โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี

โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี (อังกฤษ: Prommanusorn Phetchaburi School; อักษรย่อ พ.บ. / P.B.) ตั้งอยู่เลขที่ 278 ถนนบันไดอิฐ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นโรงเรียนสหศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย อีกทั้งยังเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี

โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
ละติน: Prommanusorn Phetchaburi School
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.บ., P.B.
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญบาลี: วายเมเถว ปุริโส
เกิดเป็นคนต้องมีความเพียร
ศาสนาพระพุทธศาสนา
ก่อตั้งพ.ศ. 2454
ผู้ก่อตั้งหลวงพ่อฤทธิ์, หลวงปู่ฉุย
เขตการศึกษาเขต 10
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1005760101
ผู้อำนวยการนายอภิชาติ ใจกล้า
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศโรงเรียนสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
พื้นที่40 ไร่ 2 งาน
สีน้ำเงิน-ชมพู
คำขวัญขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีระเบียบวินัย
เพลงมาร์ชน้ำเงิน-ชมพู
ต้นไม้ลีลาวดี
พระพุทธรูปหลวงพ่อป่าแก้ว
เว็บไซต์promma.ac.th

ประวัติ

แก้

เดิมเป็น 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนวัดพลับพลาชัย โดยมีพระอาจารย์ริด (หลวงพ่อฤทธิ์) เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัยเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ[1] ทั้งด้านการสอนและทุนทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2429 (ตามประวัติการประถมศึกษาของชาติที่ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ค้นคว้าให้ UNESCO[2] ระบุว่ามีโรงเรียนเปิดสอนในวัดพลับพลาชัยแล้ว เป็นแห่งแรกของจังหวัดเพชรบุรี โดยในสมัยนั้นที่ว่าการอำเภอคลองกระแชง ตั้งอยู่ที่วัดพลับพลาชัย จึงเป็นศูนย์การสอบไล่ประโยคประถมศึกษา) และโรงเรียนบำรุงไทย ของวัดคงคาราม (วัดคงคารามวรวิหาร) ซึ่งภายหลังได้ยุบรวมกัน ตลอดจนเปลี่ยนชื่อเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันคือโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี

  • พ.ศ. 2429 พระอาจารย์ริด (หลวงพ่อฤทธิ์) เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย ดำเนิการจัดต้งโรงเรียน ณ วัดพลับพลาชัย[3]
  • พ.ศ. 2437 พระสุวรรณมุนี (หลวงปู่ฉุย) วัดคงคารามวรวิหาร ขณะนั้นยังเป็นพระผู้น้อยอยู่ ได้ริเริ่มดำเนินการสอนศิษย์วัดและบุตรหลานชาวบ้านให้ได้อ่านเรียนภาษาไทย จนอ่านออกเขียนได้ดี
  • พ.ศ. 2444 โรงเรียนของวัดคงคารามวรวิหารได้มีชื่อเสียงและความนิยมจนสามารถตั้งเป็นโรงเรียนประถมชื่อ บำรุงไทย
  • พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรการก่อสร้างพระราชวังบ้านปืน หลวงพ่อฤทธิ์ได้ตั้งโต๊ะหมู่บูชานำพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถารับการเสด็จ เมื่อขบวนเสด็จมาจากสถานีรถไฟเพชรบุรีซึ่งเป็นสถานีใต้สุดในสมัยนั้นผ่านมาถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเล็กๆ อยู่ด้วย จึงรับสั่งให้หยุดรถพระที่นั่ง และทรงไต่ถามจนทราบว่า หลวงพ่อฤทธิ์สร้างโรงเรียนโดยเงินส่วนตัวสมทบกับเงินที่ชาวบ้านบริจาค และมีพระภิกษุสงฆ์เป็นครูสอน เมื่อเสด็จนิวัติกลับถึงพระนคร มีพระราชกระแสรับสั่งให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการ จัดส่งครูชาย 3 คน มาจัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวง คราวใดที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานมายังจังหวัดเพชรบุรี พระองค์จะเสด็จแวะมานมัสการหลวงพ่อฤทธิ์เสมอ วันหนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้เสด็จมานมัสการหลวงพ่อฤทธิ์ เมื่อได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่อฤทธิ์แล้ว ก็เป็นที่พอพระทัยของเสด็จในกรมยิ่งนัก ถึงกับถวายตัวขอเป็นศิษย์ หลวงพ่อฤทธิ์ได้ถวายหัวโขนให้กรมหลวงชุมพรฯ 1 หัว เป็นหัวพิราพ[4][2] และต่อมาโรงเรียนวัดพลับพลาชัยได้โอนกิจการและนักเรียนจากวัดพลับพลาชัย ย้ายไปรวมกับโรงเรียนบำรุงไทย (สืบเนื่องจากบริเวณวัดพลับพลาชัยคับแคบ ไม่เหมาะแก่การจัดการเรียน การสอน เพราะนอกจากตั้งเป็นโรงเรียนแล้ว วัดพลับพลายชัยในสมัยนั้น ยังเป็นที่ตั่งที่ว่าการอำเภอคลองกระแชง หรือ อำเภอเมืองเพชรบุรี อีกด้วย ซึ่งย่ากต่อการขยาย)
  • พ.ศ. 2454 กระทรวงธรรมการได้ยกฐานะโรงเรียนบำรุงไทยเป็นโรงเรียนของรัฐบาล เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดเพชรบุรี (วัดคงคาราม)
  • พ.ศ. 2473 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี (คงคาราม)
  • พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนเพชรบุรี (คงคาราม)
  • พ.ศ. 2497–2498 สมัยนายโกวิทย์ ต่อวงษ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้ขออนุญาตย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ ที่ ปัจจุบันเชิงเขามไหสวรรค์ (พระนครคีรี) ซึ่งเป็นวัดร้างที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่าที่เดิม และอยู่ไม่ไกลจากชุมชน
  • พ.ศ. 2499 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้นที่ได้มาเป็นประธานพิธีเปิดอาคารเรียน โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6 มัธยมศึกษาตอนต้นเป็นชาย
  • พ.ศ. 2543 เปิดเป็นโรงเรียนสหศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนหญิงในชั้น ม.1 เป็นรุ่นแรก
  • พ.ศ. 2554 โรงเรียนมีอายุครบ 100 ปี แห่งการก่อตั้งของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) (นับจากปี พ.ศ. 2454 ที่ยกฐานะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล) หรือ 115 ปี นับแต่แรกตั้งโรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอน ณ วัดคงคาราม และ 124 ปี นับตั้งแต่พระอาจารย์ริด (หลวงพ่อฤทธิ์) เปิดกิจการโรงเรียน ณ วัดพลับพลาชัย

ตราประจำโรงเรียน

แก้

ตราช้างหมอบชูคบเพลิง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

  • ส่วนล่าง เป็นลักษณะครึ่งวงกลมเขียนอักษรว่า "พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี"
  • ส่วนกลาง เป็นรูปช้างหมอบ หมายถึง วัดช้าง ซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่
  • ส่วนบน เป็นคบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งความรู้

ผู้บริหารของโรงเรียน

แก้

รายนามผู้บริหารโรงเรียนในยุคก่อตั้งไม่สามารถหาหลักฐานได้ จึงมีเพียงหลักฐาน หลัง พ.ศ. 2447 เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้นคาดว่า พระอาจารย์ฤทธิ์ เป็นเสมือนครูใหญ่ในส่วนของโรงเรียนวัดพลับพลาชัย และหลวงปู่ฉุย ในส่วนของโรงเรียนบำรุงไทย ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
ลำดับ รายนาม ชื่อตำแหน่ง ช่วงเวลา ระยะเวลา หมายเหตุ
0. หลวงพ่อริด (พระอาจารย์ฤทธิ์) ครูใหญ่ พ.ศ. 2429 – พ.ศ. 2447 18 ปี 1.
0. หลวงปู่ฉุย ครูใหญ่ พ.ศ. 2437 – พ.ศ. 2450 13 ปี 2.
1. นายลิ ธรรมรักษ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2447 – พ.ศ. 2452 5 ปี 3.
2. นายฉิว ปริปุรณ์ รักษาการครูใหญ่ พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2454 4 ปี 3., 4.
3. นายปลั่ง (ไม่ทราบนามสกุล) ครูใหญ่ พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2456 1 ปี
4. นายสอน จินตวณิช (ขุนกัลยาณวาท) ครูใหญ่ พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2457 1 ปี
5. นายถนอม จีระมะกร (ขุนอักษรสิทธิวินัย) ครูใหญ่ พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2461 4 ปี
6. นายเท้ง เหมะบุตร (ขุนประกาศวุฒิสาร) ครูใหญ่ พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2463 2 ปี
7. นายอุ๋ย ทรัพย์วณิชย์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2463 – พ.ศ. 2465 2 ปี
8. นายผล ไตละนันทน์ (ขุนวิชชากรรมพิเศษ) ครูใหญ่ พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2475 10 ปี
9. นายลำใย แกวกก้อง (ลำใย เกียรติก้อง) ครูใหญ่ พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2485 10 ปี
10. นายเกษม นิโลดม อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487 2 ปี
11. นายโกวิทย์ ต่อวงษ์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2508 20 ปี
12. นายน้อม บุญดิเรก รักษาการอาจารย์ใหญ่ 1 มิ.ย. 2508 - 3 ต.ค. 2508 4 เดือน
13. นายเจิม สืบขจร อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2516 8 ปี
14. นายจิตต์ ศรีสุโร ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2525 9 ปี
15. นายแสวง เอี่ยมองค์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2517 – 2536 9 ปี
16. นายสุวิทย์ พ่วงลาภ ผู้อำนวยการ 9 ธ.ค. 2536 – 5 ม.ค. 2543 7 ปี
17. นายบุรี แสงศิลา ผู้อำนวยการ 6 ม.ค. 2543 – 30 ก.ย. 2547 3 ปี
18. นายสุวิทย์ พ่วงลาภ ผู้อำนวยการ 1 ต.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2549 2 ปี
19. ว่าที่ ร้อยโทยุทธ นุชสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ 31 ต.ค. 2549 – 30 ก.ย. 2552 3 ปี
20. นายธีระพันธุ์ ธีรานันท์ ผู้อำนวยการ 27 พ.ค. 2552 – 30 ก.ย. 2557 5 ปี
21. นายพล อินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการ 09 ธ.ค. 2557 – 30 ก.ย. 2559 2 ปี
22. นายธีรศักดิ์ พิงภักดิ์ ผู้อำนวยการ 1 พ.ย. 2559 – 8 ส.ค. 2562 3 ปี
23. นางสาวจรูญศรี เชี่ยวชูพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2562 ไม่ถึง 1 ปี
24. นายอรุณ สรรพคุณ ผู้อำนวยการ 6 ธ.ค. 2562 – ต.ค. 2566 3 ปี
25. นายบุญช่วย วาดวงศ์ ผู้อำนวยการ 4 ต.ค. 2566 – 7 ต.ค. 2567 1 ปี
26. นายอภิชาติ ใจกล้า ผู้อำนวยการ 8 ต.ค. 2567 – ปัจจุบัน
 
พระประธาน ประจำวัดป่าแก้ว

หมายเหตุ

แก้
  1. โรงเรียนวัดพลับพลาชัย
  2. โรงเรียนบำรุงไทย
  3. โรงเรียนวัดพลับพลาชัย พ.ศ. 2453 ยุบรวมเข้ากับโรงเรียนบำรุงไทย
  4. โรงเรียนบำรุงไทย พ.ศ. 2454 ได้เข้าเป็นโรงเรียนของรัฐบาลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างจังหวัดเพชรบุรี

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ฐานข้อมูลท้องถิ่น จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2021.
  2. 2.0 2.1 "เพชรบุรีมีมากกว่าที่คิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2009.
  3. "ประวัติเจ้าอาวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2010.
  4. วัดพลับพลาชัย จังหวัดเพชรบุรี (2537). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูอาทรวชิรธรรม. เพชรบุรี: เพชรภูมิออฟเซทการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.
  5. "Letter of Understanding on ASEAN seafdec strategic partnership (ASSP)" (PDF). The Association of Southeast Asian Nations.
  6. "Coastal and Small-scale Fisheries Management". Southeast Asian Fisheries Development Center, Training Department. 20 พฤษภาคม 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°06′15″N 99°56′17″E / 13.104276°N 99.937971°E / 13.104276; 99.937971