โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา (อังกฤษ: Sawananan Wittaya School; ย่อ: ส.อ./SW) เป็นโรงเรียนรัฐบาลมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย ในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย เปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2438[1] เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดสวรรคโลกและเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสุโขทัย[2]
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา Sawanananwittaya School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 17°17′45″N 99°50′24″E / 17.295951°N 99.839958°E |
ข้อมูล | |
ชื่อเดิม |
|
ประเภท | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2438 |
ผู้ก่อตั้ง | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงเรียนในมณฑลพิษณุโลก |
สถานะ | เปิดทำการปกติ |
โรงเรียนพี่น้อง | โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา 2 |
หน่วยงานกำกับ |
|
รหัส | 64022003 |
ผู้อำนวยการ | อนุชิต กมล (ตั้งแต่ปี 2566) |
ครู/อาจารย์ | 111 คน |
ระดับชั้น | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 |
จำนวนนักเรียน | 2,399 คน (2566) |
ระบบการศึกษา | ในระบบ |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | |
สี | น้ำเงิน - ชมพู |
คำขวัญ | เรียนดี ประพฤติดี การงานดี (คำขวัญ) วิชาการเกริกไกร มีวินัยในตนเอง (อัตลักษณ์) |
เพลง |
|
เว็บไซต์ | http://www.sawananan.ac.th |
ศาลาบัณฑิต (ศาลหลวงปู่) | |
บริเวณถนนหน้าโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา |
ประวัติโรงเรียน
แก้ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)
แก้อำเภอสวรรคโลกเดิมที มีสถานะจังหวัด เป็นเมืองโท สวรรคโลก ภายใต้การปกครองของมณฑลพิษณุโลก ร่วมกับอีก 4 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิไชย เมืองสุโขไทย และเมืองพิจิตร มีพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (สมัยพระนามว่า พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร) เป็นสมุหเทศาภิบาล ได้บอกตั้งโรงเรียนมูลศึกษาเชลยศักดิ์ แบบเรียนหลวงในแต่ละเมืองของมณฑลพิษณุโลก โดยใน พ.ศ. 2438 ได้บอกให้ก่อตั้งโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงตามเมือง ได้แก่
- โรงเรียนเมืองพิศณุโลกย์ (ปัจจุบัน โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม)
- โรงเรียนเมืองสวรรค์โลกย์
- โรงเรียนเมืองศุโขไทย (ปัจจุบัน โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม)
- โรงเรียนเมืองพิไชย
- โรงเรียนเมืองพิจิตร (ปัจจุบัน โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม)
โดยโรงเรียนเมืองสวรรค์โลกย์ ได้ดำเนินการจัดตั้ง ก่อสร้างและเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกใน พ.ศ. 2438 (ร.ศ.114) แล้วใช้ชื่อว่า โรงเรียนบัณฑิตสภา ตั้งอยู่ภายในเมืองสวรรคโลก มีหลวงศาสนนิเทศก์ เป็นอาจารย์คนแรกของโรงเรียน และมีพระมหาดไทย ผู้อุปการะ สถานที่ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง กึ่งกลางระหว่างศาลจังหวัดสวรรคโลกและศาลากลางจังหวัดสวรรคโลก[3][4]
ตัวโรงเรียนเป็นเรือนมุงหญ้าคา ฝากก พื้นปูกระดาน จุนักเรียนประมาณ 50 คน สอนหนังสือแบบมูลศึกษาชั้นต่ำ คือ เรียนหนังสือมูลบรรพกิจ คัด เขียนลายมือ คำนวณเลข หลวงศาสนนิเทศก์ เป็นครูใหญ่ และพระครูอีก 6 รูป ได้แก่ พระวินัยธรจ่าง พระสมุห์น่วม พระมหาเจริญ พระใบฎีกาเชย พระแก้ว บัณฑดิษ และ พระชม
โรงเรียนได้ทำการเรียนการสอน 4-5 ปี จนต่อมามีการตัดสินใจที่จะย้ายที่ตั้งโรงเรียนบัณฑิตสภา ไปอยู่ ณ ที่ดินเหนือวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร บริเวณริมแม่น้ำยม พระสีหะสงคราม ปลัดเมืองสวรรคโลก ในขณะนั้น ได้จัดการเรี่ยรายเงินจากข้าราชการและประชาชนเพื่อสร้างโรงเรียนบันฑิตสภาแห่งใหม่ พร้อมได้ขอรับพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้เป็นที่ระลึก โดยรวบรวมเงินได้ทั้งสิ้น 2,576 บาท โดยได้ใช้จ่ายในการปลูกสร้างอาคารทั้งหมด โรงเรียนได้สร้างเสร็จและเปิดในวันที่ 2 มีนาคม 2442 สร้างด้วยเครื่องไม้ ฝากระดาน มุงกระเบื้องอย่างมั่นคง กว้าง 11 เมตร ยาว 20 เมตร[5]
