โรงเรียนพุทไธสง

โรงเรียนพุทไธสง (อังกฤษ: Phutthaisong School; อักษรย่อ: พ.ส. — P.S.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ แบบสหศึกษา ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2493 โดยมีนายจำรูญ มณีวรรณ เป็นครูใหญ่ในสมัยนั้น

โรงเรียนพุทไธสง
Phutthaisong School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนพุทไธสง
ประพฤติดี มีวิชา สามัคคี มีวินัย
สุขา สฺงฆฺสส สามัคคี
ความสามัคคีนำมาซึ่งความสุข
ที่ตั้ง
แผนที่
3 หมู่ 4 บ้านเตย ถนนพุทไธสง-เมืองพล ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 31120
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ส. / PS
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
ก่อตั้ง17 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี 337 วัน)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายภูวนาถ ยุพานวิทย์
พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนายจำรูญ มณีวรรณ
ครูใหญ่โรงเรียนพุทไธสง
นายเกษม เฮงสวัสดิ์
ครูปฏิบัติการสอนโรงเรียน
จำนวนนักเรียน2,703 คน (25 มิถุนายน 2564) (พ.ศ. 2564)
ชั้นเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาไทย
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน
สี   ม่วง-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนพุทไธสง
เบอร์/แฟกซ์044-689014
ดอกไม้ประจำโรงเรียนดอกอินทนิล
อัตลักษณ์จิตอาสา รักสะอาด มารยาทงาม
ประธานสภานักเรียนนายสกุลทอง มากพูน
ปีการศึกษา 2567
เว็บไซต์ptss.ac.th

โรงเรียนพุทไธสง ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 4 บ้านเตย ถนนพุทไธสง-เมืองพล ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ บนเนื้อที่ 83 ไร่ 12 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง สนามฟุตบอล โรงอาหาร โดมอเนกประสงค์ หอประชุม และอื่น ๆ จัดการเรียนการสอน ในช่วงชั้นศึกษาที่ 3 และ 4 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับละ 36 ห้องเรียน รวม 72 ห้องเรียน จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ 12-12-12/12-12-12[1]

ประวัติ แก้

ประวัติโรงเรียน แก้

โรงเรียนพุทไธสง ถือกำเนิดเมื่อ 17 พฤษภาคม 2493 โดยแรกเริ่มโรงเรียนอาศัยศาลาการเปรียญวัดมณีจันทร์ หมู่ที่ 1 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว เปิดทำการสอนปีแรกเฉพาะมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 45 คน และในภาคเรียนที่ 2 รับเพิ่มอีก 25 คน รวมเป็น 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 70 คน และครูอีก 2 คน คือ

  1. นายจำรูญ มณีวรรณ เป็นครูใหญ่
  2. นายเกษม เฮงสวัสดิ์ ครูปฏิบัติการสอน

ซึ่งในปลายปีเดียวกันนั้นเองโรงเรียนได้บรรจุครูเพิ่มอีก 1 คน คือ นายวิโรจน์ อาจจำนงค์

