โอตากุ (ญี่ปุ่น: おたく/オタク) บางทีย่อว่า โอตะ เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น ใช้เรียกบุคคลที่มีความสนใจอย่างคลั่งไคล้เกี่ยวกับแฟนดอมอนิเมะมังงะ ความหมายร่วมสมัยของคำนี้เกิดจากบทความของอากิโอะ นากาโมริ ในวารสาร มังงะบูริกโกะ เมื่อ ค.ศ. 1938[1][2] คำนี้อาจใช้ในเชิงเหยียด ความหมายในแง่ลบนี้แตกแขนงมาจากมุมมองที่เหมารวมเกี่ยวกับโอตากุ รวมถึงการรายงานของสื่อใน ค.ศ. 1989 เกี่ยวกับกรณีของสึโตมุ มิยาซากิ ผู้ได้ฉายาว่า "ฆาตกรโอตากุ" แต่การศึกษาที่เผยแพร่ใน ค.ศ. 2013 พบว่า คำนี้มีความหมายเชิงลบน้อยลง และมีผู้ระบุตัวเป็นโอตากุมากขึ้น ทั้งในและนอกญี่ปุ่น[3]

ย่านอากิฮาบาระในโตเกียว บริเวณที่รวมตัวของชาวโอตากุ

วัฒนธรรมย่อยของโอตากุนี้เป็นหัวใจของงานบันเทิง สารคดี และวิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวกับอนิเมะและมังงะ วัฒนธรรมย่อยดังกล่าวเริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 ขณะที่ภาวะทางจิตใจของสังคมที่เปลี่ยนแปลงและการดูแลผู้ที่มีนิสัยโอตากุในโรงเรียนญี่ปุ่นผสมผสานกับผู้ที่ลาออกมาสู่สังคมที่ไม่ยอมรับพฤติกรรมนี้ การเกิดวัฒนธรรมย่อยนี้บังเอิญเกิดร่วมกับยุครุ่งเรืองของอนิเมะ หลังอนิเมะเรื่องโมบิลสูท กันดั้มออกฉายก่อนแตกสาขาเป็นตลาดหนังสือการ์ตูน คอมิเก็ต ต่อมาคำนิยามของโอตากุมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการจัดระดับโอตากุอีกหลายระดับ ใน ค.ศ. 2005 สถาบันวิจัยโนมูระแบ่งโอตากุเป็น 12 ประเภท และประมาณจำนวนและผลกระทบทางการตลาดของแต่ละประเภท สถาบันอื่น ๆ แบ่งย่อยออกไปอีกหรือให้ความสำคัญกับความสนใจของโอตากุเฉพาะอย่าง งานวิจัยเหล่านี้แบ่งกลุ่มตามแต่ละประเภท โดยแบ่งเป็นโอตากุอนิเมะ มังงะ รถยนต์ ไอดอล และอิเล็กทรอนิกส์ มีการประมาณผลกระทบทางเศรษฐกิจของโอตากุว่าสูงถึง 2 พันล้านเยน (18 พันล้านดอลลาร์)[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 『おたく』の研究(1) 街には『おたく』がいっぱい 中森明夫 (1983年6月号) (ภาษาญี่ปุ่น). Burikko.net.
  2. "Otaku Research #1 "This City is Full of Otaku" by Nakamori Akio (Translated by Matt Alt)". Néojaponisme.
  3. Michael Jakusoso (27 April 2013). "自分のことを「オタク」と認識してる人10代は62%、70代は23%" [62% of Teens identify as "otaku", 70's 23%]. Mynavi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2014.
  4. "Otaku Business Gives Japan's Economy a Lift". Web-Japan.org. 30 August 2005. สืบค้นเมื่อ 19 August 2013.