ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม บนที่ดินขนาดใหญ่ จำนวน 23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา บริเวณหัวมุม ถนนพระราม 4 ตัดถนนสีลม (แยกศาลาแดง) ตรงข้ามกับสวนลุมพินี ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานสีลม บริหารงานโดย บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ภายใต้การร่วมทุนของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มเซ็นทรัล โดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าขึ้นเป็นแลนด์มาร์คหนึ่งของเส้นขอบฟ้ากรุงเทพมหานคร ด้วยความสูงสุดของอาคารที่ 69 ชั้น ภายใต้สถาปัตยกรรมแบบไทยโบราณร่วมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย รองรับกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | 946 ถนนพระรามที่ 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°43′42″N 100°32′14″E / 13.72833°N 100.53722°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′42″N 100°32′14″E / 13.72833°N 100.53722°E |
เปิดให้บริการ | |
ปิดให้บริการ | 5 มกราคม พ.ศ. 2562 (มกราคม 5, 2019 | ; โรงแรมดุสิตธานีเดิม)
ผู้บริหารงาน |
|
สถาปนิก | ดรากอน โฮลดิงส์ โดย
|
จำนวนชั้น | 8 ชั้น (ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค) 39 ชั้น (โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โฉมใหม่) 69 ชั้น (ดุสิต เรสซิเดนเซส) 43 ชั้น (เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส) |
ขนส่งมวลชน | ![]() ![]() |
เว็บไซต์ | Dusit Central Park |
ประวัติ แก้ไข
พื้นที่ของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค แต่เดิมเป็นบ้านศาลาแดง ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) โดยท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงแรม ปริ๊นเซส ได้ดำเนินการขอเช่าพื้นที่จากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวที่หรูหราแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2511 ภายใต้ชื่อ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยตัวอาคารมีความสูง 23 ชั้น นับเป็นอาคารสูงแห่งแรกในประเทศไทย และใช้สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมร่วมสมัยที่ออกแบบโดยกลุ่ม Kanko Kikaku Sekkeisha ที่นำโดย โยโซะ ชิบาตะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น[2] ในส่วนของชื่อโรงแรมได้ตั้งตามชื่อเมืองจำลองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันแปลว่า "เมืองสวรรค์" ซึ่งแต่เดิมพระองค์เคยมีพระราชประสงค์ที่ต้องการจะสร้างเมืองแห่งประชาธิปไตย และให้ชื่อว่า ดุสิตธานี นั่นเอง ซึ่งการตั้งชื่อโรงแรมยังเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปในตัว เนื่องมาจากพื้นที่ตั้งของโรงแรมตั้งอยู่ตรงข้ามสวนลุมพินี และมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่[3]
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2560 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ได้เปิดดำเนินการให้กับชาวไทยและชาวต่างประเทศมาได้กว่า 47 ปี จนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครือดุสิตธานีได้ประกาศต่อสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมกับระยะเวลาปลอดหนี้อีก 7 ปี และได้รับสิทธิ์ในการเช่าต่อเนื่องอีก 30 ปี รวมทั้งสิ้น 67 ปี[4] เครือดุสิตธานีจึงประกาศแผนพัฒนาและยกระดับโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรงแรมที่เป็นที่นิยมระดับโลก ด้วยการจับมือกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม (Mixed-use) บนที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก ขึ้นมาทดแทน[5] เพื่อตอบรับต่อการพัฒนาเมืองและย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร
เมื่อเริ่มต้นโครงการใช้งบลงทุน 36,700 ล้านบาท ต่อมาเพิ่มเป็น 46,000 ล้านบาท[6] นับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่มดุสิตธานีที่ต้องการจะพัฒนาและยกระดับพื้นที่ธุรกิจอันสำคัญใจกลางกรุงเทพมหานครให้กลายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้[7] โดยโครงการมีกำหนดเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบภายใน พ.ศ. 2568
การจัดสรรพื้นที่ แก้ไข
ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค มีพื้นที่ประกอบทั้งหมดสี่ส่วน ประกอบด้วย
- ส่วนฐานอาคาร เป็นโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค ความสูง 8 ชั้น (เหนือพื้นดิน 6 ชั้น ใต้ดิน 2 ชั้น) พื้นที่รวม 80,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์ โดยชั้นใต้ดินเชื่อมกับโถงออกบัตรโดยสารสถานีสีลมของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และเชื่อมต่อกับทางเดินลอยฟ้าไปรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีศาลาแดง นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรพื้นที่บางส่วนจำนวน 7 ไร่ เป็นสวนสาธารณะ และลานกีฬากลางแจ้ง
- อาคารสำนักงานเซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส ความสูง 43 ชั้น พื้นที่รวม 90,000 ตารางเมตร ออกแบบในโทนสีเงิน และให้มุมมองโอบล้อมสวนลุมพินีทั้งหมด
- อาคารที่พักอาศัย ประกอบด้วย ดุสิต เรสซิเดนเซส จำนวน 160 ยูนิต และดุสิต พาร์คไซด์ จำนวน 246 ยูนิต โดยมีความสูง 69 ชั้น ออกแบบในโทนสีนาก ให้มุมมองโอบล้อมสวนลุมพินีและแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังเป็นอาคารสูงที่สุดของโครงการด้วย
- โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ จำนวน 259 ห้อง สูง 39 ชั้น ออกแบบในโทนสีทอง โดยนำสถาปัตยกรรมของโรงแรมเดิมทั้งหมดมาปรับใช้ใหม่ มีห้องจัดเลี้ยงที่เปิดมุมมองสวนลุมพินีแบบพาโนรามา และมีภัตตาคารพร้อมจุดชมทัศนียภาพบริเวณชั้นบนสุดของอาคาร
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 CPN เพิ่มงบลงทุนโครงการดุสิต เซ็นทรัลพาร์ค อีก 3,751 ลบ.รวม 21,144 ลบ.
- ↑ บันทึกหน้าสุดท้ายของโรงแรมดุสิตธานี ตำนานตั้งแต่รุ่นพ่อที่เป็นที่รักของคนไทย
- ↑ ‘ดุสิตธานี’ จุดเริ่มต้น การดิ้นรน และอวสานของโรงแรมไทยที่กำลังจะเป็นตำนาน
- ↑ รร.ดุสิตธานีต่อสัญญาเช่าที่อีก 30 ปี จับมือเซ็นทรัล ผุดมิกซ์ยูส
- ↑ รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ - บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
- ↑ ดุสิตธานี ปรับแผนลงทุนโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ตอบโจทย์วิถีนิวนอร์มัล
- ↑ “กลุ่มดุสิต” ผนึก “เซ็นทรัล” ยกระดับโรงแรมดุสิตฯ สู่โปรเจกต์ Mixed-use 3 หมื่นล้าน แลนด์มาร์คบนสีลม