โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ในจังหวัดพิษณุโลก

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นจากวัตถุประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมุ่งมั่นจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของเยาวชนโดยเฉพาะเยาวชนที่อยู่ห่างไกล ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแผนและยุทธศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
Princess Chulabhorn Science High School Phitsanulok
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นจภ.พล. , จุฬาภรณ์ฯ พิษณุโลก / PCSHSPL
ประเภทโรงเรียนรัฐ
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538(29 ปี 80 วัน)
ผู้อำนวยการดร.วันชัย อยู่ตรง
สีสีน้ำเงิน-แสด
เพลงs:มาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย มาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
ต้นไม้แคแสด
เว็บไซต์http://www.pccpl.ac.th/

ประวัติ แก้

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำเขตการศึกษา 7 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2538 เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม การจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระองค์ ที่ทรงมุ่งมั่นส่งเสริมคุณถาพชีวิตของประชาราษฎร์ กรมสามัญศึกษา จึงได้ประกาศ จัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้งหมด 12 โรง ประจำเขตการศึกษาต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายสมพร ขุนพิลึก อาจารย์ใหญ่โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

ปีการศึกษา 2538 กรมสามัญศึกษา ประกาศจัดตังโรงเรียน และ แต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียน ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระสุหร่าย เจิมแผ่นศิลาฤกษ์ประทานให้แก่โรงเรียน และได้อัญเชิญมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ มณฑลสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนที่ ตำบลมะขามสูง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539

ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนรุ่นแรกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนทั้งสิ้น 140 คน เป็นนักเรียนไป-กลับทั้งหมด ใช้สถานที่ชั่วคราว ณ ชั้น 3 สำนักงานการประถมศึกษา อำเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน เนื่องจากสถานที่ตั้ง ณ ตำบลมะขามสูง อยู่ในระหว่างการก่อสร้างในเนื้อที่ 83 ไร่ 1 งาน

ปีการศึกษา 2540 รับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 จำนวนทั้งสิ้น 184 คน ซึ่งรวมกับนักเรียนที่มีอยู่เดิมจากปีการศึกษา 2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 324 คน ซึ่งเป็นนักเรียนประจำทั้งหมด โดยย้ายสถานที่เข้ามาอยู่ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ตำบลมะขามสูง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ที่มีอาคารสร้างแล้วเสร็จจำนวน 6 อาคาร ประกอบด้วยอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ อาคารหอประชุม อาคารหอนอน 3 ชั้น และ อาคารโรงฝึกงาน 3 หลังขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้าง อาคารเพิ่มเติมด้วยเงินงบประมาณปี 2540-2541 และกรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายสมพร ขุนพิลึก เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 692 คน ครูประจำการจำนวน 45 คน และนักการภารโรงอีก 1 คนผลสัมฤทธิ์จากการจัดการศึกษาตั้งแต่ปีแรกที่เปิดรับนักเรียน จนถึงปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครองนักเรียน ทำให้โรงเรียนได้จำนวนนักเรียนตามเป้าหมายทุกปีการศึกษา และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาออกไปในแต่ละปี สามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ได้ครบทุกคน

ปัจจุบัน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก มีจำนวนนักเรียนประมาณ 720 คน บุคลากร 105 คนโดยมีนายศักดา สินมา เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

ดังนั้น จุฬาภรณราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาขั้นสูงอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ โดยโรงเรียนได้ใช้พระนามเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา

  • ตราประจำโรงเรียน ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดย ประกอบด้วย อักษร จ และ ภ อยู่ภายใต้ชฎา โดย จภ มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ด้านล่างมีแพรแถบมีข้อความว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ได้แก่ ต้นแคแสด
  • สีประจำโรงเรียน ได้แก่ สีน้ำเงิน-แสด โดย
  • คติพจน์ประจำโรงเรียน ได้แก่ คุณธรรมนำวิชาการ
  • คำขวัญประจำโรงเรียน ได้แก่ รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ

หอพักภายในโรงเรียน แก้

  • หอพักชาย
    • หอพักจุลินทิรา เป็นหอพักนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
    • หอพักจุฬาพิลาส เป็นหอพักนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • หอพักหญิง
    • หอพักภรณ์คุณาศัย เป็นหอพักนักเรียนหญิงหอที่ 1
    • หอพักวลัยคุณาศักดิ์ เป็นหอพักนักเรียนหญิงหอที่ 2
    • หอพักลักษณานุสรณ์ เป็นหอพักนักเรียนหญิงหอที่ 3
  • หอพักต้อนรับแขก
    • หอพักจุฬาลักษณ์ เป็นหอพักที่สร้างขึ้นใหม่ล่าสุด สำหรับต้อนรับแขก หรือให้นักเรียนพักในกรณีที่จำเป็น

เขตพื้นที่บริการ แก้

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก มีพื้นที่บริการในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่

โรงเรียนในเครือข่าย แก้

ประเพณีสำคัญ แก้

  • งานราชพิธี
    • ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
    • ถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน
    • ถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
    • ถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ
  • ประเพณีภายใน
    • วันสถาปนาโรงเรียน - กิจกรรมภายในโรงเรียน ทำบุญโรงเรียน จัดนิทรรศการวิชาการ และงานเลี้ยงฉลองในภาคค่ำ
    • นิทรรศการผลงานวิชาการ - จัดแสดงและนำเสนอผลงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในภาคเรียนแรกจะเป็นกิจกรรมบูรณาการและภาคเรียนที่สองจะเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์
    • กีฬาสีภายใน - กิจกรรมนันทนาการจะจัดขึ้นในภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 สี อยู่ในความดูแลของรุ่นพี่ชั้น ม.5
    • ค่ายปรับสภาพ - กิจกรรมแรกสุดที่นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านก่อนที่จะเข้าเรียน เพื่อปรับสภาพและความเป็นอยู่ให้คุ้นเคยแต่ชีวิตนักเรียนประจำ ในภาคดึกของคืนวันที่สองจะมีกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ
    • กระเช้าศรีดา - กิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการแสดงออกด้านดนตรีลูกทุ่ง เพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นตัวแทนของโรงเรียน
  • ประเพณีในเครือข่าย
    • กีฬาสัมพันธ์กลุ่มจุฬาภรณ์ฯ - กิจกรรมกีฬาระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายโดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
    • PCC. TEST - กิจกรรมวิชาการระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายโดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
    • จุฬาภรณ์ฯสัมพันธ์ - กิจกรรมค่ายวิชาการวิทยาศาสตร์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น

แหล่งข้อมูลอื่น แก้