โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ

โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ตัวอักษรไทใหญ่: ) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ รูปแบบสหศึกษา ตั้งอยู่บริเวณถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
Hongsonsuksa School Under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Bejaratana
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์
ที่ตั้ง
แผนที่
ไทย
1/17 ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ
อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000
ข้อมูล
ชื่ออื่นห.ศ. / H.S.
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
คำขวัญคำขวัญ
เรียนดี มีความคิด นำชีวิตสู่ความมั่นคง
คติธรรม
อตฺตานํ นาติ วตฺเตยฺย
(เป็นคนไม่ควรลืมตน)
สถาปนาพ.ศ. 2445 (โรงเรียนหลวง)

พ.ศ. 2453 (โรงเรียนประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนฮ่องสอนศึกษา)

พ.ศ. 2457 (โรงเรียนห้องสอนศึกษา)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชทานนามโรงเรียน พ.ศ. 2457)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 34
(เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน)
สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส58012001
ผู้อำนวยการนายชัยวัฒน์ ใจภักดี
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน1,343 คน
สี███ ขาว
███ เขียว
เพลงมาร์ชห้องสอน
เว็บไซต์www.hongson.ac.th fb.com/โรงเรียนห้องสอนศึกษา

ประวัติโรงเรียน แก้

 
ศาลพระพรหมบริเวณอาคาร 2


โรงเรียนห้องสอนศึกษาเดิมเรียกกันว่า “โรงเรียนหลวง” เปิดทำการสอนครั้งแรกราว  พ.ศ. 2445 โดยอาศัยศาลากลางเวียงซึ่งใช้เป็นที่ขายข้าวสาร เป็นสถานที่เรียน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนมีการศึกษา จึงเปิดโอกาสให้บรรดาบุตรหลานของข้าราชการมาเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยมีนักเรียนในระยะก่อตั้งโรงเรียน ประมาณ 30 คน

ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2450  เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เนื่องจากมีคนบ้าใช้ดาบทำร้ายผู้คนแถวสี่แยกกลางเมือง ใกล้กับโรงเรียนหลวง บรรดาข้าราชการเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อลูกหลานจึงพากันเรียกร้องให้ย้ายโรงเรียนออกจากศาลากลางเวียงหรือสถานที่ขายข้าวสาร และได้ย้ายไปจัดการศึกษาที่ศาลาวัดพระนอนหลังเก่า

โดยสอนรวมกันตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3

ครั้นถึง ปี พ.ศ. 2453 โรงเรียนหลวงมีจำนวนนักเรียนมากขึ้น ประกอบกับสถานที่ในวัดคับแคบ                รวมทั้งนักเรียนเล่นกันเสียงดังรบกวนสมาธิของพระสงฆ์ จึงได้ย้ายไปเปิดสอนที่บริเวณหลังวัดจองคำ

ซึ่งต่อมาใช้เป็นสถานที่ตั้งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีนักเรียนประมาณ 100 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีขุนสุวรรณสิงหราช (พัฒน์ สุวรรณสิงห์ราช)  เป็นครูใหญ่ ในครั้งนั้นเรียกชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนแม่ฮ่องสอนศึกษา”

ปี พ.ศ. 2457 บรรดาข้าราชการพ่อค้าและประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อก่อสร้างอาคารไม้ กว้าง 5 วา ยาว 11 วา 2 ศอก หลังคามุงด้วยใบตองตึง (ต้นตองตึงเป็นไม้ยืนต้น ใบมีขนาดใหญ่ ใบสดใช้ห่ออาหาร ใบแห้งนำมาผ่านกระบวนการตามภูมิปัญญาชาวบ้านเอามาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคากันแดดกันฝนได้ใช้ได้ราว 4 – 5 ปี) พร้อมกับได้ดำเนินการ ประสานงานผ่านสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ

ขอพระราชทานนามโรงเรียนเพื่อถวายพระเกียรติรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และอุทิศส่วนกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 5) ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 6) ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนห้องสอนศึกษา”  เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2457 และได้มีพิธีเฉลิมฉลอง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ในวโรกาสคล้ายวันสิ้นพระชนม์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

ปี พ.ศ. 2474 ได้ย้ายโรงเรียนจากหลังวัดจองคำ มาตั้ง ณ บริเวณสำนักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีการสร้างอาคารอย่างถาวร มีนักเรียนประมาณ 200 คน โดยการบริหารงานของครูใหญ่ คือ