  • พ.ศ. 2494 ทางราชการได้มอบพื้นที่ทางโรงเรียนราษฎร์วิศิษฎ์วิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ให้เป็นสมบัติของโรงเรียน จึงได้ย้ายสถานที่การศึกษามาจัดการเรียนการสอนที่ตั้งดังกล่าว (ปัจจุบันคือสถานีขนส่งเทศบาลพุทไธสง) และได้ขยายห้องเรียนเพิ่มขึ้นอีกเป็น 4 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2495 โรงเรียนได้ย้ายสถานศึกษามาปฏิบัติการเรียนการสอนที่วัดร้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง(โอภาสประชานุกูล)) และได้ขยายห้องเรียนเพิ่มในปีการศึกษาต่อ ๆ มาตามลำดับ
  • พ.ศ. 2498 มีนักเรียนจำนวน 63 คน จบชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ซึ่งนักเรียนรุ่นแรกที่เรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน
  • พ.ศ. 2503 โรงเรียนมีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ระดับชั้นละ 3 ห้องเรียน รวม 9 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนจำนวน 273 คน ครู 16 คน และนักการภารโรง 3 คน ในภายหลังโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าเป็นโรงเรียนในโครงการปรับปรุง โรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบท (คมช.) รุ่นที่ 5
  • พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้ทำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2503
  • พ.ศ. 2514 ในวันอังคาร ที่ 10 สิงหาคม ศาสตราจารย์ ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาในสมัยนั้นได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียนเห็นว่าบริเวณ โรงเรียนแห่งเก่าคับแคบ จึงให้หาที่แห่งใหม่เพื่อขยาย โรงเรียนในโอกาสต่อไป นายบุญนาค เจริญศรี นายอำเภอ และนายจรูญ มณีวรรณ อาจารย์ใหญ่สมัยนั้น ได้นำอธิบดีกรมสามัญศึกษา ไปเลือกที่แห่งใหม่อยู่ในเขตบ้านเตยซึ่งเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 4 บ้านเตย ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เดิมเป็นที่ดินที่ทางอำเภอซื้อไว้เพื่อสร้างสนามกีฬาประชาชน มีเนื้อที่ 24 ไร่ 55 ตารางวา รวมถึงที่ดินว่างเปล่า 2 ไร่ 2 งาน 68 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 โดยโรงเรียนได้ทำเรื่อง ขอใช้จากราชพัสดุ จังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 8 ไร่เศษ และคณะศิษย์เก่าร่วมบริจาคเงินสมทบ เพื่อซื้อที่ดินเพิ่มเติม รวมทั้งหมดเป็น 79 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา
  • พ.ศ. 2531 กรมสามัญศึกษา ได้อนุมัติปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการ ระดับ 8
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนพุทไธสง ได้รับรองการประเมินให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
  • พ.ศ. 2556 ต่อมาคณะครู บุคลากรได้บริจาคซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 3 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา ทำให้ปัจจุบันโรงเรียนพุทไธสงมีขนาดพื้นที่รวมทั้งหมด 83 ไร่ 12 ตารางวา

ประวัติสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สิน แก้

อาคารเรียน[2] แก้

  • พ.ศ. 2515 สร้างอาคารเรียนแบบ 216 ครึ่งหลัง(อาคาร 1 เดิม)
  • พ.ศ. 2516 ต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 อีกครึ่งหลัง(อาคาร 1 เดิม)
  • พ.ศ. 2519 สร้างอาคารเรียนแบบ 216 จำนวน 1 หลัง(อาคาร 2), อาคารชั่วคราว 1 หลัง (3 ห้องเรียน) หลังจากนั้นคณะศิษย์เก่าได้สร้างอาคารเรียนมอบให้โรงเรียน 1 หลัง (2 ห้องเรียน) และในปีนี้โรงเรียนได้ขยายห้องเรียน เป็น 37 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2520 สร้างอาคารเรียนแบบ 216ก. จำนวนครึ่งหลัง (8 ห้องเรียน หรือ อาคาร 3 เดิม), และในปีเดียวกันนั้นเองได้ทำการต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216ก อีก 2 ห้องเรียน(อาคาร 3 เดิม) โรงเรียนจึงได้ขยายห้องเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 42 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2523 สร้างอาคารโรงฝึกงานคหกรรมศิลป์ 1 หลัง
  • พ.ศ. 2526 สร้างต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216ก. ครึ่งหลัง(อาคาร 3 เดิม)
  • พ.ศ. 2528 สร้างอาคารเรียนแบบ 216ล. (อาคาร 4 ในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2550 สร้างอาคารเรียนแบบ 216ล. 1 หลัง(อาคาร 5) โดยใช้ชื่ออาคารว่า “เบญจอินทนิล”
  • พ.ศ. 2556 สร้างอาคารเรียนแบบ 318ล./38 (พิเศษ) 18 ห้องเรียน (อาคาร 6)
  • พ.ศ. 2557 เปิดใช้อาคาร 6
  • พ.ศ. 2560 ผลกระทบจาก “พายุโซนร้อนเซินกา” ทำให้เกิดน้ำขังบริเวณอาคาร 1, 2 และ 3 จึงทำให้อาคารเกิดการชำรุดในเวลาต่อมา ทีมงานวิศวกรจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีมติให้ทำการรื้อถอนทั้ง 3 หลัง และได้ย้ายนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ทั้ง 6 ห้องเรียนซึ่งเดิมมีห้องเรียนประจำอยู่ที่อาคาร 3 ให้ไปเรียนที่อาคารชั่วคราวแทน
  • พ.ศ. 2561 รื้อถอนอาคาร 1(อาคาร 1 เดิม) และ อาคาร 2
  • พ.ศ. 2562 สร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล./55ก. ในบริเวณพื้นที่ของอาคาร 2 ที่ถูกรื้อถอน
  • พ.ศ. 2563 เปิดใช้อาคาร 2 “ทวิวัฒน์ราชาวดี” และได้เปลี่ยนเลขอาคารเรียนจาก อาคาร 3 เป็นอาคาร 1

