โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง)

โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง) - Wat Jukkacher School เป็นโรงเรียนในเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตวัดจุกกะเฌอ ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา อ.1 ถึง ป.6 แต่เดิมอาศัยศาลาการเปรียญของวัดจุกกะเฌอ เป็นที่เรียนหนังสือของนักเรียน และย้ายตัวโรงเรียนไปสร้างใหม่ ด้านหลังวัดจุกกะเฌอในปัจจุบัน

โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง)
WAT JUKKACHER SCHOOL

Wat Jukkacher School
ตราประจำโรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง)
ที่ตั้ง
แผนที่
หมู่ 1 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไทย 20230 ไทย
โทรศัพท์ 038 062 557
โทรสาร 038 062 557
พิกัด13°05′05″N 100°58′34″E / 13.0846793°N 100.9761971°E / 13.0846793; 100.9761971
ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.ว.ฌ. - (S.W.N.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญปญฺญา นตฺถิ อฌายโต
(ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ)
สถาปนา12 กันยายน พ.ศ. 2474
ผู้ก่อตั้งพระครูวิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดจุกกะเฌอ
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่ม 2
ผู้อำนวยการนางปริญา พีรปรัชญา
ระดับปีที่จัดการศึกษาชั้น ป.1 - ป.6
จำนวนนักเรียน428 คน (ข้อมูล ปี 2556)
สีสีม่วง   - สีชมพู  
เพลงมาร์ชโรงเรียนวัดจุกกะเฌอ
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นกะเฌอ
เว็บไซต์www.watjukkacher.com

ประวัติโรงเรียน

แก้

โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง) ก่อตั้งเมื่อวันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2474 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม) โดยความร่วมมือของ ท่านพระครูวิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดจุกกะเฌอ และ นายสนิท อนันตสมบูรณ์ ศึกษาธิการอำเภอศรีราชา ร่วมกับขุนพนัสชโนประการ ปลัดอำเภอศรีราชา เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนและได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในโรงเรียน

ในตอนนี้ ได้รับความช่วยเหลือจากนายอำเภอศรีราชา จัดคนที่ค้างชำระค่ารัชชูประการมาช่วยเหลือ และได้รับเงินค่าใช้สอยร่วมในการก่อสร้างได้อาคาร 1 หลัง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 นายกวี วีระจิตต์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเสมียนมหาดไทย

ปี พ.ศ. 2502 เนื่องจากอาคารเรียนถูกวาตภัยจากลมพายุใต้ฝุ่น อาคารเรียนชำรุดเสียหาย ทางราชการได้จัดสรรเงิน จำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) มาสร้างอาคารเรียนใหม่ ซึ่งสร้างได้เพียงเสา และหลังคาเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ยังไม่มี

ปี พ.ศ. 2504 ทางสภาจังหวัดอนุมัติเงินจำนวน 7,766 บาท เพื่อสร้างและซ่อมแซมอาคารเรียน แต่เนื่องจากอาคารเรียนอยู่ที่ต่ำไม่เหมาะสม ท่านพระครูวิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) พร้อมด้วยคณะกรรมการศึกษา และคณะครู จึงได้ย้ายมาสร้างในที่สูง ตีฝาเทพื้น เสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2505


ปี พ.ศ. 2509 ทางสภาจังหวัดได้อนุมัติเงินอีก 5,000 บาท ได้ตีฝากั้นห้องเรียน และซ่อมศาลาการเปรียญ ทำประตูหน้าต่างกั้นฝาใช้เป็นที่เรียน

ปี พ.ศ. 2513 ทางสภาจังหวัดได้อนุมัติเงินอีก 77,000 บาท ซ่อมศาลาการเปรียญ ทำประตูหน้าต่าง และกั้นฝาใช้เป็นที่เรียน

ปี พ.ศ. 2515 ทางสภาจังหวัดอนุมัติเงินอีก 40,000 บาท กั้นห้อง และทำประตูเหล็ก

ปี พ.ศ. 2516 พลตรีศิริ สิริโยธิน ได้ทอดผ้าป่าที่วัดจุกกะเฌอ ได้เงินจำนวน 57,000 บาท นำเงินมาจ้างช่างทาสีอาคารเรียน

ปี พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ในที่ดินของวัดจุกกะเฌอ โดยได้รับอนุญาตจากท่านพระครูศรีฉฬังคสังวร (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) เจ้าอาวาสวัดจุกกะเฌอ (ตามแบบ สปช.105/26 จำนวน 1 หลัง 8 ห้องเรียน) เป็นเงินจำนวน 1,039,000 บาท

ปี พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ (แบบ สปช.202/26 จำนวน 1 หลัง ส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน และเรือนเพาะชำแบบ พ.1 จำนวน 1 หลัง)

ปี พ.ศ. 2542 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน (แบบ สปช.102/26 จำนวน 1 หลังเป็นจำนวนเงิน 816,500 บาท จำนวน 3 ห้องเรียน) ต่อมาคณะกรรมการโรงเรียนและคณะครู จัดงานหาเงินสร้างส้วม จำนวน 1 หลัง และกำแพงโรงเรียน ยาว 93 เมตร เป็นเงิน 163,500 บาท