นายจันทร์แก้ว ทองเขียว

ปี พ.ศ. 2482 ได้ยกอาคารเรียนถาวรให้กับทางราชการเพื่อจัดตั้งสำนักงานสุขาภิบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งใช้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลแก่คนทั่วไป และได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งบริเวณหน้าสำนักงานป่าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน (บริเวณกลางท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) ซึ่งในสมัยนั้นเป็นทุ่งนากว้าง

ปี พ.ศ. 2486 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ย้ายโรงเรียนจากบริเวณกลางท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน

ไปตั้งอยู่ทางทิศใต้ของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน เพราะการอยู่กลางทุ่งนาเกรงจะได้รับอันตรายจากการทิ้งระเบิดของข้าศึก อาคารหลักเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 200 คน ครูใหญ่ คือ นายนิยม คำนวณมาสก

ปี พ.ศ. 2487 สงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น  มีเครื่องบิน มาทิ้งระเบิดอยู่ตลอดเวลา เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับนักเรียน จึงได้ย้ายโรงเรียนไปที่ใต้ถุนวัดก้ำก่อ  เป็นการชั่วคราว

ปี พ.ศ. 2488 สงครามสงบลง จึงย้ายโรงเรียนกลับมาที่เดิม คือบริเวณทิศใต้ของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ขณะนั้นจำนวนนักเรียนมีมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2506 ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน เริ่มต้นการก่อสร้างอาคารและรันเวย์ จึงได้ย้ายโรงเรียน ไปอยู่ที่บริเวณโรงเรียนการช่างแม่ฮ่องสอนซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน (ปัจจุบันนี้ใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน)  ทั้งนี้เนื่องจากที่เดิมพื้นที่แคบและมีเครื่องบินขึ้นลง รบกวนสมาธิในการเรียนของนักเรียน และเกรงว่าจะมีอันตรายต่อนักเรียนซึ่งมีจำนวน 400 คน ครู จำนวน 20 คน อาคารแห่งนี้ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน เปิดสอนชั้น ม.ศ.1 –

ม.ศ.5

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้รายงานปัญหาการปรับปรุงท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน โดยได้ขยายพื้นที่ จึงเสมือนเป็นกำแพงขวางกั้นระหว่างตัวเมืองกับโรงเรียน เป็นสาเหตุให้ครูและนักเรียน

ต้องเดินเท้า ข้ามท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน เพื่อมาโรงเรียนและกลับบ้านอย่างยากลำบาก จึงได้ดำเนินการของบประมาณจากรัฐบาล เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน ณ สถานที่แห่งใหม่ รัฐบาลโดยกรมสามัญศึกษารับทราบปัญหา ได้จัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ คือสถานที่ปัจจุบันก่อสร้างอาคาร (อาคาร 1 ในปัจจุบัน) ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2515 

ในปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้ดำเนินการสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อย (อาคาร 1) จึงได้ย้ายโรงเรียน

จากข้างสนามบินมายัง ณ สถานที่ปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนห้องสอนศึกษาไว้ในพระอุปถัมภ์ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนแห่งสุดท้ายก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จสู่สวรรคาลัย ในกาลเดียวกันพระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานพระอนุญาตให้ออกชื่อองค์กรแห่งนี้อย่างเป็นทางการว่า “โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ  เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” นับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปี พ.ศ. 2558 วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โรงเรียนได้ทำพิธีเปิดหอพักนักเรียนโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรือนนอน และอาคารอเนกประสงค์ จำนวน 4 อาคาร จากมูลนิธิสามสาระ ประจำประเทศไทย ในการนี้ ดร.สิทธิชัย มูลเขียน ผอ.สพม.34 เป็นผู้รับมอบอาคารเอนกประสงค์ ครุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ ตามโครงการของมูลนิธิสามสาระ จากนางรัตนนา เขื่อนแก้ว ผู้แทนมูลนิธิสามสาระ ประจำประเทศไทย โดยคุณครูนิพนธ์ หมูทอง เป็นผู้เสนอชื่อหอพัก ดังนี้ หอพักนักเรียนหญิงอาคาร 1 ชื่อว่า พูลพิสมัย หอพักนักเรียนหญิงอาคาร 2 ชื่อว่า ดนัยเยาววิทย์ หอพักนักเรียนชาย ชื่อว่า พิศิษฏ์เมธี และอาคารอเนกประสงค์ ชื่อว่า คีรีวัฒนา

ไฟล์:พระประจำโรงเรียน บริเวณหน้าเสาธง.jpg
พระประจำโรงเรียน บริเวณหน้าเสาธง

ปี พ.ศ. 2559 วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โรงเรียนได้จัดพิธีเฉลิมฉลองวาระคล้ายวันพระราชทานนาม "ห้องสอนศึกษา" เป็นปีที่ 102

