บาล คงคาธร ติลก

(เปลี่ยนทางจาก โลกมานยะ ติลก)

บาล คงคาธร ติลก (Bal Gangadhar Tilak) หรือนิยมเรียกว่า โลกมานยะ ติลก (Lokmanya Tilak; pronunciation) (23 กรกฎาคม 1856 – 1 สิงหาคม 1920) ชื่อเมื่อเกิด เกศว คงคาธร ติลก (Keshav Gangadhar Tilak) เป็นนักชาตินิยมอินเดีย, ครู และนักกิจกรรมเพื่อเอกราชอินเดีย เขาเป็นหนึ่งกลุ่มคนสามคน ลาล บาล ปาล[3] ติลกเป็นผู้นำคนแรกของขบวนการเรียกร้องเอกราชอินเดีย เจ้าอาณานิคมอังกฤษเรียกเขาว่าเป็น "บิดาของความไม่สงบในอินเดีย" (father of Indian unrest) เขาได้รับตำแหน่งนำหน้าว่า "โลกมานยะ" อันแปลว่า "ผู้ที่ซึ่งผู้คนยอมรับ (ให้เป็นผู้นำ)"[4] มหาตมะ คานธี เรียกขานเขาว่าเป็น "ผู้สร้างอินเดียยุคใหม่"[5]

โลกมานยะ

บาล คงคาธร ติลก
บาล คงคาธร ติลก
เกิด23 กรกฎาคม ค.ศ. 1856(1856-07-23)
อำเภอรัตนคีรี, รัฐบอมเบย์, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีย)[1]
เสียชีวิต1 สิงหาคม ค.ศ. 1920(1920-08-01) (64 ปี)
บอมเบย์, รัฐบอมเบย์, บริติชราช (ปัจจุบันคือมุมไบ, รัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีย)
สัญชาติอินเดีย
อาชีพนักเขียน, นักการเมือง, นักต่อสู้เพื่อเอกราช
พรรคการเมืองพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย
ขบวนการขบวนการเอกราชอินเดีข
คู่สมรสสัตยภัมบาอี ติลก (Satyabhamabai Tilak)
บุตร3[2]

ติลกเป็นผู้สนับสนุนคนแรก ๆ และคนสำคัญของขบวนการสวราช ("ปกครองตนเอง") และเป็นผู้มีแนวคิดสุดโต่งในแนวคิดการเกิดความรู้สึกร่วมในความเป็นอินเดีย (Indian consciousness) เขาเป็นที่รู้จักมากจากคำกล่าวในภาษามราฐีว่า "สวราชเป็นสิทธิ์ของเราที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเราต้องมีมัน!"

หนังสือ แก้

ติลกได้เขียนหนังสือ "ดิอาร์กติกโฮมอินเดอะเวดาส" (บ้านอาร์กติคในพระเวท) ในปี 1903 ที่ซึ่งเขาอ้างว่าพระเวทนั้นต้องแต่งขึ้นในแถบอาร์กติก ก่อนที่ชาวอารยันจะนำพามันลงมาที่แถบอินเดียในปัจจุบันก่อนเกิดยุคน้ำแข็งสุดท้าย นอกจากนี้เขายังเขียนหนังสือ "ดิออไรออน" (กลุ่มดาวนายพราน) ที่ซึ่งเขาพยายามคำนวณช่วงเวลาในพระเวทโดยใช้ตำแหน่งต่าง ๆ ของนักษัตร[6] ที่มีระบุไว้ในพระเวท นอกจากนี้เขาได้เขียนหนังสือ "ศรีมัธ ภควัทคีตา รหัสยะ" ขณะจำคุกในมันฑะเลย์ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ 'กรรมโยคะ' ในภควัทคีตา

อ้างอิง แก้

  1. Bhagwat & Pradhan 2015, pp. 11–.
  2. Anupama Rao 2009, pp. 315–.
  3. Ashalatha, Koropath & Nambarathil 2009, p. 72.
  4. Tahmankar 1956.
  5. "Bal Gangadhar Tilak", Encyclopedia Britannica
  6. Tilak 1893.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้