อาคารอื่น ๆ และทรัพย์สิน แก้

  • พ.ศ. 2515 สร้างบ้านพักครู 3 หลัง, ห้องน้ำ 2 หลัง และบ้านพักภารโรง 1 หลัง
  • พ.ศ. 2516 สร้างบ้านพักครู 2 หลัง และห้องน้ำ 2 หลัง
  • พ.ศ. 2517 สร้างบ้านพักครู 2 หลัง
  • พ.ศ. 2518 สร้างบ้านพักครู 2 หลัง
  • พ.ศ. 2520 สร้างโรงอาหาร และหอประชุม(หอประชุมภายในโรงอาหาร)
  • พ.ศ. 2524 สร้างบ้านพักครู 1 หลัง
  • พ.ศ. 2525 สร้างบ้านพักครู 1 หลัง และกรมสามัญศึกษาได้จัดสรรเงินเป็นค่าน้ำมันปรับปรุงสนามหน้าอาคาร
  • พ.ศ. 2526 สร้างบ้านพักครู 1 หลัง
  • พ.ศ. 2536 เดินระบบประปา PVC เข้าใช้ภายในโรงเรียนและบ้านพัก
  • พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุมแบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2538 สร้างถนนคอนกรีตรอบอาคารเรียนภายในโรงเรียน 5 สาย
  • พ.ศ. 2540 บริษัท โค้ก บริจารถตู้ โตโยต้า ทะเบียน นข 157 บุรีรัมย์ 1 คัน และได้รับริจาครถบัส ขสบก.เก่า 1 คัน
  • พ.ศ. 2543 สร้างถนนคอนกรีตทางเข้าโรงเรียนฝั่งทิศตะวันตก 1 สาย ยาว 315 เมตร
  • พ.ศ. 2554 คณะครู นักเรียนได้จัดซื้อรถตู้โตโยต้าทะเบียน นค 7650 นครราชสีมา 1 คัน ราคา 1.2 ล้านบาท ให้โรงเรียนและสร้างกำแพง แนวรั้วด้านทิศตะวันออก งบประมาณ 3 แสนบาท
  • พ.ศ. 2547 สร้างห้องน้ำมาตรฐาน 1 หลัง (ห้องน้ำผู้หญิง)
  • พ.ศ. 2550 สร้างเรือนพยาบาลในเวลาต่อมา
  • พ.ศ. 2551 สร้างสนามเทนนิส 2 สนาม และปรับปรุงแนวรั้วเดิม และสร้างรั้วใหม่ตลอดด้านหน้าโรงเรียน จากนั้นโรงเรียนได้รับเงินบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียน ให้นำไปสร้างอัฒจรรย์เชียร์กีฬามาตรฐาน 8 อัฒจรรย์ และสร้างขยายถนนคอนกรีตทางเข้าโรงเรียนฝั่งตะวันตก กว้าง 4 เมตร ยาว 315 เมตร
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้สร้างกองอำนวยการ งบประมาณ 6 แสนบาท, สร้างห้องโสต 2 ใต้ถุนอาคาร 5, ห้องน้ำ “สุขาสามัคคี” (ห้องน้ำผู้ชาย) และขยายถนนคอนกรีตบริเวณทางเข้าโรงเรียนฝั่งทิศตะวันตก 400 เมตร
  • พ.ศ. 2553 ในวันที่ 17 พฤษภาคม โรงเรียนพุทไธสงได้มีอายุในการก่อตั้งครบรอบ 60 ปี จึงได้สร้างอาคารอนุสรณ์ 60 ปี (อาคารประชาสัมพันธ์) และสร้างอาคารอเนกประสงค์ (อาคาร 60 ปี ศรีม่วง-ขาว)
  • พ.ศ. 2554 สร้างกำแพงแนวรั้วด้านทิศตะวันออก
  • พ.ศ. 2555 สร้างแนวคูกั้นน้ำและร่องน้ำ
  • พ.ศ. 2556 จัดซื้อรถสองแถวอิซูซุทะเบียน 40-0194 บุรีรัมย์

