ไดเดลฟิมอร์เฟีย[1]
สมัยไมโอซีนตอนต้น–ปัจจุบัน[2]
เวอร์จิเนียโอพอสซัม (Didelphis virginiana)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ชั้นฐาน: สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง
อันดับ: ไดเดลฟิมอร์เฟีย
กิลล์, 1872
วงศ์: ไดเดลฟิดี
Gray, 1821
สกุล

มีหลายสกุล ดูในบทความ

โอพอสซัม (อังกฤษ: opossum) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พอสซัม (อังกฤษ: possum) มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ อันดับโอพอสซัม (Didelphimorphia; อ่านว่า ไดเดลฟิมอร์เฟีย) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายหนู แต่มีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ในซีกโลกตะวันตก อันดับนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วย 109 สปีชีส์หรือมากกว่าใน 19 สกุล โอพอสซัมเป็นหนึ่งในสัตว์ทดลองทางการแพทย์ที่มักใช้ศึกษาหาสาเหตุการเกิดโรคในคน เช่น โรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของโอพอสซัมได้ทั้งหมด ถือเป็นครั้งแรกของการถอดรหัสพันธุกรรมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่นเดียวกับจิงโจ้และโคอาล่าได้

กายภาพและลักษณะ แก้

 
กะโหลกของเวอร์จิเนียโอพอสซัม (D. virginiana)

โอพอสซัม เป็นสัตว์ที่มี ถุงหน้าท้องขนาดกลาง มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าแมวทั่วไป และ ขนาดเล็กที่สุดเท่ากับหนูขนาดเล็ก ตัวโอพอสซัมเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและเนื้อเป็นอาหาร สัตว์จำพวกนี้ จะมีลักษณะที่มีจมูกยาว กะโหลกแคบ และ มีปุ่มกระดูกบริเวณกระหม่อม การจัดเรียงของฟันมีลักษณะแบบ   ซึ่งเป็นรูปแบบของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีฟันเต็มส่วนกราม ซึ่งจะมีเขี้ยวที่มีขนาดใหญ่กว่าฟันอื่น ๆ โอพอสซัมนั้น เป็นสัตว์ที่เดินโดยใช้ฝ่าเท้าราบไปกับพื้น นิ้วหัวแม่มือสามารถพับขวางฝ่ามือได้ ซึ่งเหมือนก้นกับ ลิงยุคใหม่ และมีถุงหน้าท้องในตัวเมีย กระเพาะอาหารแบบเรียบง่าย และ มีลำไส์ขนาดเล็ก

ตัวโอพอสซัม มีระบบภูมิคุ้มกันที่น่าทึ่ง สามารถแสดงความต้านทานของพิษ จากงูหางกระดิ่ง และงูพิษชนิดอื่น ๆ ได้บางส่วนหรือทั้งหมดของพิษ[3][4] เรายังพบอีกว่าโอพอสซัมมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นตัวพาหะของโรคพิษสุนัขบ้าโดยมีเพียงแค่ 1 ใน 800 ตัวเท่านั้นที่จะติดเชื้อโรคนี้[5]

การสืบพันธุ์และวงจรชีวิต แก้

เนื่องจากมันเป็นสัตว์มีถุงหน้าท้อง จึงมีมดลูกฝังอยู่ภายในส่วนของกระเป๋าหน้า และเจริญเติบโตขึ้นในรก[6] ตามปกติ แล้วพวกมันจะให้กำเนิดลูกในฤดูหนาวหลังจากที่พวกมันตั้งครรภ์แล้ว 12-14 วัน[7] และลูกพอสซั่มที่เพิ่งเกิดใหม่จะหาทางเข้าไปอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่และทำการติดพวกมันไว้กับหัวนมของแม่ตามปกติแล้วตัวพอสซั่มอ่อนวัยจะใช้เวลาถึง 70-125 วัน[8] ในถุงหน้าท้องก่อนที่พวกมันจะย้ายออกมาเกาะติดที่หลังของแม่เป็นเวลาอีกประมาณ 2 เดือน โดยทั่วไปพอสซั่มจะมีลูกอ่อนวัยเพียงแค่หนึ่งตัวในเวลาเดียวกันและลูกอ่อนวัยของมัน จะโตเต็มที่ในเวลาสิบเดือนถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีเพื่อที่จะเจริญเติบโตเต็มวัยที่สามารถจะสืบพันธุ์ได้[9]

การหาอาหาร แก้

โอพอสซัม เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ จึงทำให้ตัวโอพอสซัมมีการกินอาหารที่กว้างมาก ในปัจจุบันอาหารของมันคือพวกซากสัตว์ที่ตายแล้ว ซึ่งพบมากในบริเวณทางรถยนต์ แต่ตามธรรมชาติแล้วพวกมันจะกินแมลง กบ นก งู สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ตัวบุ้ง และ ไส้เดือน ตัวโอพอสชั่มยังชอบกินผลไม้บางประเภท เช่น อาโวกาโด แอปเปิ้ล คลีเมนไทน์ พลับ และขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

