โปเกมอน ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ファイアレッド・リーフグリーンโรมาจิPoketto Monsutā Faiareddo & Rīfugurīn) หรือในชื่อภาษาอังกฤษ โปเกมอน ไฟร์เรดเวอร์ชัน และ ลีฟกรีนเวอร์ชัน (อังกฤษ: Pokémon FireRed Version and LeafGreen Version) เป็นเกมภาคทำใหม่จากวิดีโอเกมโปเกมอน เรด และ กรีน ถูกผลิตสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก จำหน่ายโดยบริษัท โปเกมอน จำกัดและนินเท็นโด โดยมี 2 เวอร์ชันหลักคือ "พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ไฟร์เรด" (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ファイアレッドโรมาจิPoketto Monsutā Faiareddo) และ "พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ลีฟกรีน" (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター リーフグリーンโรมาจิPoketto Monsutā Rīfugurīn) วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 และได้วางจำหน่ายในแถบทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปในเดือนกันยายนและตุลาคม ตามลำดับ

โปเกมอน ไฟร์เรด
โปเกมอน ลีฟกรีน
กล่องเกมจำหน่ายในอเมริกาเหนือของภาคลีฟกรีน แสดงภาพโปเกมอน ฟุชิงิบานะ ภาพกล่องเกมภาคไฟร์เรดแสดงภาพโปเกมอน ลิซาร์ดอน
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท โปเกมอน จำกัด
นินเท็นโด
กำกับจุนอิจิ มาสึดะ
ซาโตชิ ทาจิริ
อำนวยการผลิตฮิโรยูกิ จินไน
ทาเกฮิโระ อิซูชิ
ฮิโรอากิ ทสึรุ
ศิลปินเค็น ซุงิโมริ
เขียนบทฮิโตมิ ซาโต้
ซาโตชิ ทาจิริ
แต่งเพลงโก อิจิโนเซะ
จุนอิจิ มาสึดะ
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์
วางจำหน่าย
  • JP: 29 มกราคม 2547[1]
  • NA: 7 กันยายน 2547[1]
  • AU: 23 กันยายน 2547
  • EU: 1 ตุลาคม 2547[1]
แนววิดีโอเกมเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน

ประวัติ แก้

"พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ไฟร์เรด" และ "ลีฟกรีน" เป็นเกมชุดของโปเกมอนที่ได้นำ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ จากแพล็ตฟอร์มเกมบอยมาทำใหม่เพื่อสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ และสามารถใช้กับอุปกรณ์เกมบอยอัดวานซ์ไวร์เลสส์อะแดปเตอร์

"ไฟร์เรด" และ "ลีฟกรีน" เป็นหนึ่งในเกมแนวสวมบทบาทจาก โปเกมอน ผู้เล่นควบคุมตัวละครผู้เล่นจากมุมมองเหนือศีรษะ และต่อสู้แบบเทิร์นเบสเช่นเดียวกับภาคแรก อย่างไรก็ตาม มีคุณสมบัติใหม่ เช่น เมนูช่วยเหลือ และภูมิภาคใหม่เพิ่มเข้ามา ตลอดทั้งเกม ผู้เล่นจับและเลี้ยงดูโปเกมอนเพื่อใช้ต่อสู้ นอกจากนี้สามารถเลือกตัวละครผู้เล่นตามเพศได้ซึ่งแตกต่างจากรุ่นเดิม และสามารถแลกเปลี่ยนโปเกมอนจากเกมเดียวกันอย่าง "โปเกมอน รูบี้ / แซฟไฟร์ / เอเมอรัลด์" ได้

ในส่วนระบบพื้นฐานนั้นใช้ระบบจาก รูบี้ และ แซฟไฟร์ ในขณะที่มีจุดต่างๆ เช่น การเพิ่มองค์ประกอบใหม่และการเพิ่มบรรทัดและการแก้ไขเล็กน้อย สถานการณ์ ข้อความรวมถึงบรรทัด ประเภทของโปเกมอนที่ใช้โดยเทรนเนอร์ โปเกมอนที่ปรากฏตัวขึ้น โครงสร้างของแผนที่เกือบจะเหมือนกัน และใช้เนื้อหาตรงกับต้นฉบับ "สีแดงและสีเขียว" เป็นหลัก นอกจากนี้ได้เพิ่มแอเรียใหม่ชื่อว่า "นานาชิมะ" ซึ่งเคยปรากฏใน "โกลด์ และ ซิลเวอร์" มาแล้ว

