โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนสตรีวัดระฆัง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Satri Wat Rakhang School) เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 248/9 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 เป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนสตรีวัดระฆัง | |
---|---|
![]() |
ประวัติแก้ไข
โรงเรียนสตรีวัดระฆัง สถานที่นี้แต่เดิมกระทรวงทหารเรือ ได้รับอนุญาตจากวัดให้สร้างอาคารไม้จำนวน 3 หลัง เป็นโรงพยาบาลทหารเรือชั่วคราว เมื่อกระทรวงทหารเรือสร้างโรงพยาบาลทหารเรือถาวรที่ปากคลองมอญเรียบร้อยแล้ว จึงยกอาคารเดิมให้แก่วัด และ ได้รายงานไปยังกระทรวงธรรมการ
ในครั้งนั้นขุนวรเวทย์พิสิฐเป็นพนักงานจัดการแขวงตะวันตกเฉียงเหนือ เห็นชอบด้วยในการจัดตั้งโรงเรียนสตรีของรัฐบาลขึ้นในสถานที่แห่งนี้ จึงได้นำความกราบเรียนท่านเจ้า กรมศึกษาธิการและได้กราบเรียนท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เจ้าคุณพระพิมลธรรม ( สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ) ท่านเจ้าอาวาสเห็นชอบด้วย อนุญาตให้ใช้อาคารและสถานที่ เป็นโรงเรียนสตรี กระทรวงธรรมการ จึงได้แล้วจึงประกอบพิธีทางศาสนา เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 จึงถือว่าวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันสถาปนาโรงเรียน
ประธานในพิธีคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ผู้แทนเจ้ากรมศึกษาธิการ มีนางธนากรภักดี ( สว่าง อมรสิงห์ ) เป็นครูใหญ่คนแรก มีนักเรียน ชั้น ป. 1 - ป.3 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 75 คน ครู 4 คน พ.ศ. 2463 เปิดสอนจนถึงชั้นม. 6 และเปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา ปีที่ 1 แผนกอักษรศาสตร์และแผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2489
ปัจจุบัน สตรีวัดระฆัง เป็นโรงเรียนสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้น ม. 1 - ม.6 รวมทั้งสิ้น 48 ห้องเรียน มีนายประจักษ์ ประจิมทิศ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′08″N 100°29′10″E / 13.752270°N 100.486152°E