โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบุรี[2] รับนักเรียนแบบสหศึกษา เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ชื่อเดิม โรงเรียนสตรีเพชรบุรีเบ็ญจมเทพอุทิศ
โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี Benchamatheputhit Phetchaburi School | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ม. / BMP |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | การศึกษาพัฒนาคน คนพัฒนาชาติ |
สถาปนา | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2460 |
ผู้ก่อตั้ง | สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1005760102 |
ผู้อำนวยการ | นายไกรรัฐ สว่างเดือน |
ครู/อาจารย์ | 2,995 คนปีการศึกษา 2563[1] |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ม. 1 - 6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ห้องเรียน | 81 ห้องเรียน (ภายในปี 2563) |
พื้นที่ | 34 ไร่ 1 งาน 78.05 ตารางวา |
สี | ███ กรมท่า ███ ขาว |
เพลง | มาร์ชกรมท่า-ขาว |
ต้นไม้ | ไทร |
พระพุทธรูป | พระพุทธพัชรไพโรจนาธิฤทธิ์ เบญจมเทพอุทิศปฏิมา |
เว็บไซต์ | www.bmp.ac.th |
ประวัติ แก้
ใน พ.ศ. 2453 ราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ได้ร่วมกันบริจาคเงิน จำนวน 2,700 บาท เพื่อจัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ที่พระราชวังรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) แต่ยังไม่ทันได้สร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ลงเสียก่อน
มหาอำมาตย์ตรีพระยาเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดเพชรบุรีในขณะนั้น จึงได้ขอพระราชทานเงินบริจาคจำนวนดังกล่าว มาสร้างเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนว่า เบญจมเทพอุทิศ[3] อันเป็นมงคลนาม เพื่ออุทิศวิทยาทานทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนจึงมีชื่อเดิมว่า โรงเรียนสตรีเพชรบุรีเบ็ญจมเทพอุทิศ ได้เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2460
ใน พ.ศ. 2473 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวน 6,000 บาท เพื่อรื้ออาคารเดิม และก่อสร้างอาคารใหม่ที่เดิม นอกจากนี้ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวน 2,000 บาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม
ใน พ.ศ. 2498 โรงเรียนได้ย้ายมา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน อันเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เนื้อที่ 36 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา และใช้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลักสูตรที่เปิดสอน แก้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แก้
- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science Smart) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics and Science Smart : MS Smart) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ระดับชั้นละ 2 ห้อง (60 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ วิทย์พลังสิบ (Science power ten) เริ่มเปิดห้องนี้เป็นทางการเมื่อปี 2566 ม.1 (40 คน)
- โครงการห้องเรียนอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สองภาษา (Science and Mathematics Bilingual Program : Education Hub) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (25 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 8 ห้อง (320 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้
- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science Smart) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics and Science Smart : MS Smart) ระดับชั้นละ 2 ห้อง (72 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ (Mathematics and English Smart : ME Smart) ระดับชั้นละ 0.5 ห้อง (18 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ วิทย์พลังสิบ (Science power ten) เริ่มเปิดห้องนี้เป็นทางการเมื่อปี 2566 ม.4 (40 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส (English and French Smart : EF Smart) ระดับชั้นละ 0.5 ห้อง (18 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน (English and Chinese Smart : EC Smart) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
- โครงการห้องเรียนอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สองภาษา (Science and Mathematics Bilingual Program : Education Hub) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (25 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนธุรกิจการจัดการ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
