โรคผมร่วงเป็นหย่อม

อัลโลพีเชีย อารีอาตา (อังกฤษ: Alopecia areata) หรือ ผมร่วงเป็นหย่อม (อังกฤษ: spot baldness) เป็นอาการขนและผมร่วงเป็นบางจุดในร่างกาย[1] บ่อยครั้งทำให้เกิดหย่อมไม่มีผมบนหนังศีรษะเป็นหย่อม ๆ ขนาดประมาณเหรียญ[2] ความเครียดและการเจ็บป่วยอาจเพิ่มความเสี่ยง แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่พบตัวกระตุ้นใด ๆ เป็นพิเศษ[2] และผู้ป่วยโดยทั่วไปมักมีสุขภาพที่เี[2] ในบางกรณีอาจเกิดผมร่วงทั้งศีรษะ (alopecia totalis), หรือทั้งขนและผมร่วงทั้งร่างกาย (alopecia universalis) การร่วงของผมและขนอาจเป็นถาวรได้[2][1] ผมร่วงเป็นหย่อมนี้เป็นคนละโรคกันกับผมร่วงผลฮอร์โมนเพศชาย

ผมร่วงเป็นหย่อม
Alopecia Areata
ชื่ออื่นAlopecia Celsi, vitiligo capitis, Jonston's alopecia[1]
ผมร่วงเป็นหย่อมบนหนังศีรษะของผู้ป่วย
การออกเสียง
  • al-oh-PEE-shah ar-ee-AH-tah[2]
สาขาวิชาตจวิทยา
อาการขนและผมร่วง มักเป็นที่หนังศีรษะ[2]
การตั้งต้นเด็ก[2]
สาเหตุภูมิคุ้มกันตัวเอง[2]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว, ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคดึงผม, alopecia mucinosa, ผมร่วงหลังคลอด[1]
การรักษาครีมกันแดด, คลุมศีรษะไม่ให้สัมผัสความร้อนความเย็น[2]
ยาคอร์ทีโซน[1]
พยากรณ์โรคไม่ส่งผลต่อค่าการคาดหมายคงชีพ[2][1]
ความชุก~2% (สหรัฐ)[2]

เข้าใจกันว่าผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากโรคภูมิต้านตนเอง ที่ซึ่งรูขุมขนศูนย์เสียลักษณะพิเศษที่จะไม่ถูกโจมตีโดยระบบภูมิคุ้มกัน[3] ปัจจัยเสี่ยงรวมถึงประวัติครอบครัว[2] นอกจากนี้ยังพบว่าในแฝดเหมือน หากคนหนึ่งมีอาการนี้ คู่แฝดอาจมีความเสี่ยงเกิดโรคได้ 50%[2] กลไกเกิดโรคประกอบด้วยการที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่รับรู้ว่ารูขุมขนเป็นเซลล์ของร่างกาย และจึงโจมตีเซลล์เหล่านั้น[2]

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา[2] แต่อาจมีการฉีดคอร์ทีโซนเพื่อเร่งการเติบโตของเส้นผม[2][1] รวมถึงแนะนำให้ใช้สารกันแดด, การโพกปิดศีรษะจากความร้อนและความเย็น และในกรณีที่ขนตาร่วงก็แนะนำให้สวมแว่นตาด้วย[2] ในบางกรณีผมและขนสามารถงอกขึ้นใหม่ได้โดยสมบูรณ์และก็ไม่เกิดอาการซ้ำขึ้นอีก[2] และในบางรายอาจให้เวลาหลายปี[2] ส่วนในกรณีที่เสียผมและขนทั้งหมด มี 10% ที่จะมีผมและขนงอกขึ้นใหม่[4]

ความชุกของโรคอยู่ที่ 0.15% ถึง 2% ในสหรัฐ[2][4] ส่วนมากพบเริ่มมีอาการตั้งแต่เป็นเด็ก[2] และมีวคามชุกพอกันทั้งในเพศชายและหญิง[1] อาการนี้ไม่ส่งผลต่อการคาดหมายคงชีพ[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "Alopecia Areata - NORD (National Organization for Rare Disorders)". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 10 July 2017.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 Liaison, Ray Fleming, Office of Communications and Public (May 2016). "Questions and Answers About Alopecia Areata". NIAMS (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2017. สืบค้นเมื่อ 10 July 2017.
  3. Rajabi, F.; Drake, L.A.; Senna, M.M.; Rezaei, N. (2018). "Alopecia areata: A review of disease pathogenesis". British Journal of Dermatology. 179 (5): 1033–1048. doi:10.1111/bjd.16808. PMID 29791718. S2CID 43940520.
  4. 4.0 4.1 Beigi, Pooya Khan Mohammad (2018). Alopecia Areata: A Clinician's Guide (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 14. ISBN 9783319721347.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก