โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์

โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งจากความสำนึกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2521 ในระยะแรกได้แยกตัวมาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีล้วน โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2

โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 1 ถนนประชานิเวศน์ 3 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
พิกัด13°52′50.1″N 100°31′52.1″E / 13.880583°N 100.531139°E / 13.880583; 100.531139
ข้อมูล
ชื่อเดิมโรงเรียนเบญจมราชาลัย 2
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญ • เรียนเด่น เล่นดี มีคุณธรรม ถือความสัตย์
 • อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ
(ควรรีบทำความเพียรในวันนี้)
สถาปนา4 เมษายน พ.ศ. 2521 (46 ปี)
ผู้ก่อตั้ง • บุญเลื่อน เครือตราชู
 • สุวรรณ จันทร์สม
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230151
ผู้อำนวยการโรงเรียนนันทนา ชมชื่น
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย อังกฤษ
สี  เลือดหมู
  ขาว
เพลง"มาร์ช​เบญจมราชานุสรณ์"
ดอกไม้เฟื่องฟ้า
เว็บไซต์www.benjamarachanusorn.ac.th

ในปัจจุบันโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ตั้งในท้องที่ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี บนเนื้อที่จำนวน 20 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา มีอาคาร 8 หลัง เปิดสอนในช่วงชั้นการศึกษาที่ 3 และ 4 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 37 ห้อง (แบ่งเป็นห้องเรียน English Program, โครงการความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น และห้องเรียนทั่วไป) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 30 ห้อง แบ่งเป็นแผนการเรียนดังนี้ ห้องเรียนทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง (แบ่งเป็นวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ โครงการพิเศษ 1 ห้อง วิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ทั่วไป 2 ห้อง) ห้องเรียนศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ 2 ห้อง, ห้องเรียนศิลปศาสตร์–ภาษาศาสตร์ (แบ่งเป็นวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส 1 ห้อง, ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้อง และภาษาจีน 2 ห้อง) และคณิตศาสตร์​–คอมพิวเตอร์​ 1 ห้อง รวมทั้งสิ้น 66 ห้องเรียน (ไม่รวมห้องเรียนรวม) มีนักเรียนประมาณ 3,500 คน (ข้อมูลปีการศึกษา 2554)[1]

ประวัติ

แก้

โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กับการเคหะแห่งชาติ โดยการตระหนักถึงนโยบายด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาต่อของนักเรียน เพื่อยกระดับความรู้ของประชาชนให้สูงขึ้นและเพื่อลดจำนวนนักเรียนที่หลั่งไหลเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุดังกล่าว คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู และนายสุวรรณ จันทร์สม ได้เจรจากับการเคหะแห่งชาติ ขอรับบริจาคที่ดินจำนวน 20 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ในหมู่บ้านประชานิเวศน์ 3 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี และกระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศตั้งเป็น โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2

เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษามีคำสั่งแต่งตั้งนางสาวปนปรุง ฐีระเวช ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชาลัย ให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเบญจมราชาลัย 2 ต่อมากรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนางสาวสมภาพ คมสัน อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ให้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2 และไปเช่าโรงเรียนสมพรรัตน์ศึกษา หมู่บ้านชลนิเวศน์ เป็นสถานที่ดำเนินการ ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2522 โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2 ได้ย้ายมายังเลขที่ 42/3 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเบญจมราชาลัย 2 เป็น โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ โดยกำหนดอักษรย่อว่า บ.ส. ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอพระราชทานตราพระเกี้ยวเป็นตราประจำโรงเรียน และใน พ.ศ. 2528 ได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราสัญลักษณ์ครบรอบ 80 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มาเป็นตราประจำสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ในสมัยคนี้มีการจัดกีฬาสัมพันธ์ บ.ร.–บ.ส. ซึ่งเป็นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนเบญจมราชาลัยกับโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2527 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้งนางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร มารักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ได้กำหนดชื่อวันเกิดของโรงเรียน (วันที่ 20 ธันวาคมของทุกปี) ว่า "วันรักโรงเรียน" ให้ดอกเฟื่องฟ้าเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนและชื่ออาคารต่าง ๆ และใน พ.ศ. 2537 ได้สร้างห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์ ห้องศูนย์วิชาคณิตศาสตร์ และศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดนนทบุรี และจัดตั้งมูลนิธิผู้ปกครองและครูโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน มูลนิธินี้ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นตราประจำมูลนิธิ

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 โรงเรียนประกอบพิธีประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนได้ร่วมใจกันจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์นี้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่พระองค์ทรงมีต่อการศึกษาของปวงชนชาวไทยและของประเทศชาติโดยส่วนรวม ได้จัดทำป้ายชื่อโรงเรียน ประตูโรงเรียน ปรับปรุงห้องประชุมเล็ก และจัดทำห้องโสตทัศนศึกษา

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 นายอำนวย ศรีชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าเรือ "นิตยานุกูล" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญมราชานุสรณ์ ได้ตั้งชื่ออาคารที่ 8 ว่า "อาคารกาญจนฉัตร" จัดให้มีเครื่องฉายภาพชนิดฉายแสงผ่านแผ่นแอลซีดี (LCD projector) เพื่ออำนวยความสะดวกในการประชุม อบรม และสัมมนาของโรงเรียนและชุมชน จัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ด้วยความร่วมมือของหมวดวิชาคอมพิวเตอร์ สร้างอัฒจันทร์เชียร์กีฬา ปรับปรุงหอประชุม อาคารจุลฉัตร สร้างสวนพฤกษาบดินทร์เป็นที่ระลึกในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ จัดทำห้องเรียนสีเขียวซึ่งเป็นห้องศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักเรียน

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นายสุวรรณ เค้าฝาย ผู้อำนวยการโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ มีการปรับปรุงโรงอาหาร (อาคารจอมฉัตร) สร้างทางเดินเชื่อมอาคารปิยฉัตรกับอาคารนพฉัตร "60 พรรษา" ทางเดินเชื่อมอาคารเบญจฉัตรกับหอประชุม สร้างเวทีกลางแจ้งพร้อมเสาธง อาคารประชาสัมพันธ์ สวนผีเสื้อ ห้องน้ำสำหรับนักเรียนชายและนักเรียนหญิง บ้านพักนักการ พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายวินัย นุ่นพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม อำเภอเมืองนนทบุรี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เดินทางปฏิบัติหน้าที่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน 3 ปี แก้ไขปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ทำให้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับ "ดี" และระดับ "ดีมาก"

ต่อมาได้มีการจัดสร้างศาลาอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และปรับภูมิทัศน์หน้าอาคารต่าง ๆ ให้เอื้อบรรยากาศต่อการเรียนการสอน

อาคารและสถานที่ทั้งหมด

แก้
  • อาคารประชาสัมพันธ์
  • องค์พระ
  • อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5
  • สนามฟุตบอลใหญ่
  • บ้านพักนักการ
  • ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
  • พิพิธภัณฑ์โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
  • อาคารเบญจฉัตร (ตึก 1, ตึกภาษา) อาคาร 4 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องอำนวยการ, ห้องผู้อำนวยการ, ห้องวิชาการ ชั้น 2 : ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ, ห้องปฏิบัติการทางภาษา, ห้องเรียน ชั้น 3 : ห้องศูนย์ภาษาต่างประเทศ, ห้องศูนย์ฝรั่งเศส, ห้องเรียนนักเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น 4 : ห้องเรียน หลังอาคาร : ลานจอดรถ

  • อาคารราชาฉัตร (ตึก 2, ลานว่าง) อาคาร 4 ชั้น

ชั้น 1 : ลานอเนกประสงค์ใต้อาคาร, ห้องแผนงาน, ร้านถ่ายเอกสาร ชั้น 2 : ศูนย์แนะแนว, ห้องพักครูสังคมศึกษา, ห้องพระพุทธศาสนา, ห้องเรียน ชั้น 3 : ห้องเรียน ชั้น 4 : ห้องเรียนนักเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น, ห้องเรียน หลังอาคาร : สนามฟุตบอลเล็ก (สนามเน็ตบอล), สนามบาสเกตบอลเล็ก

  • อาคารจุลฉัตร (ตึกหอประชุม) อาคาร 2 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องกิจการนักเรียน, ห้องเครือข่ายกิจการนักเรียน, ห้องพยาบาล, ร้านค้าสวัสดิการ ชั้น 2 : หอประชุม

  • อาคารจอมฉัตร อาคาร 1 ชั้น

โรงอาหาร

  • อาคารเกล้าฉัตร (ตึกคหกรรม) อาคาร 3 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องเรียนทำอาหาร, ห้องเรียนเย็บปักถักร้อย ชั้น 2 : ห้องเรียนหลังอาคาร: แปลงเกษตร

  • อาคารนพฉัตร "60 พรรษา" (ตึก 6, ตึกคอมพิวเตอร์) อาคาร 4 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องสมุด, ห้องอินเทอร์เน็ต, ห้องโสตศึกษา 1 ชั้น 2 : ห้องเรียน, ห้องศิลปะ, ห้องพักครูศิลปะ ชั้น 3 : ห้องเรียน, ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ ชั้น 4 : ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องควบคุมระบบสารสนเทศ, ห้องพักครูเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • อาคารปิยฉัตร (ตึก 7)

หลังอาคาร : เรือนเพาะชำต้นไม้ ชั้น 1 : โรงพลศึกษาเล็ก (สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1), ห้องเรียนเกษตร, ห้องเรียนงานช่าง, ห้องศูนย์ภาษาจีน, ศูนย์กองร้อยพิเศษ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ชั้น 2 : ห้องเรียน, ห้องพักครูดนตรี–นาฏศิลป์, ห้องนาฏศิลป์ 1–2, ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องโยธวาธิต, ห้องศูนย์ดนตรี ชั้น 3 : ห้องโสตศึกษา 2, โรงพลศึกษา (สนามบาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, แบดมินตัน)

  • อาคารกาญจนฉัตร (ตึกวิทย์, ตึก 8) อาคารเรียน 8 ชั้น

ชั้น 1 : ห้องเรียน ชั้น 2 : ห้องศูนย์คณิตศาสตร์–วิทยาศาสตร์, ห้องพักครู ชั้น 3 : ห้องพักครู, ห้องเรียน ชั้น 4 : ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์, ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการทางเคมี, ห้องเรียน, ห้องพักครูฟิสิกส์, ระเบียงด้านนอก, สวนต้นไม้, บ่อปลาเล็ก ชั้น 5–8 : ห้องเรียน

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • โครงการห้องเรียนพิเศษ
    • โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Gifted Program ; SMGP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
  • โครงการห้องเรียนปกติ
    • ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 11 ห้อง (440 คน)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • โครงการห้องเรียนพิเศษ
    • โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Gifted Program ; SMGP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
  • โครงการห้องเรียนปกติ
    • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
    • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
    • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาจีน ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – พลศึกษา ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • โล่โรงเรียนพระราชทานระดับจังหวัด ปีการศึกษา 2546
  • ได้รับเกียรติบัตรชมเชยโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับเขตตรวจราชการที่ 1 ปีการศึกษา 2546
  • ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นโรงเรียนที่สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ได้รับโล่และเกียรติบัตรรางวัลดีเด่นจากกระทรวงศึกษาธิการ การจัดกิจกรรมของสถานศึกษา "รักการอ่าน ลานสู่ฝัน" ในปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ 2546 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในมงคลวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา
  • ได้รับเลือกเป็นประธานศูนย์เครือข่ายโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 เครือข่ายที่ 3 "สหศึกษาสามัคคี"
  • ได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรศึกษา)
  • โรงเรียนเข้าสู่โรงเรียนประเภทที่ 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
  • ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2550 ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 8 รายวิชาหลักเป็นลำดับที่ 2 ของเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 และได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดเป็นลำดับที่ 1 ของประเทศในรายวิชาการงานอาชีพและด้าน เทคโนโลยี ซึ่งมีเพียงโรงเรียนเดียวเท่านั้น
  • ส่วนในระดับช่วงชั้นที่ 3 (ม.3)ได้คะแนนเฉลี่ยในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (N.T.) เป็นลำดับที่ 4 ของเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 ครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้รับการเลือกให้เป็นครูที่มีผลงานวัตกรรมดีเด่นระดับจังหวัดในโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาย (Best Practice) จำนวน 5 คน
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีเด่นระดับจังหวัดนนทบุรีที่มีการพัฒนาระบบบริหารงานทางการศึกษาและการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบโปรแกรม School ICT ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่มีการบริหารจัดการด้านระบบการประกันคุณภาพดีเด่นระดับพื้นการศึกษานนทบุรี เขต 1
  • ได้รับรางวัลชมเชยการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน ตามโครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล จังหวัดนนทบุรี

กีฬาสร้างชื่อ

แก้

วอลเลย์บอล

แก้

ในช่วง พ.ศ. 2530–2540 ในวงการกีฬาวอลเลย์บอลระดับประเทศ ฉายา "ยอดลูกยางขาสั้น" เป็นเจ้าวอลเลย์บอลนักเรียนชายในยุคนั้นเป็นที่รู้จักไปทั่ว นั่นคือชื่อของทีมโรงเรียนเบญจมราขานุสรณ์ถือเป็นทีมระดับแนวหน้า ติดหนังสือพิมพ์หน้ากีฬาในหลายฉบับ และได้สร้างผลงานภายใต้การคุมทีมของอาจารย์ประพนธ์ หลีสิน ผู้ฝึกสอนใหญ่ของทีมวอลเลย์บอลโรงเรียน และได้สร้างนักกีฬาทีมชาติระดับประเทศและผู้เล่นสำคัญในแต่ละสโมสรไว้มากมาย[2]

บาสเกตบอล

แก้

โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการแข่งขันกว่า 10 ปีต่อเนื่องในรายรายการ ไม่ว่าจะเป็น

  • เริ่มพัฒนาทีมบาสเกตบอลรุ่น 12, 14, 16, 18 ปี ในระดับจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2542
  • ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Basketball Sponsor Thailand Championship, กีฬาบาสเกตบอล นักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2552 ได้รางวัลรองชนะเลิศ กีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 25 "กาญจนบุรีเกมส์"
  • พ.ศ. 2553 ได้รางวัลชนะเลิศ กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 "เมืองเพชรเกมส์"
  • พ.ศ. 2554 ได้รางวัลรองชนะเลิศ กีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 27 "อุตรดิตถ์เกมส์"
    • ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน เคมบริดจ์คัปดิเอเชียน-แปซิฟิกรีจันไฮสกูลบาสเกตบอลอินวิเทชันทัวร์นาเมนต์ (Cambridge Cup the Asian-Pacific Region High School Basketball lnvitational Tournament) ณ เมืองชิงเต่า ประเทศจีน
    • ได้รางวัลรองชนะเลิศ เดอะล็อบสเตอร์คัพอินเตอร์แนชนัลไฮสกูลบาสเกตบอลทัวร์นาเมนต์ (The Lobster Cup International High School Basketball Tournament) ณ เมืองซูอี๋ ประเทศจีน
  • พ.ศ. 2555 ได้รางวัลรองชนะเลิศ กีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 28 "ภูเก็ตเกมส์"
  • พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลชนะเลิศ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 29 "มหาสารคามเกมส์"
    • ได้รับรางวัลชนะเลิศ บาสเกตบอล กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 30 "ศรีสะเกษเกมส์"
    • ได้รองชนะเลิศกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 35 "เมืองมะขามหวานเกมส์"
  • พ.ศ. 2557 ได้รางวัลชนะเลิศ กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 36 "เชียงรายเกมส์"
    • ได้รองชนะเลิศอันดับสอง กีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 28 "จันทบุรีเกมส์"

ถือเป็นความภาคภูมิใจแก่ทีมบาสเกตบอลโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ที่ได้สร้างนักกีฬาซึ่งก็คือนักเรียนของโรงเรียนได้ติดเยาวชทีมชาติหลายคน และได้เข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณค่า[3]

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรงเรียน

แก้
  • แต่เดิมโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์มีเสื้อพละ เพียงสีเดียวคือ สีเลือดหมู-ขาว ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 โดยนโยบายของผู้บริหารได้ต้องการเน้น ความเป็นหมู่คณะสีของนักเรียนกันมากขึ้นจึงได้กำหนดให้ทุกวันศุกร์ นักเรียนจะต้องใส่เสื้อสี ประจำคณะที่นักเรียนแต่ละคนสังกัดมา ซึ่งทำให้คนภายนอกเข้าใจว่าคือ เสื้อพละซึ่งแท้จริงแล้วคือ "เสื้อสีประจำคณะ" มิใช่ เสื้อพละแต่อย่างใด
  • อาคารกาญจนฉัตร มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ตึกสลิ่ม" เนื่องจากการทาสี และ กระเบื้องที่ปูบนตึกแต่ละชั้นนั้นมีสีแตกต่างกันมาก สลับไปมาจนนักเรียนพากันเรียกว่า ตึกสลิ่ม ซึ่งคำว่า "สลิ่ม" นั้นเป็นคำนิยมในยุคนั้นซึ่งหมายถึงกลุ่มชุมนุมการเมืองที่ใส่เสื้อหลากสีนั้นเอง

รายชื่ออาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการ

แก้
ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
1 นางสาวปนปรุง ฐีระเวช อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2521
2 นางสาวสมภาพ คมสัน อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2521–2527
3 นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2527–2532
4 นายธานี สมบูรณ์บูรณะ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2532–2536
5 นายแสวง เอี่ยมองค์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2536–2539
6 นายอำนวย ศรีชัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2539–2542
7 นายสุวรรณ เค้าฝาย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2542–2546
8 นางวิไลพร ศุภวณิช ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2546–2547
9 นายกรีฑา ฤทธาภัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2547–2550
10 นายวินัย นุ่นพันธ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2550–2553
11 นายศิริวัฒน์ อาจองค์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2553–2554
12 นายอธิชาติ สวัสดี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554–2556
13 นายชัยชนะ ใจแก้ว ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2556–2557
14 นายสนอง ตรงเที่ยง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2557–2559
15 นายประพันธ์ สุเนตรวรกุล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2559–2562
16 นายชลัท ทิพย์ลมัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562–2564
17 นางนันทนา ชมชื่น ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2564– ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลสถิติจากเว็บไซต์โรงเรียน เก็บถาวร 2011-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์โรงเรียนฯ
  2. [1]
  3. [2][ลิงก์เสีย]
  4. [3] เก็บถาวร 2016-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนผลงานเหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ของจิตตกาญจน์

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้