โล่กันกระสุน (อังกฤษ: Ballistic shield) เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ตำรวจและกองกำลังทหารใช้งาน ซึ่งออกแบบมาเพื่อหยุดหรือหันเหกระสุนที่ยิงใส่ที่ผู้ถือ โล่กันกระสุนยังสามารถป้องกันภัยคุกคามที่ร้ายแรงไม่มากนัก เช่น ของขว้างปา แม้ว่าโดยทั่วไปจะใช้ในสถานการณ์ที่โล่ปราบจลาจลไม่ให้ความคุ้มครองที่เพียงพอ[1]

โล่กันกระสุนที่มีช่องมองหุ้มเกราะแบบใสกับไฟสปอร์ตไลท์

โล่กันกระสุนสามารถทำจากวัสดุเช่นยูเอชเอ็มดับเบิลยูพีอี หรือเส้นใยอะรามิดพรีเพรก โดยอาจมีลักษณะเช่นช่องมองหุ้มเกราะแบบใส, มือจับและไฟสปอตไลท์สำหรับใช้งานตอนกลางคืน รวมถึงอาจเป็นแบบใช้มือถือหรือติดตั้งบนเฟรมแบบล้อ มันมีขนาดแตกต่างกันไป บางตัวถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องเฉพาะส่วนบน และอื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องทั้งร่างกาย[1] ไม่เหมือนกับเสื้อเกราะกันกระสุน วัตถุที่ถูกขว้างหรือถูกยิงออกมาจะไม่ถ่ายโอนการบาดเจ็บหรือความเจ็บปวดให้ผู้ถือ เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ไม่สัมผัสกับร่างกายโดยตรง[2]

โล่ขนาดเล็กพอที่จะถือโดยคนเดียว อาจได้รับการเรียกว่าเป็น "โล่ส่วนบุคคล" และอาจนำไปใช้ในรถตำรวจที่สหรัฐในฐานะอุปกรณ์มาตรฐาน การใช้งานโล่หรือไม่จะขึ้นอยู่กับนโยบายและสถานการณ์แต่ละอย่าง ซึ่งอาจเป็นนโยบายของกองกำลังตำรวจที่จะใช้โล่ในสถานการณ์ป้องกันเท่านั้น เช่น การสร้างขอบกั้นและรอการเสริมกำลัง ในขณะที่คนอื่นอาจอนุญาตให้ใช้ในสถานการณ์เชิงรุก เช่น การหยุดยานพาหนะที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงหรือเข้าใกล้ผู้ต้องสงสัยที่ถือว่าเป็นอันตราย[2]

คุณสมบัติที่แนะนำของโล่กันกระสุนสำหรับตำรวจประกอบด้วยระบบสะพายที่ช่วยให้แบกได้ในระยะยาวโดยไม่เมื่อยล้า รวมถึงความสามารถในการบรรจุกระสุนปืนพกในขณะที่ถือโล่และยิงได้อย่างแม่นยำด้วยมือเดียว การแบกโล่กันกระสุนในมือข้างหนึ่งจะจำกัดทั้งประเภทของอาวุธปืนที่สามารถใช้กับมืออื่น ๆ รวมถึงวิธีการยิงบางอย่าง[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Bhatnagar, Ashok (2016). Lightweight Ballistic Composites: Military and Law-Enforcement Applications. Woodhead Publishing. p. 214. ISBN 978-0081004258.
  2. 2.0 2.1 2.2 Armellino, Rick (March 9, 2010). "How to buy personal shields". PoliceOne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-19. สืบค้นเมื่อ 2018-05-06.