โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ชื่อย่อ: รร.จปร.) เป็นสถาบันการศึกษาทางทหาร ในระดับอุดมศึกษาในสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารบก กองทัพบก ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เรียกว่า นักเรียนนายร้อย (นนร.) ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ จำปีสิรินธร ปัจจุบัน (1 ตุลาคม 2567) พลโท อุดม แก้วมหา เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พลตรี เทพพิทักษ์ นิมิตร และ พลตรี เอกอนันต์ เหมะบุตร เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
Chulachomklao Royal Military Academy | |
ชื่อย่อ | รร.จปร. / CRMA |
---|---|
คติพจน์ | สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา (ความเป็นผู้พร้อมเพรียงแห่งชน ผู้เป็นหมู่แล้วทั้งหลายทั้งปวงให้ความเจริญสำเร็จ) |
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สถาปนา | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 |
สังกัดการศึกษา | กรมยุทธศึกษาทหารบก |
ผู้บัญชาการ | พลโท อุดม แก้วมหา [1] |
ที่ตั้ง | |
สี | สีแดง-เหลือง |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยเริ่มจากการจัดตั้งทหารมหาดเล็กเด็กที่เรียกวว่า "ทหารมหาดเล็กไล่กา" จำนวน 12 คน ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ขยายกำลังขึ้นโดยฝึกข้าหลวงเดิมให้เป็นทหารมหาดเล็กสมทบกับพวกมหาดเล็กไล่การวม 24 คน จึงเรียกทหารในชุดนี้ว่า "ทหาร 2 โหล" และต่อมาได้เพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็กเป็น 72 คน แต่งตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด
พ.ศ. 2414 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายกองทหารมหาดเล็กออกเป็นกองร้อย เรียกว่า "กอมปานี" (company) ถึง 6 กองร้อย จัดตั้งเป็น "กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"
พ.ศ. 2415 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานที่สอนวิชาการและระเบียบการขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก รวมทั้งให้มีการสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทยด้วย เรียกสถานศึกษาว่า คะเด็ตทหารมหาดเล็ก ส่วนนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต" (cadet)
พ.ศ. 2423 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารหน้าขึ้น (ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นกรมยุทธนาธิการ) จึงกำเนิด "คะเด็ตทหารหน้า" ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ได้เร่งปรับปรุงกิจการทหารโดยลำดับ เมื่อเจริญกว้างขวางและเป็นแบบแผนขึ้นบ้างแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาทหารสำหรับทหารบกทั่วไปขึ้น โดยให้ใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์เป็นสถานที่ตั้ง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมแผนที่ทหาร) โดยรวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า นักเรียนแผนที่ และส่วนที่เป็นทหารสก๊อตเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อรวมว่า คะเด็ตสกูล สำหรับนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต" มีนายพันเอกนิคาล วอลเกอร์ (Nical Walger) เป็นผู้บังคับการคนแรก
5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนคะเด็ตสกูล
14 มกราคม พ.ศ. 2431 ได้ตราข้อบังคับขนานนามโรงเรียนคะเด็ตสกูลเสียใหม่ว่า โรงเรียนทหารสราญรมย์
6 ตุลาคม พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กองโรงเรียนนายสิบมาสมทบด้วย เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสอนวิชาทหารบก
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนทหารบก เปิดโอกาสให้รับบุคคลสามัญที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยได้ต่อมามีผู้สนใจเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายนักเรียนนายสิบไปสังกัดกองพลทหารบกตามเดิม และเมื่อ 26 พฤษภาคม 2446 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนายร้อยทหารบก เปิดการสอนใน 2 แผนก คือ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมและโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
5 ปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าสถานที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกคับแคบไปแล้วไม่เพียงพอแก่การที่จะผลิตนักเรียนเพิ่มขึ้นทันกับความต้องการของสถานการณ์ในเวลานั้น ซึ่งขาดแคลนนายทหาร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินติดถนนราชดำเนินนอก เป็นเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่เศษ ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม (ส่วนโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมยังคงอยู่ ณ โรงเรียนทหารสราญรมย์เดิม) เสร็จแล้วพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452
โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม และโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมได้ดำเนินการมาด้วยดี ต่อมาเศรษฐกิจของชาติตกต่ำ กระทรวงกลาโหมจึงให้รวมโรงเรียนนายร้อยทั้งสองนี้เข้าด้วยกันเรียกชื่อว่า โรงเรียนนายร้อยทหารบก อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมยุทธศึกษาทหารบก
26 มีนาคม พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาพระราชทานกระบี่แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดเป็นครั้งแรก และจากนั้นเป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกระบี่แก่นักเรียนนายร้อยที่จบการศึกษาขั้นสูงสุดทุกปี
พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนเทฆนิคทหารบกขึ้นในกรมยุทธศึกษาทหารบก เพื่อผลิตนายทหารบางเหล่าที่เป็นเหล่าสายเทคนิค
2 ธันวาคม พ.ศ. 2485 – 14 มกราคม พ.ศ. 2487 ได้มีการผลิตนักเรียนนายร้อยหญิงขึ้น 1 รุ่นจำนวน 28 คนและมีรุ่นเดียว
14 เมษายน พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487 ได้มีการผลิตนักเรียนนายร้อยสำรองขึ้น 3 รุ่น และได้เปิดหลักสูตรอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ 30 เมษายน พ.ศ. 2499 อีก 6 รุ่น รวม 9 รุ่น
ในห้วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรไมตรีกับฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในปี พ.ศ. 2486 ฝ่ายพันธมิตรได้ทำการโจมตีทางอากาศต่อที่หมายในกรุงเทพมหานครอย่างหนัก ทางราชการจึงคิดแผนการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ ณ สถานที่แห่งใหม่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2487 นักเรียนนายร้อยทุกหลักสูตรและทุกคน จึงได้ออกเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟสามเสน ไปลงที่สถานีรถไฟตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก 112 กิโลเมตร เข้าสู่หมู่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดทำการสอนนักเรียนนายร้อยอยู่ไม่นาน พอต้นปี พ.ศ. 2488 ได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งสงครามสงบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 โรงเรียนนายร้อยจึงได้กลับมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งเดิม
พ.ศ. 2489 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อย เป็นหลักสูตรการศึกษา 5 ปีตามแบบอย่างโรงเรียนนายร้อยทหารบกของสหรัฐอเมริกา
1 มกราคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนนายร้อยแทนชื่อเดิมว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 มีพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้ได้วิทยฐานะวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า วทบ. (ทบ.)
5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ประดับธงไชยเฉลิมพล[2]
ต่อมาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ถนนราชดำเนินนอกอยู่ในสภาพแออัด ด้วยมีจำนวนนักเรียนนายร้อยเพิ่มขึ้น สถานที่ฝึกศึกษา เล่นกีฬา และสถานที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการเป็นโรงเรียนนายร้อยหลักของประเทศ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสถานที่ตั้งแห่งใหม่ ณ บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โรงเรียนนายร้อยแห่งนี้ได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2524 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะดำรงพระยศพันเอก) ได้เสด็จฯ มากระทำพิธี
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ข้าราชการ ลูกจ้าง นักเรียนนายร้อย พร้อมด้วยศิษย์เก่า ได้พร้อมใจกันเดินเท้าออกจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าสถานที่ตั้งเดิมเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ โดยมีพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในการนำกำลังพลเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ด้วยความเรียบร้อยพร้อมเพรียงกัน
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ถือเป็นการเปิดโรงเรียนนายร้อยแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ และได้ดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบัน[3][4]
การจัดหน่วย
แก้- กองบัญชาการ
- กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์
- กองพันที่ 1
- กองพันที่ 2
- กองพันที่ 3
- กองพันที่ 4
- ส่วนการศึกษา
- ส่วนวิชาทหาร
- ส่วนสนับสนุนและบริการ
- โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
หลักสูตรการศึกษา
แก้- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
- วิศวกรรมอุตสาหการ
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมแผนที่
- วิทยาศาสตรบัณฑิต
- ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
- วิทยาการคอมพิวเตอร์
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ศิลปศาสตรบัณฑิต
รายนามผู้บัญชาการ
แก้รายนามผู้บัญชาการ | ||
---|---|---|
พระนามและนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | พ.ศ. 2449–2452 | |
2. พันเอก พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ทองดี ภีมะโยธิน) | พ.ศ. 2456–2458 | |
3. พันเอก พระยาอุปเทศทวยหาญ (เชื่อม ประพันธโยธิน) | พ.ศ. 2458–2468 | |
4. พลตรี พระยารามรณรงค์ (หม่อมหลวงชวย ฉัตรกุล) | พ.ศ. 2467–2471 | |
5. พลตรี พระยาเสนีย์ณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์) | พ.ศ. 2471–2473 | |
6. พลตรี หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี | พ.ศ. 2473–2475 | |
7. พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) | พ.ศ. 2475–2476 | |
8. พันโท หลวงวิภาครัฐกิจ (ศุข เมนะรุจิ) | พ.ศ. 2476–2479 | |
9. พันเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์) | พ.ศ. 2479–2483 | |
10. พันโท ขุนเรืองวีระยุทธ | พ.ศ. 2483–2489 | |
11. พลตรี หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร ราชเสนากฤดากร | พ.ศ. 2489–2490 | |
12. พลตรี เดช เดชประดิยุทธ | พ.ศ. 2490 | |
13. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ | พ.ศ. 2490–2491 | |
14. พลตรี กำปั่น กัมปนาทแสนยากร | พ.ศ. 2492–2495 | |
15. พลตรี ขุนเสนาทิพ | พ.ศ. 2495–2503 | |
16. พลตรี อ่อง โพธิกนิษฐ | พ.ศ. 2503–2506 | |
17. พลตรี บุญชัย บำรุงพงศ์ | พ.ศ. 2506–2507 | |
18. พลตรี สำราญ แพทยกุล | พ.ศ. 2507–2510 | |
19. พลตรี บุญ รังคะรัตน์ | พ.ศ. 2510–2515 | |
20. พลตรี ชัย สุรสิทธิ์ | พ.ศ. 2515–2519 | |
21. พลตรี ปิ่น ธรรมศรี | พ.ศ. 2519 | |
22. พลตรี จวน วรรณรัตน์ | พ.ศ. 2519–2522 | |
23. พลตรี ยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค | พ.ศ. 2522–2524 | |
24. พลตรี วิจิตร สุขมาก | พ.ศ. 2524–2528 | |
25. พลตรี นิยม ศันสนาคม | พ.ศ. 2528–2531 | |
26. พลตรี เผด็จ วัฒนะภูติ | พ.ศ. 2531–2532 | |
27. พลตรี ขจร รามัญวงศ์ | พ.ศ. 2532 | |
28. พลโท สมพร เติมทองไชย | พ.ศ. 2532–2534 | |
29. พลโท วัฒนา สรรพานิช | พ.ศ. 2534–2536 | |
30. พลโท บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ | พ.ศ. 2536–2537 | |
31. พลโท อาวุธ วิภาตะพันธุ์ | พ.ศ. 2537–2539 | |
32. พลโท อำนวย สวนสมจิตร | พ.ศ. 2539–2541 | |
33. พลโท สมทัต อัตตะนันทน์ | พ.ศ. 2541–2543 | |
34. พลโท สมชาย อุบลเดชประชารักษ์ | พ.ศ. 2543–2544 | |
35. พลโท ชาตรี ศิรศรัณย์ | พ.ศ. 2544–2546 | |
36. พลโท พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ | พ.ศ. 2546 | |
37. พลโท ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | พ.ศ. 2546–2547 | |
38. พลโท สุเทพ โพธิ์สุวรรณ | พ.ศ. 2547–2548 | |
39. พลโท กมล แสนอิสระ | พ.ศ. 2548–2550 | |
40. พลโท วรวิทย์ พรรณสมัย | พ.ศ. 2550–2552 | |
41. พลโท ปริญญา สมสุวรรณ | พ.ศ. 2552–2554 | |
42. พลโท ดนัย มีชูเวท | พ.ศ. 2554–2555 | |
43. พลโท พอพล มณีรินทร์ | พ.ศ. 2555–2557 | |
44. พลโท ชาญชัย ยศสุนทร | พ.ศ. 2557–2558 | |
45. พลโท ถกลเกียรติ นวลยง | พ.ศ. 2558–2559 | |
46. พลโท สิทธิพล ชินสำราญ | พ.ศ. 2559–2562 | |
47. พลโท ณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ | พ.ศ. 2562-2563 | |
48. พลโท จิรเดช กมลเพ็ชร | พ.ศ. 2563-2564 | |
49. พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ | พ.ศ. 2564-2566 | |
50. พลโท ไกรภพ ไชยพันธ์ | พ.ศ. 2566-พ.ศ.2567 | |
51. พลโท อุดม แก้วมหา[5] | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านาม ตำแหน่งทางการทหาร พระนาม หรือนามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นคำนำหน้านาม ตำแหน่งทางการทหาร พระนาม หรือนามในขณะดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
รายนามนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- พลเอก บรรจบ บุนนาค (รุ่นที่ 1) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา (รุ่นที่ 1) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ (รุ่นที่ 1) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (รุ่นที่ 1) อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (รุ่นที่ 2) อดีตองคมนตรี
- พลเอก สุจินดา คราประยูร (รุ่นที่ 5) อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี (รุ่นที่ 5) อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (รุ่นที่ 5) อดีตหัวหน้าพรรคเสรีนิยม
- พลตรี จำลอง ศรีเมือง (รุ่นที่ 7) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (รุ่นที่ 8) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก กิตติ รัตนฉายา (รุ่นที่ 8) อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
- พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รุ่นที่ 10) อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (รุ่นที่ 12) ประธานองคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี
- พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ (รุ่นที่ 16) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (รุ่นที่ 16) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (รุ่นที่ 17) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รุ่นที่ 17) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ (รุ่นที่ 21) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา (รุ่นที่ 21) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลเอก โปฎก บุญนาค (รุ่นที่ 22) รองประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา
- พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (รุ่นที่ 23) องคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (รุ่นที่ 23) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รุ่นที่ 23) องคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ (รุ่นที่ 23) อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (รุ่นที่ 23) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร (รุ่นที่ 23) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร (รุ่นที่ 23) อดีตรองประธานวุฒิสภา
- พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร (รุ่นที่ 23) อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล (รุ่นที่ 24) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- พลเอก อุดมเดช สีตบุตร (รุ่นที่ 25) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก ธีรชัย นาควานิช (รุ่นที่ 25) อดีตองคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ (รุ่นที่ 25) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา (รุ่นที่ 26) องคมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ (รุ่นที่ 26) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา (รุ่นที่ 26) อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลเอก สมหมาย เกาฏีระ (รุ่นที่ 26) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ (รุ่นที่ 26) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ (รุ่นที่ 27) องคมนตรี
- พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท (รุ่นที่ 27) องคมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล (รุ่นที่ 27) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ (รุ่นที่ 28) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี (รุ่นที่ 29) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก วิจักขฐ์ สิริบรรสพ (รุ่นที่ 29) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (รุ่นที่ 31) อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรองเลขาธิการพระราชวัง
- พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ (รุ่นที่ 32) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ (รุ่นที่ 33) อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ (รุ่นที่ 34) ผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก สุขสรรค์ หนองบัวล่าง (รุ่นที่ 34) รองผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ (รุ่นที่ 35) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก ธราพงษ์ มะละคำ (รุ่นที่ 35) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า (รุ่นที่ 36) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลเอกพนา แคล้วปลอดทุกข์ (รุ่นที่ 37) เสนาธิการทหารบก
- พลตรี วินธัย สุวารี (รุ่นที่ 41) ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก
- พลตรี วันชนะ สวัสดี (รุ่นที่ 45) ผู้อำนวยการสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กรมยุทธการทหาร
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 74 ตอนที่ 110 หน้า 3042, 24 ธันวาคม 2500
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-22. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
แก้หนังสือและบทความ
แก้- ปวีณา มูซอเฮด. “การจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. 2491-2534.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
- ภัทรัตน์ พันธุ์ประสิทธิ์. “หลักสูตรพลทหารกับการสร้างทหารในช่วงปฏิรูปกองทัพบกสยาม พ.ศ. 2448.” ใน รวมบทความประชุมวิชาการระดับชาติฉลองครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “มองโลกในไทย มองไทยในโลก” เล่มที่ 2. หน้า 118-158. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564.
- สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ. “‘ปรัชญา’ และ ‘หัวใจ’ ของการผลิต ‘ทหารอาชีพ’ ตามแนวทางของโรงเรียนนายร้อยตะวันตก และข้อคิดสำหรับไทย.” ใน ชาญณรงค์ บุญหนุน, คงกฤช ไตรยวงค์ และพัชชล ดุรงค์กวิน (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 12 ‘อยู่ด้วยกัน’: โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น. หน้า 474-501. ม.ป.ท., 2561.
- อธิคม สุวรรณประสิทธิ์. “วัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
- Sukunya Bumroongsook. “Chulachomklao Royal Military Academy: The Modernization of Military Education in Thailand, 1887–1948.” PhD Dissertation, Northern Illinois University 1991.