สร้างอาคารแสดงนิทรรศการ (หอศิลป์), สร้างอาคารเวทีมวย และเริ่มก่อสร้างโดมอเนกประสงค์ โดยใช้ลานสนามบาสเกตบอลและสนามตะกร้อ เป็นสถานที่ก่อสร้าง

ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 คณะครูนักเรียน ได้ร่วมกันทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลและเฉลิมฉลองความสำเร็จในการสร้างโดมอเนกประสงค์

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โรงเรียนพุทไธสงได้รับ-มอบ โดมอเนกประสงค์ จาก สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพุทไธสง สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพุทไธสง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนทุกคน

  • พ.ศ. 2561 สร้างโรงอาหารขนาด 1,200 ที่นั่ง (บริเวณทางทิศตะวันออกของโรงอาหารเดิม)

สัญลักษณ์ แก้

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

 
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนพุทไธสง
  • ตราประจำโรงเรียนพุทไธสง เป็นรูปเปลวเทียนอยู่บนมือประสานล้อมรอบด้วยเกลียวเชือก รอบนอกคือกลีบบัว 9 กลีบ ข้อความข้างในเป็นชื่อของโรงเรียนและคำขวัญของโรงเรียน โดยกลีบบัว 9 กลีบ หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าและสถานที่ตั้งโรงเรียนอยู่ริมสระบัว, เกลียวเชือก หมายถึง ความสามัคคีกลมเกลียว, มือประสาน หมายถึง การรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์ และเปลวเทียน หมายถึง แสงสว่างทางปัญญา
  • ปรัชญาของโรงเรียน ความว่า “สุขา สฺงฆฺสส สามัคคี” อ่านว่า “สุ-ขา สัง-ฆัส-สะ สา-มัค-คี” แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ความสามัคคีนำมาซึ่งความสุข”
  • คำขวัญประจำโรงเรียน “ประพฤติดี มีวิชา สามัคคี มีวินัย”
  • เพลงประจำโรงเรียน เพลงประจำโรงเรียนพุทไธสง ในยุคแรกเริ่มนั้นมีเพลงเดียวคือ “มาร์ชโรงเรียนพุทไธสง” คำร้องโดย อโศก และ เวส สุนทรจามร เป็นผู้แต่งทำนองเพลง แต่ในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการออกอัลบั้ม “บทเพลงแห่งสถาบัน โรงเรียนพุทไธสง” จึงได้มีการเพิ่มเพลงเข้ามาอีก 9 เพลง รวมถึงได้ทำการบันทึกเพลง “มาร์ชโรงเรียนพุทไธสง” ใหม่อีกครั้งเพื่อให้เข้ากับดนตรียุคปัจจุบัน โดยในอัลบั้มมีรายชื่อเพลงดังต่อไปนี้

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนพุทไธสง[3] แก้

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนพุทไธสง
ลำดับ วุฒิ รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1
พ.ม.
นายจำรูณ มณีวรรณ พุทธศักราช 2493 - 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2518
2
พ.ม. กศ.บ.
นายไสว กฤตเวทิน 17 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2519 - 20 กันยายน พุทธศักราช 2519
3
พ.ม. กศ.บ.
นายเรืองศิลป์ สิริสุวลักษณ์ กรกฎาคม พุทธศักราช 2520 - กันยายน พุทธศักราช 2533
4
พ.ม. กศ.บ.
นายบรรลือ คุรุธรรมจารุ ตุลาคมคม พุทธศักราช 2533 - 9 ตุลาคม พุทธศักราช 2535
5
ค.บ.
นายวิบูลย์ รุ่งอดุลย์พิศาล พุทธศักราช 2536 - 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2537
6
กศ.บ. (สังคมศึกษา)

พบ.ม. (บริหารงานบุคคล)

นายวิเชียร เจริญครบุรี 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2537 - พุทธศักราช 2540 ดำรงตำแหน่งวาระที่ 1
7
ค.บ.
นายฉัตรชัย ทีรฆวนิช 11 มกราคม พุทธศักราช 2540 - 20 มกราคม พุทธศักราช 2543
8
กศ.บ. ศษ.ม.
นายวิชัย อำไธสง 21 มกราคม พุทธศักราช 2543 - 5 ตุลาคม พุทธศักราช 2547
9
กศ.บ. (สังคมศึกษา)

พบ.ม. (บริหารงานบุคคล)