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานนามโรงเรียนว่า สวรรควิทยา โดยใช้นามของเมืองสวรรคโลกเป็นนามมงคล และโรงเรียนก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสวรรควิทยา นับเป็นโรงเรียนแรกในภาคเหนือของสยาม ที่ได้รับชื่อพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทย พร้อมกับถวายเป็นโรงเรียนหลวง
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
แก้หลัง พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง) อีกทั้ง ทางราชการ ได้ใช้ชื่อชื่อจังหวัดในชื่อโรงเรียนหลวง เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ทำให้โรงเรียนสวรรควิทยามีชื่อทางการว่า โรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา”
ช่วงเวลาปี พ.ศ. 2454 - 2461 ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการเสือป่าสำหรับเด็กชาย ที่ทรงพระราชทานนามว่า ลูกเสือ ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 กิจการลูกเสือได้กระจายไปในทั่วราชอาณาจักร รวมไปถึงมณฑลพิษณุโลก ได้มีการตั้งกองลูกเสือประจำโรงเรียนแต่ละแห่งในมณฑลพิษณุโลก โดยโรงเรียนสวรรควิทยาเป็นที่ตั้งของกองลูกเสือลำดับที่ 4 ของมณฑล ใช้ชื่อว่า กองลูกเสือมณฑลพิษณุโลกที่ 4 (สวรรควิทยา) โดยต่อมาในปี 2462 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองลูกเสือมณฑลพิษณุโลกที่ 4 (ประจำจังหวัดสวรรคโลก)[6][7]
ก่อตั้งโรงเรียนสตรีหลวง ประจำจังหวัดสวรรคโลก
แก้พ.ศ. 2465 พระยาสุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลก ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลกขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก "อนันตนารี" เปินทำการสอนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ในความควบคุมของพระยาสุรินทร์ และมีนางสาวเนื่อง บิณฑดิษฐ์ เป็นครูใหญ่คนแรกได้ทำการสอนอยู่ เดิมทีใช้อาคารเรียนเดิมอาศัยพลับพลา(ปัจจุบันคือที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรอำเภอสวรรคโลก) จนกระทั่งปลาย พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา”
พ.ศ. 2467 ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในบริเวณวัดสว่างอารมณ์วรวิหารและแยกโรงเรียนสตรี ออกจากโรงเรียนชายมาอยู่ ณ อาคารที่ได้ก่อสร้างใหม่ถาวร ปัจจุบันคือที่ตั้งของ เมรุของวัดสว่างอารมณ์
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2478)
แก้พ.ศ. 2475 โรงเรียนได้มีจำนวนนักเรียนและวิชาที่สอนมากขึ้น ประกอบกับโรงเรียนตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม ทำให้น้ำเซาะฝั่งตลิ่งพัง ทำให้ได้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนมาตั้งอยู่ข้างหลังวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร[8]
เวลาผ่านไปทั้งสองโรงเรียนสถานะเริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง พ.ศ. 2475 โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก “อนันตนารี” มีจำนวนนักเรียนที่สอบไล่ระดับมัธยมปีที่ 2 จำนวนมากพอที่จะขยายตั้งชั้นมัธยมปีที่ 3 จึงได้ส่งเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ เรื่องจัดตั้งชั้นมัธยมปีที่ 3 และได้รับอนุญาติขยายชั้นเรียนปีที่ 3 ในปีเดียวกัน[9]
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2489)
แก้พ.ศ. 2480 โรงเรียนอนันตนารีได้ย้ายที่ตั้งไปบริเวณที่ดินท้ายจวนพระยาสวรรคโลก(มั่ง วิชิตนาค) ได้ตั้งอาคารขึ้นแห่งใหม่และใช้อาคารแห่งนั้นจัดการเรียนการสอนเรื่อยมา
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัด
