โรงเรียนปิยมาตย์

โรงเรียนปิยมาตย์ เป็นโรงเรียนเอกชนสหศึกษาประเภทสามัญศึกษา ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สังกัดคณะนักบวชหญิงอุร์สุลินในประเทศไทย โรงเรียนปิยมาตย์ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เปิดทำการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 มีนักเรียนชายหญิงซึ่งมาจากหมู่บ้านร่องคำ 11 คน ครูผู้สอนจำนวน 5 คน มีอักษรย่อว่า ปยม.

โรงเรียนปิยมาตย์
Piyamart School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นPM. หรือ ปยม.
ประเภทเอกชน
คำขวัญอบรมเสริมคนให้ครบ ประสบธรรมอันสูงส่ง
ปัญญาแตกฉานมั่นคง เสริมส่งให้เป็นคนจนสมบูรณ์
สถาปนา10 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
รหัส1156100069
ผู้อำนวยการนางสาวพูลศรี ไม้ทอง
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6
เว็บไซต์[1]

ประวัติโรงเรียนปิยมาตย์ แก้

โรงเรียนตั้งอยู่ที่ 20 หมู่ 12 ถนนพะเยา –วังเหนือ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่ 91 ตารางวา สภาพโดยรอบอาณาเขตด้านเหนือและด้านตะวันตกเป็นทุ่งนา ด้านหน้าโรงเรียนซึ่งเป็นทิศใต้ ติดถนน พะเยา –วังเหนือ ด้านทิศตะวันออกห่างจากทางเข้าหมู่บ้านร่องคำประมาณ 500 เมตร โรงเรียนเปิดสอน เป็นครั้งแรกตามใบอนุญาตเลขที่ 0003/2547 โดยมีนางสาวลดาพร พิชิตพสุธาดล เป็นผู้รับใบอนุญาต และนางสาวสุจิตรา สุวาวัลย์ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ ได้รับเงินสนับสนุนในการดำเนินการจากมูลนิธิปิยมาตย์

โรงเรียนปิยมาตย์เป็นหนึ่งในโรงเรียนเครืออุรสุลินที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งโรงเรียนปิยมาตย์ได้จัดการศึกษาตามปรัชญาการอบรมการศึกษาแบบอุร์สุลิน บนพื้นฐานของท่านนักบุญอัญจลา เมริชี ผู้ก่อตั้งคณะอุร์สุลิน ท่านเห็นว่าการให้การศึกษาแก่เด็กหญิง เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด จึงได้ก่อตั้งคณะหญิงสาวผู้อุทิศตนเพื่ออบรมสั่งสอน เด็กหญิง ท่านได้เลือกนักบุญอุร์สุลา เจ้าหญิงพรหมจรรย์ ซึ่งมีตำนานว่า เป็นมรณะสัขขีพลีชีพเพื่อศาสนา เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์และตั้งชื่อคณะว่า คณะอุร์สุลินการศึกษาของอุร์สุลินนั้น มีมานานกว่า 475ปี โดยยึดคุณธรรมที่เป็นแก่นหลัก 8ประการ อันได้แก่ การรับใช้ช่วยเหลือ เจตนารมณ์ของนักบุญอัญจลา ความยุติธรรมในสังคม ชีวิต จิต ความเป็นผู้นำ การพัฒนาบุคคลให้ครบ ความเป็นเลิศทางวิชาการ และใจเปิดกว้างพร้อมปรับเปลี่ยน แม้วันเวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 5 ศตวรรษ คณะอุร์สุลิน ยังคงเชื่อมั่นและปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ของนักบุญอัญจลา นั่นคือ การให้การศึกษาแก่เยาวชนทุกเพศทุกวัยโดยไม่เลือกชนชั้น ซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน 4 ท่านแรกที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย การศึกษาของอุร์สุลิน ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช 2467 โดยขณะนั้นมีซิสเตอร์ 4ท่านได้เริ่มงานที่โรงเรียนกุหลาบวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร แต่ในช่วงสองปีแรก เกิดปัญหาขึ้นมากมาย คณะซิสเตอร์จึงขอความช่วยเหลือไปที่กรุงโรม แต่แล้วก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ต่อมา คุณแม่มารี เบอร์นาด แมนเซล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการิณีมิชชั่นสยาม ท่านได้เข้ามาแก้ไขสถานการณ์ต่างๆในขณะนั้น จนลุล่วงไปด้วยดี และได้สร้างโรงเรียนสำหรับกุลสตรีแห่งแรก คือ โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมา พระสังฆราช แปโรส ได้ให้คุณแม่เบอร์หนาด พิจารณาเปิดโรงเรียนที่เชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง เริ่มก่อสร้างต้นปี พ.ศ.2474 การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ในต้นปี พ.ศ.2475 โดยใช้ชื่อว่า เรยีนาเชลีวิทยาลัย ต่อมาในปี 2498 ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ เจ้าคณะอุร์สุลินแห่งประเทศไทยได้เข้าซื้อโรงเรียนแม่พระฟาติมา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวาสุเทวี

ต่อมาในปี พุทธศักราช 2547 ซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี อธิการิณีเจ้าคณะภาค ในช่วงปี 2532 – 2541 เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงเรียนปิยมาตย์โดยมอบหมายให้ซิสเตอร์ฟรังซิส เซเวียร์เบลล์ เป็นผู้ดูแลการดำเนินก่อสร้างครั้งนี้ เมื่อวันที่ 10พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ในปีพุทธศักราช 2548โรงเรียนมีนักเรียนมาสมัครน้อยมาก ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางและผู้ปกครองมีฐานะยากจน ไม่สามารถที่จะชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนรวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามที่โรงเรียนกำหนดไว้ได้ ประกอบกับทางโรงเรียนยังไม่มีนโยบายที่จะขยายระดับชั้นจนถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ตามที่ผู้ปกครองต้องการ

วันที่ 12 เดือนพฤศจิกายน 2548 โรงเรียนมีการนำเสนอปัญหานี้ ในระดับคณะกรรมการบริหารของคณะอุร์สุลิน และของโรงเรียนปิยมาตย์ โดยมีนายพนิต ใหม่ประสิทธิกุล ศึกษาธิการอำเภอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1 ให้คำแนะนำ ซึ่งในที่สุดทางคณะกรรมการบริหารของคณะอุร์สุลินในประเทศไทย ได้มีมติให้โอนกิจการของโรงเรียนปิยมาตย์ให้เป็นของมูลนิธิปิยมาตย์ และเปลี่ยนแปลงประเภทของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เป็นประเภทการศึกษาสงเคราะห์สำหรับนักเรียนที่ยากจนและเปิดรับนักเรียนที่อยู่ในจังหวัดพะเยา โดยมีเงื่อนไขว่านักเรียนผู้นั้นจะต้องมีฐานะยากจนมาก ไม่มีผู้ปกครองดูแลและบ้านอยู่ไกล นอกจากนั้นทางโรงเรียนยังมีการขยายระดับชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มขยายปีละระดับชั้นเรียน ตั้งแต่ วันที่ 20 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นมา

สำหรับเงินในการสนับสนุนการดำเนินกิจการของโรงเรียนนอกจากรับทางมูลนิธิปิยมาตย์แล้ว ได้มีการดำเนินการขอรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน ตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี จากรัฐบาล

วันที่ 1 เดือนสิงหาคม 2549 นางสาวลดาพร พิชิตพสุธาดล ได้โอนโรงเรียนให้แก่มูลนิธิปิยมาตย์ ตามหนังสืออนุญาตเลขที่ พย.1-01/2549 และได้แต่งตั้งให้นางสาวศิริลักษณ์ สุวภาพ ลงนาม แทนมูลนิธิปิยมาตย์เป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนปิยมาตย์ ในวันที่ 20 เดือนพฤษภาคม 2551 นางสาว สุจิตรา สุวาวัลย์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน ตามหนังสือเลขที่ ปยม.1/2551 ได้แต่งตั้งนางสาวอรศรี มนตรี เป็นผู้จัดการ และผู้อำนวยการโรงเรียนปิยมาตย์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2557

ในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 แต่งตั้งให้นางสาวส่องแสง ถิ่นวัลย์ เป็นผู้จัดการ และผู้อำนวยการ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 นางสาวส่องแสง ถิ่นวัลย์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ และผู้อำนวยการ ได้แต่งตั้งให้นางสาวจินตนา ฉัตรสุภางค์ เป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 แต่งตั้งนางสาวพูลศรี ไม้ทอง เป็นผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 ซึ่งเปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมี นางสาวศิริลักษณ์ สุวภาพ เป็นผู้รับใบอนุญาต เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 นางสาวศิริลักษณ์ สุวภาพ ได้เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จากนางสาวส่องแสง ถิ่นวัลย์ เป็นนางสาวจินตนา ฉัตรสุภางค์

ในปี 2560นางสาวศิริลักษณ์ สุวภาพ ได้เปลี่ยนแปลงผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จากนางสาวจินตนา ฉัตรสุภางค์เป็น นางสาวประภัสสร ศรีวรกุล

อ้างอิง แก้