นายวิเชียร เจริญครบุรี 5 ตุลาคม พุทธศักราช 2547 - พุทธศักราช 2550 ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2
10
กศ.บ.(คณิตศาสตร์)

กศ.ม.(การวัดผลการศึกษา)[4]

นายสุพจน์ สินสุวงศ์วัฒน์ พุทธศักราช 2550 - 23 กันยายน พุทธศักราช 2559
11
กศ.บ. กศ.ม.
นายประชัย พรสง่ากุล 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2559 - 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2563
12
วท.บ.
นายศักดิ์ ซารัมย์ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2564 - พุทธศักราช

2565

อาคาร แก้

 
อาคารเรียนและสถานที่ภายในโรงเรียนพุทไธสง
ลำดับ รูป ชื่ออาคาร ความสำคัญ หมายเหตุ
1
ไฟล์:พระพุทธรตนมาลา.jpg
พระพุทธรตนมาลา
พระพุทธรตนมาลา เป็นพระพุทธรูปที่ชาวม่วง-ขาว เคารพนับถือ พระพุทธรตนมาลาตั้งอยู่บริเวณทางเข้าโรงเรียนฝั่งทิศตะวันออก
2
 
หลวงพ่ออุดม
หลวงพ่ออุดมเป็นสิ่งศักดิ์ที่คุ้มครองโรงเรียน คณะครูบุคลากร นักเรียนมาช้านาน หลวงพ่ออุดมตั้งอยู่บริเวณข้างหอประชุมอเนกประสงค์
3
 
อาคารชั่วคราวและอาคารเขียว (G)
เป็นอาคารเรียนในรุ่นแรกๆของโรงเรียนหลังจากได้ย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนจากโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง (โอภาสประชานุกูล) มาตั้งในเขตบ้านเตยในปัจจุบัน ในช่วงนั้นใช้เป็นอาคารชั่วคราวก่อนที่จะมีอาคารหลังใหม่ๆ และซ่อมแซมปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน อาคารชั่วคราวมีห้องเรียนทั้งหมด 4 ห้อง ห้องพักครู 1 ห้อง สูง 1 ชั้น เป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชางานเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และใช้สำหรับรายวิชาต่างๆ ส่วนอาคารเขียนหรือห้องเขียว เป็นอาคารที่อยู่ข้างๆกับอาคารชั่วคราว มีลักษณะเป็นสีเขียว สูง 1 ชั้น มีห้องเรียน 3 ห้อง ห้องพักครู 1 ห้อง เป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ทั้งวิชาภาษาอังกฤษและภาษาจีน
4
 
อาคาร 1
เป็นอาคารเรียนตามแบบ 216ก.ของโรงเรียน สูง 2 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 7 ห้องเรียน ห้องพักครูหมวดสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 1 ห้อง

นอกจากนี้ยังมีห้องศรีม่วง-ขาว สำหรับต้อนรับคณะกรรมการสถานศึกษาหรือแขกผู้มาเยือนของโรงเรียนและเป็นห้องเกียรติยศที่รวบรวมความสำเร็จของโรงเรียนที่ได้ทำชื่อเสียงให้กับโรงเรียน

อาคาร 3 ยังเป็นห้องสำหรับฝ่ายบริหาร มีห้องผู้อำนวยการ ห้องฝ่ายบริหารงบประมาณ ห้องฝ่ายบริหารงานบุคคล ห้องฝ่ายบริหารวิชาการ ห้องฝ่ายพัฒนานักเรียน

เดิมคือ อาคาร 3 แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อให้เป็นอาคาร 1 หลังอาคาร 2 (หลังใหม่) ก่อสร้างแล้วเสร็จ
5
 
อาคาร 2
เป็นอาคารเรียนตามแบบ 216ก. สูง 2 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 13 ห้อง ห้องพักครูหมวดคณิตศาสตร์ 1 ห้อง และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาท้องถิ่น 1 ห้อง
6
 
อาคาร 3
เป็นอาคารเรียนในรุ่นแรกๆของโรงเรียนหลังจากมีการสร้างอาคารชั่วคราว สูง 2 ชั้น โดยใช้แบบอาคาร 216 ปัจจุบันเป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 9 ห้อง ห้องพักครูหมวดภาษาไทย 1 ห้อง และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา รายวิชาศิลปะ 2 ห้อง รายวิชาดนตรี 2 ห้อง และรายวิชานาฏศิลป์ 1 ห้อง เดิมคือ อาคาร 1 แต่ได้มีการรื้อถอน เพื่อรอการจัดสร้างอาคารใหม่ เพื่อทดแทนอาคารเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม
7
 
อาคาร 4
เป็นอาคารเรียนของโรงเรียน สูง 3 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 9 ห้อง และเป็นศุนย์ ERIC ของสหวิทยาเขตพุทไธสง และศูนย์อาเซียนของโรงเรียนพุทไธสง และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ห้อง

นอกจากนี้ ชั้นล่างจัดเป็นห้องสมุดโรงเรียน, ห้องโสต 1, ห้องแนะแนว และห้องฝั่งทิศตะวันออกของอาคาร เป็นห้องพยาบาล สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น

8
 
อาคาร 5 เบญจอินทนิล
เป็นอาคารเรียนของโรงเรียน สูง 3 ชั้น ชั้น 1 เป็นใต้ถุนอาคาร มีห้องโสตทัศน์ 2 ทางทิศใต้ของอาคาร มีห้องน้ำทั้งด้านทิศใตเป็นห้องน้ำหญิงและห้องน้ำชายอยู่ฝั่งทิศเหนือของอาคาร ส่วนอีก 2 ชั้น เป็นอาคารเรียนสำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

อาคารนี้ได้จัดสร้างอาคาร 5 ตามแบบ 216ล จำนวน 1.4 ล้านบาท โดยใช้ชื่ออาคารว่า “เบญจอินทนิล” เริ่มสร้างในปีพุทธศักราช 2550 และเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการประมาณปีพุทธศักราช 2551

9
 
อาคาร 6
เป็นอาคารเรียนหลังใหม่ โดยใช้ที่ดินใหม่ที่โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากคณะครู ศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียนและประชาชนทั่วไป ซึ้อที่ดินเพิ่ม จำนวน 3 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา ทั้งหมด 9 แสนบาท เพื่อสร้างอาคาร 6 ตามแบบอาคาร 318ล./38 โดยได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคาร 6 จำนวนทั้งสิ้น 17 ล้านบาท ปัจจุบันสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้มีการทำบุญขึ้นอาคาร 6 เมื่อวันศุกร์ที่ 9 มกราคม 2558
10
 
โดมอเนกประสงค์
โดมอเนกประสงค์ โรงเรียนพุทไธสง ได้รับความร่วมมือจากคณะครู ศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ซื้ออุปกรณ์ในการก่อสร้างโดมอเนกประสงค์ จำนวนทั้งสิ้น 4.4 ล้านบาท โดยใช้ลานสนามบาสเกตบอลและสนามตะกร้อ เป็นสถานที่ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ซึ่งโดมเอกประสงค์ได้เริ่มต้นและสร้างเสร็จภายในปี 2556 บนหลังคาโดมอเนกประสงค์นั้น ได้มีตัวหนังสือ "โรงเรียนพุทไธสง 2556" เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า โดมอเนกประสงค์ได้เกิดขึ้นรุ่นนี้และในปี 2556
11
 
หอนิทรรศการ โรงเรียนพุทไธสง (หอศิลป์)
เป็นหอนิทรรศการที่สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2556 ซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องน้ำเก่าที่ได้ถูกรื้อถอนแล้ว อยู่บริเวณข้างอาคาร 1 กับอาคารห้อง EC อาคารมีลักษณะคล้ายๆปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดบุรีรัมย์
12
 
หอประชุมอเนกประสงค์
เป็นหอประชุมที่ใช้ในการจัดกิจกรรม เป็นที่รวมนักเรียน และเป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาพลศึกษา
13
 
อาคาร 60 ปี
17 พฤษภาคม 2553
เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในงาน 60 ปีที่ผูกพันร่วมสร้างสรรค์อย่างภาคภูมิ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ปัจจุบันเป็นอาคารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน และด้านขวาของอาคารเป็นธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสินโรงเรียนพุทไธสง

อ้างอิง แก้

  1. http://ptsschool.blogspot.com/
  2. "ITA2021 - plan". sites.google.com.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  4. เกษียณ นายสุพจน์ สินสุวงศ์วัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทไธสง, สืบค้นเมื่อ 2021-10-23

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

15°33′04″N 102°59′25″E / 15.551010°N 102.990148°E / 15.551010; 102.990148