แก้วันที่ 17 เมษายน 2482 ราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย หลังจากการรวมทั้งสองจังหวัดในพ.ศ. 2474 เป็นวันที่จังหวัดสวรรคโลกหมดสถานะภาพจังหวัด โรงเรียนสวรรควิทยา และ โรงเรียนอนันตนารี ก็ได้เปลี่ยนสถานะเป็น โรงเรียนชายประจำอำเภอสวรรคโลก “สวรรควิทยา” และ โรงเรียนสตรีประจำอำเภอสวรรคโลก “อนันตนารี” [10]
ใน พ.ศ. 2484 โรงเรียนสวรรควิทยามีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ในสมัยนายเจริญ จาดศรี เป็นครูใหญ่ โรงเรียนมีนักเรียนเกือบ 300 คน ทำให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนที่ล้นสถานที่มาก อีกทั้ง โต๊ะครู โต๊ะนักเรียนก็มีไม่พอใช้ จากรายงานกล่าวว่า เด็กนักเรียนสวรรควิทยานับว่าเป็นเด็กเรียบร้อยเป็นส่วนมาก ถึงแม้จะมีบางอย่างผิดระเบียบ เช่น ผมยาวเกินกำหนด และไม่สวมรองเท้ากันส่วนมาก
ส่วนด้าน โรงเรียนอนันตนารี มีจำนวนและสภาพแวดล้อมที่ดี แต่มี โรงเรียนราษฎร์ “อนันตศึกษา” (โรงเรียนเอกชน) ซึ่งมีนางผัน แสนโกศิก เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีประจำอำเภอสวรรคโลกและเจ้าของผู้จัดการ โรงเรียนราษฎร์อนันตศึกษาเข้ามารวมอยู่ในโรงเรียน ทำให้ห้องครูมีจำนวนไม่เพียงพอ โดย ข้าหลวงตรวจการแนะนำให้แยกโรงเรียนราษฎร์อนันตศึกษาออกไปเป็นเอกเทศ[11]
ในปี พ.ศ. 2486 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาติให้ โรงเรียนราษฎร์ “อนันตศึกษา” ให้ใช้อักษรย่อ: ร-ส.ท. 3[12]
รายชื่อโรงเรียนราษฎร์ในจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2486
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
แก้ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ในช่วงที่ประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายังอำเภอสวรรคโลก โดยทางสถานีรถไฟสวรรคโลก เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ ผ่านเมืองเก่าสุโขทัย บ้านด่านลานหอย ตาก แม่สอด เพื่อจะเข้าไปตีเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์[13] ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาพักภายในอำเภอสวรรคโลกเป็นจำนวนมาก รวมถึงภายในโรงเรียนประจำอำเภอสวรรคโลก “สวรรควิทยา” จนทำให้ทางโรงเรียนต้องหยุดการเรียนการสอน[14]
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
แก้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 ครบรอบ 50ปี การก่อตั้งโรงเรียนสวรรควิทยา ในสมัยนายเจริญ ฐิตาภา วิทยศักดิ์ เป็นครูใหญ่โรงเรียน ได้มีการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการจัดตั้งหอวิทยาศาสตร์ขึ้นมาสำเร็จ อีกด้านนึง ช่วงประมาณหรือก่อนปี พ.ศ. 2492 โรงเรียนราษฎร์ “อนันตศึกษา” ถูกยุบและยุติการเรียนการสอน
ปี พ.ศ. 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนทั่วประเทศโดยตัด “ประจำจังหวัด” และ “อำเภอ” ออก ทำให้ทั้งสองโรงเรียนเปลี่ยนเป็น โรงเรียนสวรรคโลก “สวรรควิทยา” และ โรงเรียนสตรีสวรรคโลก “อนันตนารี [15]
รายชื่อโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดสุโขทัย ปีพ.ศ. 2495
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2559)
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2493 ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ประธานสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง ได้มาราชการที่อำเภอสวรรคโลก เพื่อมาเปิดสโมสรสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สวรรคโลก โดยในขณะนั้นได้รับหนังสือจากนายเจริญ ฐิตาภา วิทยศักดิ์ ครูใหญ่โรงเรียนสวรรควิทยา ชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องรีบสร้างอาคารใหม่ เพื่อการศึกษาของเยาวชน โดยในขณะนั้นมีนักเรียนทั้งสิ้น 283 คน
