ฉบับร่าง:โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"

โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา
"กรุงไทยอนุเคราะห์"

Thungsuklapittaya " Krungthai Anukroh " School

Thungsuklapittaya " Krungthai Anukroh " School
ที่ตั้ง
217 หมู่ 11 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230ไทย
โทรศัพท์ 038-354-345
โทรสาร 038-354-344
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.พ. - T.P.
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม นำประชาธิปไตย

สถาปนา30 สิงหาคม พ.ศ. 2519
ผู้ก่อตั้งพระครูสุกิจวิมล เจ้าอาวาสวัดเนินบุญญาราม (วัดต้นมะม่วง)
หน่วยงานกำกับสพฐ. กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1020080331
ผู้อำนวยการนางจันทร์ษา ชัยวัฒนธีรากร
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน- คน
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ห้องเรียน- ห้องเรียน อาคารเรียน - หลัง
พื้นที่36 ไร่ 2 งาน
สีส้ม   ดำ  
เพลงเพลงโรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา
เว็บไซต์http://www.thungsukla.ac.th Facebookโรงรียนทุ่งศุขลาพิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"
ดอกไม้ประจำโรงเรียน - ดอกราชพฤกษ์

โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์" - Thungsuklapittaya " Krungthai Anukroh" School เป็นโรงเรียนประจำตำบลทุ่งสุขลา พื้นที่สร้างบริเวณโรงเรียนเป็นไร่มันสำปะหลังติดกับวัดเนินบุญญาราม (วัดต้นมะม่วง) พระครูสุกิจวิมล เจ้าอาวาสวัดเนินบุญญาราม (วัดต้นมะม่วง) เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนตั้งอยู่ที่ 217 หมู่ 11 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สพฐ. กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติโรงเรียน

แก้

โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์" เป็นโรงเรียนประจำตำบลทุ่งสุขลา พื้นที่บริเวณสร้างโรงเรียนเป็นที่ดินไร่มันสำปะหลังอยู่ติดกับวัดเนินบุญญาราม (วัดต้นมะม่วง) พระครูสุกิจวิมล เจ้าอาวาสวัดเนินบุญญาราม (วัดต้นมะม่วง) ทางธนาคารกรุงไทย ได้ตกลง มอบที่ดินให้จำนวน 27 ไร่ 2 งาน ในราคาไร่ละ 5,000 บาท และขอบริจาค ที่ดินราชพัสดุในความดูแลของ สถานีโทรคมนาคมภาคพื้นดินผ่านดาวเทียม ศรีราชา อีก 1 ไร่ 3 งาน รวมทั้งสิ้น 36 ไร่ 2 งาน

โครงการก่อสร้างได้รับความอนุเคราะห์จาก โรงงานนํ้าตาลทรายศรีราชา พระราชธรรมกาณี (กิตติวุฒโท ภิกขุ) พระภิกษุสามเณร วัดเนินบุญญาราม ตลอดจนชาวบ้าน ใกล้เคียง ได้ช่วยกันสร้างโดยไม่คิดค่าแรงซึ่งมีพระสมุห์สิรินทร์(หลวงน้าจิ้ว) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจนสำเร็จเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2519

เปิดทำการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2519 จึงได้ถือเอาวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้
ลำดับ ภาพ ชื่อ - นามสกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 - นายระวี วิโนทพรรษ์
(ครูใหญ่ - อาจารย์ใหญ่)
พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2512 -
2 - นายกิมชวน เกษวัฒน
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2534 -
3 - นายวิชิต พันธุ์ประเสริฐ
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2535 -
4 - นายบวร มณีเนตร
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2539 -
5 - นายมนู ฉิมพิบูลย์
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540
6 - นางสาวสุพรรณี สมานญาติ
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541 -
7 - นายสำเนา บุญชู
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2542 -
8 - นายอนันต์ พระเดโช
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2543 (โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ)
9 - นายไพบูลย์ ไพรระหง
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2530 -
10 - นางสาวเฉิดเฉลา แก้วประเคน
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 -
11 - นายวรากร รื่นกมล
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2552 -
12 - นายโกศล ดาราพิสุทธิ์
(อาจารย์ใหญ่)
พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2557 -
13 - ว่าที่ร้อยเอก ดร.อาจินต์ จรูญผล
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2543 -
14 - นายณรงค์ กิตติวงค์ตระกูล
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2559 ปัจจุบัน -

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°06′12″N 100°56′11″E / 13.1034206°N 100.9365188°E / 13.1034206; 100.9365188