได้ในหนังสือ อากาอิโตริ (ญี่ปุ่น: 赤い鳥โรมาจิakai tori) เล่มที่ 1 บทที่ 1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้