ผ่านมา 6 ปี ในปี พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทยได้รับและส่งเรื่องเข้า เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพราะในขณะนั้นกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีโอกาสจะสร้างโรงเรียนได้ โดยยังไร้การตอบรับหลังจากรายงานขอเงินไปยังกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งในขณะนั้นทางโรงเรียนได้ทำสัญญาซื้อที่ดินบริเวณติดถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลย่านยาว และในขณะเดียวกัน จำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็น 513 คน กระทรวงมหาดไทยจึงมีคำสั่ง ขอเงินค่าจำหน่าย ก.ศ.ส เพื่ออุดหนุนในการนี้
ภายหลังจากการซื้อที่ดินใหม่ โรงเรียนได้มีการสร้างอาคาร 1 (สีขาว) หอประชุม(ปัจจุบัน คือ อาคารเกียรติยศ) และหอวิทยาศาสตร์ โดยรื้อมาจากหอวิทยาศาสตร์เก่า (ปัจจุบันคือ ที่อาคาร 2 (สีเขียว)) ในพื้นที่บริเวณนี้และได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่แห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2509
รวมโรงเรียนเปลี่ยนเป็นสหศึกษา
แก้ในวันที่ 23 เมษายน 2513 กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศรวม โรงเรียนสวรรควิทยา และโรงเรียนอนันตนารี เป็นโรงเรียนสหศึกษาเพียงแห่งเดียว ใช้ชื่อใหม่ว่า สวรรค์อนันต์วิทยา เป็นการรวมชื่อสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน โดยย้ายนักเรียนหญิงจากโรงเรียนอนันตนารีไปเรียนรวมกับนักเรียนชายโรงเรียนสวรรควิทยา โดยใช้ที่ตั้งของโรงเรียนสวรรควิทยา ช่วงแรกเปิดการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต่อมา พ.ศ. 2515 ได้รับอนุมัติให้เปิดเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยอักษรย่อของโรงเรียนคือ ส.อ. และก็ใช้มาจนถึงทุกวันนี้[16]
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุโขทัย เพื่อพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสุโขทัย ณ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา โดยทางโรงเรียนได้สร้างพลับพลารับเสด็จไว้ตรงสนามหน้าโรงเรียน[17] [18]
พ.ศ. 2559 โรงเรียนได้สร้าง หอประชุมขึ้นมาแห่งใหม่ เพื่อใช้ในการประชุมและจัดกิจกรรมของโรงเรียน แทนที่โรงยิม ซึ่งมีอากาศที่ร้อนและอบอ้าว และใช้ชื่อ "หอประชุม 123 ปี" เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 123 ปีของการก่อตั้ง
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 10 (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
แก้วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 โรงเรียนได้เปิด "หอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา" สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 120 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2438 โดยมาแทนที่ตึกห้องสมุดหลังเก่า (ปัจจุบันคือ ห้องประชุมเกียรติยศ) ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2561 โดยมีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดหอสมุด[19]
พ.ศ. 2567 โรงเรียนได้ครบรอบ 125 ปี "สวรรควิทยา" นามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ข้อมูลทั่วไป
แก้สัญลักษณ์ประจำ
แก้ดอกเข็มชมพู
แก้เป็นดอกไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีวันพระราชสมภพตรงกับวันอังคาร โดยพระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณหลายอย่างที่ได้กระทำเพื่อชาวเมืองสวรรคโลก ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานชื่อ โรงเรียนสวรรควิทยา, การอนุมัติงบประมาณให้สร้างรถไฟหลวงเข้ามาถึงจังหวัดสวรรคโลก ทำให้โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ได้กำหนดให้ดอกเข็มชมพู เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน เพื่อสืบสานความจงรักภักดีที่พสกนิกรชาวสวรรคโลกมีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต้นคูน
แก้เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน เป็นต้นไม้ดั้งเดิมอยู่ในที่ดินปัจจุบันของโรงเรียน โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียน
น้ำเงิน - ชมพู
