โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ (อักษรย่อ : ศ.บ.; อังกฤษ: Setthabut Bamphen School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในสังกัดมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการสร้างโดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) เป็นอดีตโรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี[2]

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
Setthabut Bamphen School
ที่ตั้ง
แผนที่

ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.บ. / SBP
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสจฺจํ วีรํ การาเปติ
(ความซื่อสัตย์ ทำให้เกิดความกล้าหาญ)
สถาปนาพ.ศ. 2453
ผู้ก่อตั้งพระยาภักดีนรเศรษฐ
เขตการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการเตือนใจ ปิ่นนิกร
จำนวนนักเรียน3,110 คน ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน ปีการศึกษา 2562[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
สี   เขียว-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
เว็บไซต์http://www.sbp.ac.th/

ประวัติ แก้

เดิมโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญชื่อโรงเรียนวัดแสนแสบ (วัดแสนสุข) เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2453 มีฐานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอมีนบุรี ในระยะแรกโรงเรียนนี้ยังไม่มีอาคารเรียนที่ถาวร จึงต้องอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเป็นอาคารเรียน จนกระทั่งใน พ.ศ. 2469 นายณรงค์ วีริยินทะ ครูใหญ่ของโรงเรียนในขณะนั้น ได้พิจารณาร่วมกับทางราชการมีความเห็นว่า โรงเรียนวัดแสนแสบตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองและชุมชน การคมนาคมไม่สะดวก และอาคารหลังเดิมอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก สมควรสร้างอาคารหลังใหม่ให้อยู่ใกล้ย่านชุมชนมากขึ้น จึงได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากนายเลิศ เศรษฐบุตร เจ้าของบริษัทเรือเมล์ขาว ซึ่งเป็นผู้ที่เอาใจใส่ส่งเสริมการศึกษาและความเป็นอยู่ของเด็กในท้องถิ่น

ท่านได้บริจาคเงิน 7,000 บาท สมทบกับเงินงบประมาณที่กระทรวงธรรมการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอีก 4,850 บาท สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นที่บริเวณตัวจังหวัดมีนบุรี บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ทำการก่อสร้างเรียบร้อยและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 [3] เปลี่ยนชื่อเป็นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี (เศรษฐบุตรบำเพ็ญ) จัดการสอนในระบบสหศึกษา

ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ยุบจังหวัดมีนบุรีลงเป็นอำเภอมีนบุรี ขึ้นกับจังหวัดพระนคร โรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี (เศรษฐบุตรบำเพ็ญ) จึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ สังกัดแผนกโรงเรียนส่วนกลาง กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงธรรมการ

ต่อมาเมื่อจำนวนนักเรียนมีมากขึ้นทุกปี บริเวณโรงเรียนจึงไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นได้อีก คุณหญิงสิน ภักดีนรเศรษฐ (ภรรยาของพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)) ผู้อุปการะโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จึงได้จัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นใน พ.ศ. 2493 โดยเป็นที่ดินจำนวน 32 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา อยู่ริมถนนรามอินทรา ห่างจากโรงเรียนเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญในปัจจุบัน

อาคารเรียนบนที่ดินแห่งใหม่นี้ได้สร้างขึ้นเป็นหลังแรกเมื่อ พ.ศ. 2496 ชื่อ อาคารเลิศสิน (ปัจจุบันรื้อแล้ว) และได้ย้ายนักเรียนชายทั้งหมดมาอยู่ในที่ตั้งใหม่เมื่อ พ.ศ. 2498 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ส่วนสถานที่เดิมรับเฉพาะนักเรียนหญิง โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ภายหลังจึงได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษาได้เมื่อ พ.ศ. 2523 และเปิดรับนักเรียนในแบบสหศึกษาทั้งหมด (ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย) เมื่อ พ.ศ. 2534

13°48′48″N 100°42′50″E / 13.813260°N 100.713790°E / 13.813260; 100.713790

สถานที่ภายในโรงเรียน แก้

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญมีอาคารเรียน 8 หลัง โรงอาหาร 2 หลัง หอประชุม 1 หลัง และสถานที่ต่างๆ ดังนี้[4]

  • หอประชุม
  • อาคาร 1 (เลิดสิน)
  • อาคาร 2
  • อาคาร 3
  • อาคาร 4
  • อาคาร 5
  • อาคาร 6
  • อาคาร 7
  • อาคาร 8 (เลิดสิน 109)
  • โดมโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • ร้านค้า
  • ปรัมพิธี
  • โรงยิม
  • สนามฟุตบอล
  • ลานกิจกรรม
  • โรงอาหาร1
  • โรงอาหาร2

รายนามผู้บริหาร แก้

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายพุด จารุวัฒนะ พ.ศ. 2454-พ.ศ. 2468
2. นายณรงค์ วิริยินทะ พ.ศ. 2469-พ.ศ. 2506
3. นายมนัส ปางสมบูรณ์ พ.ศ. 2507-พ.ศ. 2510
4. นายณรงค์ สอนอิ่มศาสตร์ พ.ศ. 2510-พ.ศ. 2522
5. นายสมพงษ์ พูลสวัสดิ์ พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2526
6. นายอดิเรก รัตนธัญญา พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2530
7. นายหิรัญ บุปผา พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2531
8. นายอนันต์ ตรีนิตย์ พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2535
9. นายสำเนา แสงมณี พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2537
10. นายสุนทร ธาราดล พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2542
11. นายเกษม สดงาม พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2547
12. ดร.สุพรรณี สมานญาติ พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2552
13. นายประสิทธิ์ ทองเพียรพงษ์ พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2557
14. ดร.ประพนธ์ หลีสิน พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2562
15. ดร.เตือนใจ ปิ่นนิกร พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. จำนวนนักเรียน
  2. แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสามัญศึกษา เรื่อง มีผู้บริจาคทรัพย์สร้างห้องเรียนเพิ่มเติม และสร้างสะพานน้ำให้แก่โรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี "เศรษฐบุตรบำเพ็ญ"ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๖ ตอน ๐ ง ประกาศวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ หน้า ๑๔๗๒
  3. แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสามัญศึกษา เรื่อง สร้างโรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี "เศรษฐบุตรบำเพ็ญ"ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๕ ตอนที่ ๐ ง ประกาศวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ หน้าที่ ๒๒๗
  4. "อาคารและสถานที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-29. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.