“ห้องสอนศึกษา” นามนี้มีที่มาด้วยพระมหากรุณาธิคุณ แก้

 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระผู้พระราชทานนาม "ห้องสอนศึกษา"

ณ แดนดินถิ่นเขากลางลำเนาไพร อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยความงดงามทางธรรมชาติและความงดงามภายใจจิตใจของชาวแม่ฮ่องสอน ดินแดนอันสุขสงบนี้มีบุญกุศลยิ่งนักเนื่องด้วยได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ราษฎรชาวแม่ฮ่องสอน ด้วยการลงพระราชหัตถ์พระราชทานนามให้แก่โรงเรียนแห่งนี้ว่า “ โรงเรียนห้องสอนศึกษา” อันเป็นที่มาของชื่อโรงเรียน ณ ปัจจุบัน  

ในปี พ.ศ. 2457  โรงเรียนแม่ฮ่องสอนศึกษาได้รับความร่วมมือจากบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างโรงเรียนประจำเมืองขึ้นบริเวณสถานที่เดิม    เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “พระปิยะมหาราชเจ้า” โดยโรงเรียนก่อสร้างเป็นอาคารไม้กว้าง 5 วา ยาว 11 วา 2 ศอกหลังคามุงด้วยใบตองตึง ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้เป็นสถานที่เล่าเรียนในวัน 22 ตุลาคม 2457 ซึ่งเป็นอภิลักขิตสมัยตรงกับวันสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ดังนั้นบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนจึงได้ดำเนินการประสานงานผ่านสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2457 เพื่อส่งเอกสารกราบบังคลทูลขอพระราชทานนามโรงเรียนจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายพระเกียรติรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและอุทิศส่วนกุศลถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “สมเด็จพระปิยมหาราช” และในเดือนเดียวกันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ราษฎรชาวแม่ฮ่องสอน โดยการที่พระองค์ได้ทรงลงพระราชหัตถ์พระราชทานนามให้แก่โรงเรียนแห่งนี้ว่า “ โรงเรียนห้องสอนศึกษา” อันเป็นที่มาของชื่อโรงเรียน ณ ปัจจุบัน      

“ห้องสอนศึกษา” สู่องค์กรในพระอุปถัมภ์ฯ แก้

“ฉันขอกล่าวต่อท่านทั้งปวงว่า จะพยายามบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยความจงรักภักดี

ต่อบ้านเกิดและต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นประมุขของชาติ ทั้งจะได้รักษาเกียรติศักดิ์

แห่งความเป็นราชนารีในมหาจักรีบรมราชวงศ์ไว้ชั่วชีวิต”

พระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี       

ที่พระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ ๖๑ พรรษา

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ วชิราวุธวิทยาลัย 

พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นได้สะท้อนพระปณิธานอันแน่วแน่ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในการปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยวิริยภาพ และยังหมายรวมถึงการปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ เพื่อสืบสานพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงบำเพ็ญไว้เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ด้านการศึกษา ในฐานะพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และราชนารีแห่งราชวงศ์จักรีแห่งสยามประเทศ

ด้วยพระปณิธานดังกล่าว จึงทำให้โรงเรียนอันได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นจากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับโรงเรียนห้องสอนศึกษาไว้ในพระอุปถัมภ์ ซึ่งถือเป็นโรงเรียนแห่งสุดท้ายก่อนที่พระองค์ท่านเสด็จสู่สวรรคาลัย ในกาลเดียวกันพระองค์ทรง พระกรุณาพระราชทานพระอนุญาตให้ออกชื่อองค์กรแห่งนี้อย่างเป็นทางการว่า “โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้จึงทำให้โรงเรียนห้องสอนศึกษาได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก “โรงเรียนห้องสอนศึกษา” กลายมาเป็น “โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ”         

แม้ในเวลานี้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีจะสิ้นพระชนม์แล้ว แต่พระองค์ยังคงสถิตย์อยู่ในดวงใจและเป็นดั่งดวงแก้วดวงขวัญแห่งกำลังใจให้แก่คณะผู้บริหาร ข้าราชการครู บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ อยู่เสมอ 

เพลงประจำโรงเรียน แก้

โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ มีเพลงประจำโรงเรียนทั้งหมด 10 เพลง ได้แก่