แก้น้ำเงินและชมเป็นสีประจำโรงเรียน เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณหลายอย่างที่ได้กระทำเพื่อชาวเมืองสวรรคโลก โดย
- สีน้ำเงิน คือ สีของพระมหากษัตริย์
- สีชมพู คือ สีวันอังคาร วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
วิชาการ
แก้กลุ่มสาระการเรียนรู้
แก้ปัจจุบันโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 8 กลุ่มสาระฯ ประกอบไปด้วย[20]
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตั้งอยู่ในตึกที่ 2 ชั้นที่ 2 (หมวดวิทย์ฯ) และ ตึกที่ 4 ชั้นที่ 1 ฝั่งซ้าย (หมวดคอมพิวเตอร์)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตั้งอยู่ในตึกที่ 4 ชั้นที่ 2 ฝั่งขวา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตั้งอยู่ในตึกที่ 3 ชั้นที่ 2 ฝั่งขวา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตั้งอยู่ในตึกที่ 3 ชั้นที่ 2 ฝั่งซ้าย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งอยู่ตึกที่ 6 ชั้นที่ 2 ฝั่งซ้าย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตั้งอยู่ตึกที่ 6 ฝั่งซ้าย (หมวดนาฎศิลป์, หมวดดนตรี) และ ตึกศิลปะ (หมวดศิลปะ)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ตั้งอยู่ตึกการงานอาชีพ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ตั้งอยู่ที่ตึกที่ 6 ชั้นที่ 1 ฝั่งซ้าย
แผนการเรียน
แก้ปัจจุบันมีการเปิดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงปีที่ 6[21]
แผนการเรียน (ก่อนปีการศึกษา 2568) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มัธยมศึกษาตอนต้น | |||||||||||
ประเภท | พิเศษ | ปกติ | |||||||||
แผนการเรียน | พิเศษมาตรฐานโอลิมปิก | ทั่วไป | |||||||||
เลขห้องเรียน | O1 | O2 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | |
จำนวนรับ | 72 คน | 320 คน | |||||||||
รวม | 392 คน | ||||||||||
มัธยมศึกษาตอนปลาย | |||||||||||
ประเภท | พิเศษ | ปกติ | |||||||||
แผนการเรียน | พิเศษมาตรฐานโอลิมปิก | วิทย์-คณิต | อังกฤษ-คณิต | ศิลป์-อังกฤษ | ศิลป์-ภาษา | ศิลป์-ทั่วไป | |||||
Science-Olympic | Science-Math | English-Math | English Class | Languages Class | General | ||||||
ภาษาจีน-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษาเกาหลี | |||||||||||
ตัวย่อ | O | MS1 | MS2 | MS3 | ME1 | ME2 | E1 | E2 | L | G | |
เลขห้องเรียน | O1 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | |
จำนวนรับ | โรงเรียนเดิม(โควต้า) | 36 คน | 96 คน | 64 คน | 64 คน | 32 คน | 32 คน | ||||
สอบเข้า | 24 คน | 16 คน | 16 คน | 8 คน | 10 คน | ||||||
รวม | 120 คน | 80 คน | 80 คน | 40 คน | 42 คน | ||||||
398 คน |
ในปีการศึกษา 2568 ทางโรงเรียนได้มีการเพิ่มสายการเรียนเพิ่มอีก 4 สายในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้มีแผนการเรียนรวมทั้งสิ้น 9 สายและได้ปรับปุรงแผนการเรียนเดิม เพื่อให้ตอบโจทย์แก่นักเรียนในยุคปัจจุบัน[22]
แผนการเรียน (หลังปีการศึกษา 2568) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มัธยมศึกษาตอนต้น | |||||||||||
ประเภท | พิเศษ | ปกติ | |||||||||
แผนการเรียน | พิเศษมาตรฐานโอลิมปิก | ทั่วไป | |||||||||
เลขห้องเรียน | O1 | O2 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | |
จำนวนรับ | 72 คน | 320 คน | |||||||||
รวม | 392 คน | ||||||||||
มัธยมศึกษาตอนปลาย | |||||||||||
ประเภท | พิเศษ | ปกติ | |||||||||
แผนการเรียน | พิเศษมาตรฐานโอลิมปิก | วิทย์-คณิต
(วิทยาศาสตร์ สุขภาพ) |
วิทย์-คณิต
(วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์) |
วิทย์-คณิต
(เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์) |
ศิลป์-คำนวณ | ศิลป์-อังกฤษ | ศิลป์-นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ | ศิลป์-ภาษา
(ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น) |