  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 254210 ตุลาคม พ.ศ. 2553 นางประกอบ ชมจันทร์ (รักษาการในตำแหน่งอาจารใหญ่) มีข้าราชการครู จำนวน 6 คน ครูผู้ช่วยราชการ 1 คน รวมทั้งหมด 8 คน
  • เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 นายธวัชชัย ชูเชิด (ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ย้ายมารับตำแหน่งใหม่) โดยมีการจัดเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 319 คน
    • เหตุการณ์เพิ่มเติมที่สำคัญ โรงเรียนวัดจุกกะเฌอได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 4 ที่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 109,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
    • เหตุการณ์เพิ่มเติมที่สำคัญ โรงเรียนได้รับงบประมาณจาก สพฐ. ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 (ปรับปรุงใหม่) 2 ชั้น 4 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง จำนวน 1 หลัง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,4XX,XXX บาท ทำการเปิดใช้อาคารเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยท่านผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต3 นายวิชัย พวงภาคีศิริ เป็นประธานในพิธี
    • เหตุการณ์เพิ่มเติมที่สำคัญ โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน พระอธิการจาลึก สัญฺญโต เจ้าอาวาสวัดจุกกะเฌอ มีดำริและเป็นประธานดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน " ตระกูลพุ่มเมือง " เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น โดยใช้แบบอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 (ปรับปรุงใหม่) 2 ชั้น 4 ห้องเรียนใต้ถุนโล่ง จำนวน 1 หลัง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,4XX,XXX บาท ทำการเปิดใช้อาคารเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
  • วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน นายธวัช ใจเย็น (ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน)[1]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

แก้
  • สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน เป็นตราอาร์มโรงเรียน ตรงกลางเป็นรูปพระครูศรีฬังคสังวร (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) ผู้ก่อตั้งโรงเรียน ด้านบนเป็นชื่อโรงเรียนเป็นภาษาไทย ด้านล่างมีชื่อโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนขวาและซ้ายเป็นสีประจำโรงเรียนน"สีม่วง-สีชมพู" และปรัชญา ปัญฺญา นตฺถิ อฌายโต[2]
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน -
  • สีประจำโรงเรียน สีม่วง   - สีชมพู  
  • ดอกไม้ประจำโรงเรียน -
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นกะเฌอ
  • คำขวัญ เรียนดี กีฬาเลิศ ประเสริฐคุณธรรม
  • ปรัชญา (ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต) ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
  • อัตลักษณ์ สะอาด มารยาทงาม
  • เอกลักษณ์ คุณธรรมนำความคิด ปลูกจิตด้วยประชาธิปไตย

รายนามผู้บริหารโรงเรียน

แก้
ลำดับ ชื่อ - นามสกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 นายไป๋ จูจรูญ
(รักษาการตำแหน่ง ครูใหญ่)
12 กันยายน พ.ศ. 2474 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 -
2 นายกิมชวน เกษวัฒนา
(ครูใหญ่)
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 -
3 นายไป๋ จูจรูญ
(ครูใหญ่)
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 2 มิถุนายน พ.ศ. 2475 -
4 นายวิเชียร ทองระอา
(ครูใหญ่)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 5 มิถุนายน พ.ศ. 2476 -
5 นายกวี วีระจิต
(ครูใหญ่)
6 มิถุนายน พ.ศ. 2476 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ย้ายไปดำรงตำแหน่งเสมียนมหาดไทย
6 นายปก พรมเงิน
(ครูใหญ่)
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 -
7 นายสมศักดิ์ จักรแก้ว
(รักษาการแทนครูใหญ่)
2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 4 กันยายน พ.ศ. 2498 -
8 นายสุวรรณ ปรีดานนท์
(ครูใหญ่)
5 กันยายน พ.ศ. 2498 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ย้ายมาจากโรงเรียนวัดพระประทานพร
9 นายรื่น ภักดี
(อาจารย์ใหญ่)
2 มิถุนายน พ.ศ. 2502 30 กันยายน พ.ศ. 2530 -
10 นายสุขุม ตัญกาญจน์
(อาจารย์ใหญ๋)
2 กันยายน พ.ศ. 2531 30 กันยายน พ.ศ. 2535 -
11 นายวีรภัทร สงวนทรัพย์
(อาจารย์ใหญ่)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 14 มกราคม พ.ศ. 2540 -
12 นายสงบ ประพันธ์
(อาจารย์ใหญ่)
12 มกราคม พ.ศ. 2540 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542 -
13 นางประกอบ ชมจันทร์
(อาจารย์ใหญ่)
2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 -
14 ดร.อัมพา ถ้วยงาม
(อาจารย์ใหญ่)
11 ตุลาคม พ.ศ. 2543 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 -
15 นายธนาชัย วงศาโรจน์
(รักษาการตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่)
16 ธันวาคม พ.ศ. 2547 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบางละมุง

รักษาการตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่

16 นายธวัชชัย ชูเชิด
(ผู้อำนวยการ)
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 -
17 นายอำพล อินกล่ำ
(ผู้อำนวยการ)
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รักษาการผู้อำนวยการ วันที่ 7 พ.ค. 2553 - 27 ม.ค. 2554

ผู้อำนวยการ 7 ม.ค. 2554 - 30 ก.ย.2557

18 นายวิชาญ ทองดา
(ผู้อำนวยการ)
24 ตุลาคม พ.ศ. 2557 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 -
19 นายธวัช ใจเย็น
(ผู้อำนวยการ)
11 มีนาคม พ.ศ. 2559 30 กันยายน พ.ศ. 2565 -
20 นางปริญา พีรปรัชญา
(ผู้อำนวยการ)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน -

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติโรงเรียวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-29. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.
  2. "ลักษณ์โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรง)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-03. สืบค้นเมื่อ 2017-12-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°05′05″N 100°58′34″E / 13.0846793°N 100.9761971°E / 13.0846793; 100.9761971{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้