  • 1.มาร์ชห้องสอน

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูอุไรวรรณ มณีกาญจน์

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูวัลลภ ชัยชนะ

  • 2.ขาว-เขียวสัมพันธ์

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูอุไรวรรณ มณีกาญจน์

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูทินกร สถิตเจริญกุล

  • 3.รำวงห้องสอนศึกษา

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูอุไรวรรณ มณีกาญจน์

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูทินกร สถิตเจริญกุล

  • 4.รำลึกห้องสอนศึกษา

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูอุไรวรรณ มณีกาญจน์

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูทินกร สถิตเจริญกุล

วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวาระคล้ายวันพระราชทานนาม "ห้องสอนศึกษา" เป็นปีที่ 102 งานประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป จึงเห็นความสำคัญของคุณค่าในเกียรติศักดิ์ของความเป็น “ห้องสอนศึกษา” และได้ดำเนินการจัดทำและปรับปรุงบทเพลงประจำโรงเรียนโดยได้จัดการประกวดประพันธ์เนื้อเพลงประจำโรงเรียน และได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองเลขาธิการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพันธ์เนื้อเพลงมอบให้แก่โรงเรียนเป็นสมบัติของโรงเรียนต่อไป ประกอบด้วยเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ดังนี้

  • 5.ศักดิ์ศรีห้องสอนศึกษา

ประพันธ์คำร้องโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูทินกร สถิตเจริญกุล

  • 6.ห้องสอนรำลึก

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูนิพนธ์ หมูทอง

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูทินกร สถิตเจริญกุล

  • 7.ลาห้องสอน

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูนิพนธ์ หมูทอง

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูยงยุทธ ประวีณชัยกุล

  • 8.เหนือยอดเสา

ประพันธ์คำร้องโดย คุณครูคีต์รามิลธ์ ปุรณธวิทย์

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูยงยุทธ ประวีณชัยกุล

  • 9.เกียรติคุณห้องสอน

ประพันธ์คำร้องโดย นายพิทักษ์ภูมิ โพธิ์คำ

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูทินกร สถิตเจริญกุล

  • 10.ขาวเขียวร่วมใจ

ประพันธ์คำร้องโดย นายพิทักษ์ภูมิ โพธิ์คำ

ประพันธ์ทำนองโดย คุณครูยงยุทธ ประวีณชัยกุล

รายนามผู้บริหารโรงเรียนห้องสอนศึกษา แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ขุนสุวรรณสิงหราช (พัฒน์ สุวรรณสิงหราช) พ.ศ. 2443-2463
2 ขุนพิสิฐดรุณการ (ระเบียบ รัตนชาลี) พ.ศ. 2463-2466
3 นายวารินทร์ สุนทรวัฒน์ พ.ศ. 2466-2468
4 ขุนโกศลเศรษฐ์ (นวล ทะมิชาติ) พ.ศ. 2468-2474
5 นายจันทร์แก้ว ทองเขียว พ.ศ. 2474-2483
6 นายจีระ นิลกุล พ.ศ. 2483-2485
7 นายนิยม คำนวณมาสก พ.ศ. 2485-2489
8 นายเฉลิม ถาวรเวช พ.ศ. 2489-2490
9 นายบุญเชียร ศุภจิตร พ.ศ. 2491-2494
10 นายสวัสดิ์ สุคนธา พ.ศ. 2494-2495
11 นายกู้เกียรติ สุริยกุล ณ อยุธยา พ.ศ. 2495-2502
12 นายแก้ว ทองเขียว พ.ศ. 2502-2506
13 นายสวัสดิ์ สุคนธา พ.ศ. 2506-2510
14 นายสมเพ็ชร นาวิกวาณิชย์ พ.ศ. 2510-2529
15 นายนิคม เจริญศรี (ผู้อำนวยการ 8) พ.ศ. 2529-2533
16 นายพายัพ ภาพพริ้ง (ผู้อำนวยการ 8) พ.ศ. 2533-2535
17 นายเกษม พันธุรัตน์ (ผู้อำนวยการ 8) พ.ศ. 2535-2536
18 นายสมพร ชวฤทธิ์ (ผู้อำนวยการ) พ.ศ. 2536-2542
19 นายสุรเดช พหลโยธิน พ.ศ. 2542-2542
20 นายสุรัตน์ สังข์สุข พ.ศ. 2542-2547
21 นายวิชัย จิตสว่าง (รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2547-2547
22 นายเจริญไชย ไชย์วงศ์ (ผู้อำนวยการ 8) พ.ศ. 2547-2551
23 นายอรรถเสฏฐ์ สุสุข พ.ศ. 2551-2554
24 นายวิเชียร ชูเกียรติ พ.ศ. 2554-2555
25 นายชัยวัฒน์ ใจภักดี พ.ศ. 2555-2557
26 นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน
27 นาย อัครวัฒน์ อรัญภูมิ พ.ศ.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้