พฤติกรรม แก้

 
ตัวโอพอสซัมกำลังแกล้งตาย

ตัวโอพอสชัม มักจะใช้ชีวิตอยู่ตัวเดียวและมีนิสัยเร่ร่อน จะอยู่ในพื้นที่ใดก็ตามที่สามารถหาอาหารและน้ำได้ง่าย จากนั้นก็จะย้ายถิ่นฐาน บางชนิดจะรวมอยู่กันเป็นกลุ่มซึ่งจะอาศัยอยู่ในโพรงที่ขุดขึ้น หรือแม้กระทั่งได้พื้นบ้าน แต่อย่างไรก็ตามหลุมที่ขุดก็ไม่ได้มีความซับซ้อนมาก เนื่องจากโอพอสชัมเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน พวกมันจึงชอบที่มืดซึ่งจะซ่อนมันให้ปลอดภัย โดยพื้นที่เหล่านั้นอาจสูงหรือต่ำกว่าพื้นดินปกติ

เมื่อโอพอสซัมถูกคุกคาม จะแสดงปฏิกิริยาการตอบสนองในรูปของการแกล้งตาย ซึ่งจะเป็นการแสดงอาการลอกเลียนแบบสัตว์ที่มีลักษณะป่วยหรือตาย โดยมีลักษณะดังนี้ มีการอ้าปากออก แยกเขี้ยวให้เห็นฟัน มีน้ำลายฟูมปาก ดวงตาจะปิดสนิทหรือบางครั้งจะปิดครึ่งหนึ่ง และมีการส่งของเหลวที่เหม็นออกมาทางต่อมบริเวณทวาร จากนั้น โอพอสซัมก็จะนอนนิ่งและไม่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเลย โดยระยะเวลาการตายของมัน จะอยู่ที่ประมาณ 40 นาที ถึง 4 ชั่วโมง ในการฟื้นตัวจากสภาพแกล้งตาย จากนั้นก็จะกระดิกหู และกลับมาใช้ชีวิตตามปรกติ[10]

การจัดหมวดหมู่ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Lew, Daniel (2006). "Two new species of Philander (Didelphimorphia, Didelphidae) from northern South America". Journal of Mammalogy. 87 (2): 224–237. doi:10.1644/05-MAMM-A-065R2.1. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. Goin, Francisco; Abello, Alejandra; Bellosi, Eduardo; Kay, Richard; Madden, Richard; Carlini, Alfredo (2007). "Los Metatheria sudamericanos de comienzos del Neógeno (Mioceno Temprano, Edad-mamífero Colhuehuapense). Parte I: Introducción, Didelphimorphia y Sparassodonta". Ameghiniana. 44 (1): 29–71.
  3. "The Opossum: Our Marvelous Marsupial, The Social Loner". Wildlife Rescue League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  4. Journal Of Venomous Animals And Toxins – Anti-Lethal Factor From Opossum Serum Is A Potent Antidote For Animal, Plant And Bacterial Toxins. Retrieved 2009-12-29.
  5. Cantor SB, Clover RD, Thompson RF (07/01/1994). "A decision-analytic approach to postexposure rabies prophylaxis". Am J Public Health. 84 (7): 1144–8. doi:10.2105/AJPH.84.7.1144. PMC 1614738. PMID 8017541. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Campbell, N. & Reece, J. (2005)BiologyPearson Education Inc.
  7. Enders, A.C. & Enders, R.K. (2005). "The placenta of the four-eyed opossum (Philander opossum))". The Anatomical Record. 165 (3): 431–439. doi:10.1002/ar.1091650311.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. O'Connell, Margaret A. (1984). Macdonald, D. (บ.ก.). The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 830–837. ISBN 0-87196-871-1.
  9. Opossum Facts. Retrieved 2009-12-29.
  10. Found an Orphaned or injured Opossum?. Opossumsocietyus.org. Retrieved on 2012-05-03.
  11. Lew, Daniel (2006). "Two new species of Philander (Didelphimorphia, Didelphidae) from northern South America". Journal of Mammalogy. 87 (2): 224–237. doi:10.1644/05-MAMM-A-065R2.1. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  12. David A. Flores, DA, Barqueza, RM, and Díaza, MM (2008). "A new species of Philander Brisson, 1762 (Didelphimorphia, Didelphidae)". Mammalian Biology. 73 (1): 14–24. doi:10.1016/j.mambio.2007.04.002.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 Pavan, Silvia Eliza; Rossi, Rogerio Vieira; Schneider, Horacio (2012). "Species diversity in the Monodelphis brevicaudata complex (Didelphimorphia: Didelphidae) inferred from molecular and morphological data, with the description of a new species". Zoological Journal of the Linnean Society. 165: 190. doi:10.1111/j.1096-3642.2011.00791.x.
  14. Flores, D. & Solari, S. 2011. Monodelphis handleyi เก็บถาวร 2012-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2011. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2.
  15. Voss, Robert S.; Pine, Ronald H.; Solari, Sergio (2012). "A New Species of the Didelphid Marsupial Genus Monodelphis from Eastern Bolivia". American Museum Novitates. 3740 (3740): 1. doi:10.1206/3740.2.
  16. Flores, D. & Teta, P. 2011. Thylamys citellus เก็บถาวร 2012-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2011. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2.
  17. Flores, D. & Martin, G.M. 2011. Thylamys fenestrae เก็บถาวร 2012-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2011. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2.
  18. Flores, D. & Martin, G.M. 2011. Thylamys pulchellus เก็บถาวร 2012-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: IUCN 2011. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2.