ศิลป์-ทั่วไป | ||
Science-Olympic | Science-Math (health sciences) | Science-Math
(Engineering and Architecture) |
Science-Math
(AI and Robotics Technology) |
Math Class | English Class | Law Political Class | Languages Class | General | |||
ตัวย่อ | O | MS1 | MS2 | MS3 | ME1 | ME2 | E1 | รอยืนยัน | L | G | |
เลขห้องเรียน | O1 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | |
จำนวนรับ | โรงเรียนเดิม(โควต้า) | 36 คน | 32 คน | 32 คน | 32 คน | 64 คน | 32 คน | 32 คน | 32 คน | 32 คน | |
สอบเข้า | 8 คน | 8 คน | 8 คน | 16 คน | 8 คน | 8 คน | 8 คน | 8 คน | |||
รวม | 40 คน | 40 คน | 40 คน | 80 คน | 40 คน | 40 คน | 40 คน | 40 คน | |||
396 คน |
หมายเหตุ ศิลป์-ภาษาต่างประเทศ (ภาษาเกาหลี) ได้ถูกยกเลิก
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้โรงเรียนอนันตนารี | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | รูปภาพ |
1 | นางสาวเนื่อง ปิณฑดิษฐ์ | 2465-2480 | |
2 | นางสาวผัน แสนโกศิก | 2480-2486 | |
3 | นางสาวเจียมจิตต์ บุญญานุรักษ์ | 2486-2491 | |
4 | นางทวีศิริ ง้าวสุวรรณ | 2491-2594 | |
5 | นางเฉลิมรักษณ์ บุญเกตุ | 2594-2502 | |
6 | นางนันทิยา งามขำ | 2549-2502 | |
7 | นางลำดวน กำปั่นทอง | 2502-2513 |
พื้นที่เเละอาคารสถานที่
แก้โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 87 หมู่ 3 ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย บนเนื้อที่ที่ครอบครองทั้งสิ้น 134 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา ประกอบด้วย
- โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จำนวน 75 ไร่ 1 งาน 41 ตารางวา
- พื้นที่ของสมาคมผู้ปกครองและครูฯและสมาคมนักเรียนเก่า จำนวน 53 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา
- พื้นที่บ้านพักครู (โรงเรียนอนันตนารี) จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา
- พื้นที่บ้านพักผู้บริหารจำนวน 1 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา
มีอาคารเรียนเเละสถานที่สำคัญได้เเก่
อาคารเรียน
แก้ภาพถ่าย | ลำดับ | สี | รายละเอียด[23] | ที่ตั้งของ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
หน่วยงาน | หมวดสาระ | ห้องประจำชั้น | ||||
1 | ขาว | เป็นตึกเรียนหลักสร้างเมื่อปี 2509 พร้อมกับที่โรงเรียนสวรรควิทยาย้ายมาตั้งในบริเวณนี้ |
|
- |
| |
2 | เขียว | สร้างในปี 2514 เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 2 ของชุดอาคารเรียนหลัก |
|
|
- | |
3 | ชมพู | สร้างในปี 2522
เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 3 ของชุดอาคารเรียนหลัก |
|
|
| |
4 | ฟ้า | สร้างในปี 2526
เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 4 ของชุดอาคารเรียนหลัก |
|
|
| |
5 | ส้ม | สร้างในปี 2543 เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 5 และเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดของชุดอาคารเรียนหลัก |
|
- |
| |
6 | ม่วง | สร้างในปี 2548
เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 6 และเป็นอาคารที่มีล่าสุดของชุดอาคารเรียนหลักและเป็นอาคารเรียนที่ไกลที่สุดในโรงเรียน |
|
|
| |
อาคารเรียนอื่น ๆ | ||||||
ภาพถ่าย | ตึก | ที่ตั้งของ | หมวดสาระ | |||
อาคารสอนวิชาหมวดศิลปะ | กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(หมวดศิลปะ) | กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(หมวดศิลปะ) | ||||
กลุ่มอาคารอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม สัตวศาสตร์ | กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ | กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ |
อาคารอื่น ๆ
แก้ภาพถ่าย | ตึก | รายละเอียด |
---|---|---|
หอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา | สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 120 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2438 โดยมาแทนที่ตึกห้องสมุดหลังเก่า (ปัจจุบันคือ ห้องประชุมเกียรติยศ) ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2561 โดยมีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดหอสมุด ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561[19] | |
หอประชุม 123 ปี | สร้างในปี 2559 เพื่อใช้ในการประชุมและจัดกิจกรรมของโรงเรียน แทนที่โรงยิม ซึ่งมีอากาศที่ร้อนและอบอ้าว และใช้ชื่อ "หอประชุม 123 ปี" เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 123 ปีของการก่อตั้ง | |
ห้องประชุมเกียรติยศ | สร้างเมื่อปี 2509 เป็นที่จัดประชุมของโรงเรียนขนาดเล็ก เดิมทีคือ ห้องสมุดเก่าของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จนกระทั่งการก่อสร้างหอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา และได้เปลี่ยนตึกเป็นห้องประชุมเกียรติยศ | |
โรงอาหาร | สร้างในปี 2514 เป็นอาคารจำหน่ายอาหารและที่ตั้งร้านค้าสวัสดิการของโรงเรียน | |
อาคารอเนกประสงค์ | สร้างในปี 2530 เดิมทีใช้เป็นอาคารสอนและแข่งกีฬา และเป็นที่มอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษา จนกระทั่งการก่อสร้างโดมอเนกประสงค์และหอประชุม 123 ปี ปัจจุบันใช้เป็นที่แข่งกีฬาภายในร่ม | |
ห้อง To Be Number One |
สถานที่อื่น ๆ
แก้รูป | สถานที่ | รายละเอียด |
---|---|---|
ศาลาบัณฑิต | สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึง พระสวรรค์วรนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก ปัจจุบันเป็นที่เคารพนับถือเเละสักการะของครูเเละนักเรียนโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา | |
พลับพลารับเสด็จ[17] [18] | สร้างขึ้นเพื่อใช้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสุโขทัย ณ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 | |
สวนป่าองค์พระ | ||
หอนาฬิกา | สร้างบริเวณแยกอาคาร เพื่อระลึกถึงอดีตวงเวียนหอนาฬิกาหน้าสถานีรถไฟสวรรคโลก ในสมัยที่อำเภอสวรรคโลก มีสถานะเป็นจังหวัดสวรรคโลก | |
พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) |
สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานกิจการลูกเสือของโรงเรียน โดยศิษย์เก่าโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา รุ่น 81 | |
โดมอเนกประสงค์ | ||
ศูนย์วัฒนธรรม | ||
ลานหน้าห้องประชุมเกียรติยศ |
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา 2
แก้เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสวรรคโลก เกิดจากการประชุมหารือกับสภาตำบลคลองยาง ใน พ.ศ. 2533 เรื่องจัดตั้งโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสนองนโยบายกรมสามัญศึกษา ต่อมา พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนโดยเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2534 มีครู-อาจารย์จากโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยาเป็นผู้สอน ใช้อาคารเรียนชั่วคราวและอาคารเรียนเกษตรโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เป็นสถานศึกษา
พ.ศ. 2536 กรมสามัญศึกษา ได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา 2 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2536 แยกออกจากการเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เริ่มแรกยังคงใช้โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จัดการเรียนการสอน ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย[24]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้โรงเรียนสวรรควิทยา
แก้- กฤช อาทิตย์แก้ว: อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร และ อดีต ส.ว.กำแพงเพชร
- ประพาส ลิมปะพันธุ์: อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