ในส่วนของโปเกมอนของเกมจาก GBA ได้ถูกบันทึกไว้ถึง 386 ชนิด ซึ่งในเกมนี้มีให้จับถึง 151 ชนิด โดยมีสมุดภาพภูมิภาคเฉพาะตัวเรียกว่า สมุดภาพคันโต (カントー図鑑, Kanto Dex) ซึ่งแตกต่างจากเกมเวอร์ชันดั้งเดิม แดง และ เขียว ที่บันทึกข้อมูลโปเกมอนเพียงแค่ 150 ชนิด (โดยมิวนับเป็นโปเกมอนมายาที่สามารถรับงานงานแคมเปญ) นอกจากนี้ยังมีโปเกมอนที่มาจาก "โกลด์ และ ซิลเวอร์" ที่ปรากฏในเกมด้วยกันถึง 61 ชนิดจาก 100 ชนิด รวมทั้ง โซนาโนะ ได้ปรากฏตัวในเกมเป็นครั้งแรก ทำให้รวมโปเกมอนที่ปรากฏถึง 212 ชนิดด้วยกัน

รูปแบบการเล่น แก้

ระบบเกมมีพื้นฐานมาจาก "รูบี้ และ แซฟไฟร์"

ระบบเพิ่มเติม แก้

  • ระบบของเกมมีฟังก์ชันในการช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นในเกมนี้ สามารถตรวจสอบได้ทั้งเวลาระหว่างเกมที่เล่น, มีไอเท็มหลากหลาย เช่น วิธีการใช้งาน, สิ่งที่ต้องทำในตอนนี้ และมีข้อมูลความเข้ากันได้กับประเภทของโปเกมอน
  • ตัวเกมสามารถเล่นต่อเนื่องได้ โดยไม่ต้องเริ่มเกมใหม่และเพิ่มเนื้อหาเกมหลังจากเกมจบรอบแรก
  • สามารถเชื่อมสื่อสารผ่านไปยัง ไวร์เลสอะแด็ปเตอร์ ทำให้สามารถสื่อสารได้แม้ในระยะห่างหลายสิบเมตรหากไม่มีสิ่งกีดขวาง นอกจากนี้ยังมีมินิเกมบางเกมที่สามารถเล่นแบบไร้สายได้
  • มีเทรนเนอร์ทาวเวอร์แบบ "รูบี้ และ แซฟไฟร์" และในเทรนเนอร์ทาวเวอร์ สามารถใช้ การ์ด e-รีดเดอร์+ดาต้าการ์ด เพื่อต่อสู้กับโปเกมอนเทรนเนอร์ที่บันทึกในการ์ดที่ใช้ไว้ได้
  • ตัวเอกสามารถเล่นตัวละครหญิง ที่นอกเหนือจาก "สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู" ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้"คริสตัลเวอร์ชัน" ได้ถูกใช้ครั้งแรกให้มีตัวละครหญิงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
  • หลังจากเคลียร์เกมรอบแรก จะมีเนื้อหาเพิ่มเติมหลังจากจบเกมรอบแรก โดยได้ให้ไปสถานที่ใหม่ชื่อว่าเกาะนานาชิมะ"
  • รูปไอเท็มในเกมถูกใช้ครั้งแรกในเกมนี้

จุดสำคัญ แก้

  • ไม่มีฟังก์ชันส่วนเวลา และ ไม่จำเป็นต้องให้แบตเตอรี่หมดหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่
    • เมื่อไม่มีฟังก์ชันเวลานาฬิกา ทำให้ไม่มีใช้พัฒนาร่างของอีวุย ให้เป็น เอฟี่ หรือ แบล็คกี้ ในเกมแต่มีวิธีอื่นโดยนำอีวุยไปยังเกม "รูบี้ / แซฟไฟร์ / เอเมอรัลด์" หรือ "โปเกมอน XD วายุแห่งความมืด ดาร์ค ลูเกีย" เพื่อพัฒนาร่างดังกล่าวแล้วส่งกลับมาในเกมอีกครั้ง
    • ไม่สามารถปลูก "ต้นผลไม้" ได้ แม้ว่าจะมีปรากฏให้หยิบเอามาก็ตาม แต่สามารถรับเพิ่มอีกครั้งได้ในวันเวลาที่เล่น
    • โปเกรุสที่รักษาเมื่อเวลาผ่านไปไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สำหรับเกมนี้ แต่มีผลข้างเคียงคือค่าประสบการณ์จากการต่อสู้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ผลตอบรับ แก้

โปเกมอน ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน ได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกเป็นส่วนใหญ่ โดยได้คะแนนสะสมบนเมตาคริติกอยู่ที่ 81% นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ให้คำชื่นชมในแง่ที่ว่าเกมยังคงรูปแบบการเล่นดั้งเดิมเอาไว้ได้พร้อมๆ กับที่สามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้ การตอบรับด้านงานภาพและเสียงไปในทางก้ำกึ่ง โดยผู้วิจารณ์บางคนตำหนิว่าเรียบง่ายเกินไปและไม่มีการพัฒนาเมื่อเทียบกับเกมอื่นในซีรีส์ที่วางจำหน่ายไปก่อนหน้านี้อย่าง "รูบี้ และ แซฟไฟร์" อย่างไรก็ตาม ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน ก็ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย โดยขายได้ทั่วโลกประมาณ 12 ล้านชุด

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Pokemon FireRed Version for Game Boy". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.