พระอนุสาวรีย์ แก้
พระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระรูปยืนเต็มพระองค์ สูง 170 เซนติเมตร หล่อด้วยโลหะรมดำ ประดิษฐาน ณ บริเวณประตูทางเข้าโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ประดิษฐานบนพระแท่นหินอ่อนสีขาว ต่อมา ได้มีการปรับปรุงโดยรอบบริเวณพระอนุสาวรีย์ โดยเปลี่ยนพื้นโดยรอบเป็นหินแกรนิตทั้งหมด และได้ประดิษฐานบนพระแท่นหินอ่อนสีขาวองค์ใหม่จนถึงปัจจุบัน อีกทั้ง ยังยกพื้นให้สูงขึ้นจากเดิม พร้อมทั้งประดับไฟเพิ่มแสงสว่าง อันเนื่องมาจาก เดิมโดยรอบบริเวณจะมืดมากในช่วงกลางคืน นอกจากนี้ ยังจัดสวนดอกไม้ไว้รอบพระอนุสาวรีย์ด้วย
ข้อมูลอาคารเรียนทั้งหมดในโรงเรียน แก้
อาคารเรียน จำนวน ๙ หลัง ได้แก่[4]
อาคาร ๑ เป็นอาคาร ๒ ชั้นใช้เป็นห้องเรียนจำนวน ๑๐ ห้อง ห้องพักครู ๒ ห้อง และห้องอื่นๆ เช่น ห้องผู้อำนวยการ ห้องประชุมรัตนา เชาว์ปรีชา สำนักงาน-อำนวยการ หอจดหมายเหตุ สำนักงานกลุ่มบริหารงานทั่วไป สำนักงานกลุ่มอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม สำนักงานกลุ่มแผนและพัฒนา (ห้องปิติพัฒนะโฆษิต ) ห้องเรียนรวม (ห้องรำไพ เลี้ยงจันทร์) ศูนย์ให้คำปรึกษาห้องพัสดุ และห้องน้ำครู ๒ ห้อง
อาคาร ๒ (อาคารเฟื้องฟ้า อุทิศ รุ่งธีระ) เป็นอาคาร ๒ ชั้น ใช้เป็นห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ศูนย์บริการเอกสารการพิมพ์ ห้องเรียนจำนวน ๕ ห้อง และห้องน้ำนักเรียนจำนวน ๒๐ ห้อง
อาคาร ๓ (หอสมุด) เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว สร้างด้วยเงินบริจาค ใช้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน (กำลังดำเนินการจัดทำ)
อาคาร ๔ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนจำนวน ๙ ห้อง และห้องอื่นๆ เช่น ห้อง EP ห้องประชุมศรีเบญจม์ สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ ห้องปฏิบัติการภาษา กลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ ศูนย์ภาษาอังกฤษ ศูนย์ภาษาฝรั่งเศส ศูนย์ภาษาจีน ห้องทะเบียน ห้อง ๘ เหลี่ยม (รำไพ เลี้ยงจันทร์) ห้องวัดผล ห้องศูนย์ EP ห้องปฏิบัติการคุณแม่บุญรวม เสนาดิศัย และห้องน้ำครู ๒ ห้อง
อาคาร ๕ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนจำนวน ๑๒ ห้อง และห้องอื่นๆ เช่น ห้องพักครูกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสีเขียว ห้องวชิรเบญจม์ ศูนย์ฯ วิทยาศาสตร์ ห้องโครงงานวิทยาศาสตร์ ห้อง Smart Classroom เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ห้องซ่อมสร้างอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และห้องน้ำครู ๒ ห้อง
อาคาร ๖ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนจำนวน ๑๕ ห้อง และห้องอื่นๆ เช่น ห้องพักครูกลุ่มสาระฯ สังคมศึกษา ศูนย์ฯสังคมศึกษา ศูนย์ธรรมปฏิบัติ ศูนย์ฯภาษาไทย ห้องพักครูกลุ่มสาระฯ ภาษาไทยศูนย์ธรรมปฏิบัติ และห้องน้ำครู ๒ ห้อง
อาคาร ๗ (อาคารนางสาวอัมพร บุญประคอง) เป็นอาคาร ๓ ชั้น สร้างด้วยเงินบริจาค ใช้เป็นห้องเรียนจำนวน ๑๐ ห้อง และห้องอื่นๆ เช่น ห้องประชุม อุบล ชาญใช้จักร ห้อง Smart classroom วิชาคณิตศาสตร์ ห้องพักครูกลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์ ศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องน้ำครู ๒ ห้อง และห้องน้ำนักเรียน ๒ ห้อง
อาคาร ๘ (อาคารบุญรวม เสนาดิศัย) เป็นอาคาร ๓ ชั้น สร้างด้วยเงินบริจาค ใช้เป็นห้องเรียนและห้องอื่น ๆ เช่น ห้องประชุมห้องประชุมนางสาวอัมพร บุญประคอง ธนาคารโรงเรียน ห้องศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ Smart Classroom ๒ (ห้องเหรียญเพชร ตาลวันนา) ห้องปฏิบัติการดนตรีไทยเทียนชัย ปิติพัฒนะโฆษิต ห้องดนตรีสากล ๑ ห้องดนตรีสากล ๒ ห้องนาฏศิลป์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เทียนชัย ปิติพัฒนะโฆษิต ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ๔ ห้อง และห้องน้ำ ๗ ห้อง
อาคาร ๑๒ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ใต้ถุนโล่ง ใช้เป็นห้องเรียนจำนวน ๑๘ ห้อง และห้องน้ำนักเรียน จำนวน ๒๐ ห้องห้องพักครูกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี แก้
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง | วันที่เริ่มดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | ไม่พบหลักฐานแน่ชัด | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2460 |
2 | นายอุ๋ย ทรัพย์วณิช | ครูใหญ่ | ธันวาคม พ.ศ. 2462 |
3 | นายชิ้น สำราญสุข | ครูใหญ่ | 1 พฤษภาคม 2463 |
4 | นายเพชร วงษ์โมราประฬาฬ | ครูใหญ่ | 17 กรกฎาคม 2465 |
5 | ขุนบันลือศึกษาการ | ครูใหญ่ | 1 สิงหาคม 2467 |