- พลเรือเอกนัย นพคุณ: อดีตผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ถึงแก่กรรม)
- อาษา เมฆสวรรค์: อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นาวาตรีปรัศน์ (ธงชัย) พงศ์สุวรรณ: นายทหารผู้เสียชีวิตในการปฎิบัติหน้าที่ และเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ วีรกรรมดอนแตง (ถึงแก่กรรม)
- พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร: อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลเอก สุรกิจ มัยลาภ: อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก: กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4, ที่ปรึกษาสภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยพะเยา
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ผู้บริหารโรงเรียนใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
- ↑ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบจศา ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงธรรมการ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา รายงานข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ที่ ๔๗, ๙๗๓
- ↑ หอจดหมายเหตุเชียงใหม่ : รายงานศาลาว่าการมหาดไทย วันที่ 7 มีนาคม 2442
- ↑ พระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวเสือป่าและลูกเสือ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
- ↑ แจ้งความสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือ เรื่อง เล่นละครพูดเก็บเงินบำรุงกองลูกเสือมณฑลพิศณุโลก
- ↑ ประวัติโรงเรียนสวรรควิทยา และ โรงเรียนอนันตนารี (จาก สวรรค์อนันต์วิทยา 120ปี วิถีแห่งปัญญา)
- ↑ หอจดหมายเหตุ ศธ51.11/80 มณฑลพิษณุโลกบอกมาว่าได้อนุญาตให้เปิดชั้นมัธยมปีที่ 3 ขั้นที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2024-08-31.
- ↑ หอจดหมายเหตุ : ขุนพจนกิจประสาน ข้าหลวงตรวจการเสนอรายงานตรวจราชการจังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย
- ↑ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พุทธศักราช ๒๔๘๒
- ↑ นายสมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาลตำบลในเมือง นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มจังหวัดมรดกโลกทางวัฒนธรรม จ.สุโขทัย กล่าวในรายงานไทยโพสต์ "พบอุโมงค์สุดซับซ้อนในถ้ำสุโขทัย ชาวบ้านลือมานาน ทหารญี่ปุ่นซ่อนทองคำแท่ง 14 ตัน"
- ↑ เจริญ ฐ. วิทยศักดิ์ (ปี ๒๔๕๒-๒๕๓๗) [เซ็งลี้ รถถ่าน ไทยถีบ : เศรษฐกิจสงครามโลกจากหนังสืองานศพ] 19 กรกฎาคม 2016
- ↑ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๕
- ↑ "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
- ↑ 17.0 17.1 รัชกาลที่ ๙ กับการเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุโขทัย
- ↑ 18.0 18.1 พระราชดำรัส พระราชทานในงานพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือ จ.สุโขทัย (จาก สวรรค์อนันต์วิทยา 120ปี วิถีแห่งปัญญา)
- ↑ 19.0 19.1 "สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ องคมนตรี เปิดงาน Sukhothai Field Day ครั้งที่ 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-07. สืบค้นเมื่อ 2023-11-07.
- ↑ ข้อมูลอาคารและสถานที่ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
- ↑ ประกาศโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เรื่องการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 และ 4 ปีการศึกษา 2566
- ↑ เพจเฟสบุ๊ค โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา Sawanananwittaya School : แผ่นพับประชาสัมพันธ์ การรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2568
- ↑ "ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา EMIS WEB School CMS V.1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-25. สืบค้นเมื่อ 2023-11-25.
- ↑ "ประวัติโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน