โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2534 เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในมหาศุภสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการถือเป็นโอกาสอันสำคัญยิ่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะและอนุสรณ์สถานแก่อนุชนรุ่นหลัง ให้ได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทยในด้านการศึกษา โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "นวมินทราชินูทิศ" ซึ่งมีความหมายว่า โรงเรียนที่อุทิศแด่พระราชินีลำดับที่ 9 ผู้เป็นใหญ่ (นวม (อ่านว่า นะ-วะ-มะ) + อินทร์ + ราชินี + อุทิศ) และเนื่องจากโรงเรียนมีชื่อเดิมว่า "เบญจมราชาลัย 3" กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย"
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย Nawamintrachinuthit Benjamarachalai School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | นมร.บร. (NBR.) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | รักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ |
สถาปนา | 4 มีนาคม พ.ศ. 2534 |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2(สพม.กท.2) |
ผู้อำนวยการ | นายจันทร เที่ยงภักดิ์ |
สี | |
เว็บไซต์ | http://www.nbr.ac.th |
มาตรฐานคุณภาพของโรงเรียน
แก้- เป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
- โรงเรียนสืบสานงานพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียง
- โรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
- โรงเรียนใกล้บ้าน
- โรงเรียนยอดนิยมของประเทศ (1 ใน 326 โรงเรียน)
- นายชนินทร์วุฒิ กาลจักร ผู้ชนะการแข่งขันเกม เทลส์รันเนอร์
- วงดนตรีลูกทุ่ง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1 โครงการดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวร ครั้งที่1,รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ฤดูหนาวปีที่ 3 ฤดูร้อนปีที่ 4 รอบ 16 ทีมสุดท้าย
- รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองชนะเลิศระดับภาคกลางและภาคตะวันออกการแข่งขันแต่งเพลงคุณธรรม งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำภาคกลางและภาคตะวันออก ปี 2552
แผนการเรียน
แก้- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Gifted)
- ห้องเรียนพิเศษ Mini English Program (MEP)
- ห้องเรียนคอมพิวเตอร์หุ่นยนต์
- ห้องเรียนทั่วไป เน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้องเรียนทั่วไป เน้นภาษาจีน
- ห้องเรียนทั่วไป
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Gifted)
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ปัญญาประดิษฐ์
- ห้องเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-ธุรกิจ
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย-สังคมศึกษา
คณะสีของโรงเรียน
แก้- ██ คณะสีฉัตรสัตบรรณ (สีแดง)
- ██ คณะสีสุวรรณปัทมา (สีเหลือง)
- ██ คณะสีสุทธาสิโนบล (สีม่วง)
- ██ คณะสีอุบลจงกลนี (สีชมพู)
- ██ คณะสีขจีบุณฑริก (สีเขียว)
ผู้บริหาร
แก้ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. ผู้อำนวยการ เอกจิตรา ชูสกุลชาติ | พ.ศ. 2534 — พ.ศ. 2535 | |
2. ผู้อำนวยการ สุรเทพ ตั๊นประเสริฐ | พ.ศ. 2535 — พ.ศ. 2539 | |
3. ผู้อำนวยการ สุริยนต์ วะสมบัติ | พ.ศ. 2539 — พ.ศ. 2540 | |
4. ผู้อำนวยการ ดวงจิต คำวงษา | พ.ศ. 2540 — พ.ศ. 2542 | |
5. ผู้อำนวยการ สุธน คุ้มสลุด | พ.ศ. 2543 — พ.ศ. 2544 | |
6. ผู้อำนวยการ ณัฐกิจ บัวขม | พ.ศ. 2544 — พ.ศ. 2545 | |
7. ผู้อำนวยการ สุพล ทองดี | พ.ศ. 2546 — พ.ศ. 2548 | |
8. ผู้อำนวยการ เฉลิมชัย จันทรมิตรี | พ.ศ. 2548 — พ.ศ. 2551 | |
9. ผู้อำนวยการ บรรลือชัย ผิวสานต์ | พ.ศ. 2551 — พ.ศ. 2556 | |
10. ผู้อำนวยการ บุญฤทธิ์ รุ่งเรือง | พ.ศ. 2556 — พ.ศ. 2561 | |
11. ผู้อำนวยการ วรรณภา ทองสีไพล | พ.ศ. 2561 — พ.ศ. 2562 | |
12. ผู้อำนวยการ วีระ เจนชัย | พ.ศ. 2562 — พ.ศ. 2564 | |
13. ผู้อำนวยการ จันทร เที่ยงภักดิ์ | พ.ศ. 2564 — ปัจจุบัน |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์