6 | นางสาวเหรียญเพชร ตาลวันนา | ครูใหญ่ | 3 มิถุนายน 2475 |
7 | นางสาวปริ่ง โชติพินธุ | ครูใหญ่ | 1 มุถุนายน 2503 |
8 | นางโฉมยง สุพัฒนบุตร | อาจารย์ใหญ่ | 10 กรกฎาคม 2510 |
9 | นางสาวลัดดา ชาคร | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 25 กันยายน 2516 |
10 | นายสมพงศ์ ศิริวัฒน์ | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 17 มีนาคม 2527 |
11 | นางประหยัด ศรีบุญชู | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 1 ตุลาคม 2528 |
12 | นางสาวปรีดา เชื้อตระกูล | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 1 พฤศจิกายน 2532 |
13 | นางอุบล ชาญใช้จักร | ผู้อำนวยการระดับ 9 | 2 ตุลาคม 2533 |
14 | นางสาวรำไพ เลี้ยงจันทร์ | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 1 ตุลาคม 2537 |
15 | นางรัตนา เชาว์ปรีชา | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 25 ตุลาคม 2539 |
16 | นายนคร ตังคะพิภพ | ผู้อำนวยการระดับ 10 | 30 ตุลาคม 2544 |
17 | ว่าที่ ร.ต.อุทิศ รุ่งธีระ | ผู้อำนวยการระดับ 8 | 7 กุมภาพันธ์ 2551 |
18 | ดร. ไพบูลย์ เกตุแก้ว | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (ค.ศ.4) | 8 กุมภาพันธ์ 2554 |
19 | นายชูรัฐ ระหว่างบ้าน | ผู้อำนวยการชำญการพิเศษ (ค.ศ. 3) | 9 พฤศจิกายน 2559 |
20 | นายไกรรัฐ สว่างเดือน | ผู้อำนวยการชำญการพิเศษ (ค.ศ. 3) |
เกียรติประวัติ แก้
- โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 6 ครั้ง[5] คือ ในปีการศึกษา 2522, 2527, 2537, 2541, 2546 และ 2552[6]
- โรงเรียนรางวัลโล่เกียรติยศโรงเรียนรางวัลพระราชทานต่อเนื่อง จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพดีเยี่ยม ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปีการศึกษา 2546
- โรงเรียนรางวัลโล่เกียรติยศโรงเรียนรักษาคุณภาพมาตรฐานสูง ในทศวรรษ พ.ศ. 2546
- ได้รับเกียรติบัตร ระดับกรมสามัญศึกษา ในฐานะโรงเรียนจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น พ.ศ. 2544 และเกียรติบัตรระดับเขตตรวจราชการ ในฐานะโรงเรียนจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น พ.ศ. 2546
- ได้รับเกียรติบัตรการรับรองมาตรฐานระดับทองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2546
- โรงเรียนรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการรักการอ่าน สานสู่ฝัน รางวัลยอดเยี่ยม 3 รางวัล (ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา) พ.ศ. 2546
- เกียรติบัตรระดับทอง ในฐานะเป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน (โรงเรียนน่าอยู่ น่าเรียน) พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
- โรงเรียนต้นแบบ (Best Practice) ส่งเสริมการสอนภาษาต่างประเทศดีเด่น เขตตรวจราชการที่ 4 พ.ศ. 2548
- โรงเรียน "สถานที่ทำงานน่าอยู่ สะอาด ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา" ระดับทอง พ.ศ. 2548
- โรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง ระดับประเทศ พ.ศ. 2549
- โรงเรียน "รักการอ่าน" ยอดเยี่ยม และ "ห้องสมุดมีชีวิต" ยอดเยี่ยม พ.ศ. 2550
- โรงเรียนสนับสนุนการเรียนการสอนสุขศึกษาและพลศึกษาดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2551
อ้างอิง แก้
- ↑ จำนวนนักเรียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้โรงเรียนประจำจังหวัด 139 แห่งทั่วประเทศเปิดศูนย์รับร้องเรียนปัญหาสมัครสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-12-05.
- ↑ แจ้งความ กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2464 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 38
- ↑ http://it.bmp.ac.th/ictben/index.php?option=com_content&view=article&id=98:2014-06-20-09-24-09&catid=82&Itemid=468[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รายชื่อสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจาปีการศึกษา 2506 - 2551 จังหวัดเพชรบุรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง รายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี. ผลัดใบ 91. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. 2552.
- ประวัติโรงเรียน เก็บถาวร 2010-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เกียรติประวัติของโรงเรียน เก็บถาวร 2010-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน เก็บถาวร 2010-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- เว็บไซต์โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
- เฟซบุ๊กโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°06′51″N 99°56′18″E / 13.11430°N 99.93847°E