นวดารา

(เปลี่ยนทางจาก โนวา)

นวดารา หรือเรียกทับศัพท์ว่า โนวา (อังกฤษ: Nova) คือการระเบิดของนิวเคลียร์อย่างรุนแรงที่เกิดจากการสะสมมวลของไฮโดรเจนสู่พื้นผิวของดาวแคระขาว ซึ่งทำให้เกิดการจุดระเบิดและเกิดนิวเคลียร์ฟิวชันในภาวะความร้อนเฉียบพลัน โปรดอย่าสับสนกับมหานวดารา (ซูเปอร์โนวา) หรือโนวาเปล่งแสงแดง

ภาพในจินตนาการของดาวแคระขาวกำลังดึงไฮโดรเจนจากคู่ของมัน

การเจริญเติบโต

แก้

ถ้าดาวแคระขาวมีคู่ที่อยู่ใกล้มันมากเกินไปหรือเกยเข้ามาในขอบเขตรอชของมัน ดาวแคระขาวก็จะเริ่มดึงมวลจากคู่ของมันแล้ว คู่ของมันอาจเป็นดาวในแถบลำดับหลักหรือเป็นดาวอายุมากที่ใกล้สิ้นสุดอายุขัยและกำลังกลายเป็นดาวยักษ์แดงก็ได้ ก๊าซที่ถูกดึงมาส่วนใหญ่ประกอบไบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งเป็น 2 ธาตุหลักในส่วนประกอบสสารธรรมดาในจักรวาล ก๊าซที่ถูกดูดมาถูกอัดแน่นบนพื้นผิวของดาวแคระขาวโดยแรงโน้มถ่วงที่รุนแรงของมัน สสารที่ดาวแคระขาวดูดมาถูกบีบอัดและเพิ่มความร้อนจนอุณหภูมิสูงมากในขณะที่สสารกำลังถูกดูดออกมาจากดาวอย่างต่อเนื่อง ดาวแคระขาวประกอบไปด้วยสสารสถานะเสื่อม และจึงไม่พองตัวเมื่อความร้อนเพิ่มในขณะที่ไฮโดรเจนที่ถูกดูดมาถูกบีบอัดบนพื้นผิวของดาว การที่ต้องพึ่งแรงอัดและอุณหภุมิในอัตราความเร็วไฮโดรเจนฟิวชันหมายความว่าเมื่อมีการบีบอัดและความร้อนที่พื้นผิวดาวแคระขาวกับอุณหภูมิประมาณ 20 ล้านเคลวินว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเกิดขึ้น และอุณหภูมินี้สามารถถูกเผาไหม้ผ่านวงจรซีเอ็นโอ

การใช้วัดระยะห่าง

แก้
 
นวดาราแม่น้ำ 2009 (ความส่องสว่างปรากฏประมาณ +8.4) ในคืนเดือนเพ็ญ

นวดาราสามารถใช้เป็นเครื่องวัดเทียนมาตรฐานได้ ตัวอย่างเช่นการแจกจ่ายของความส่องสว่างสัมบูรณ์เป็นแบบทวิฐานนิยม กับความส่องสว่างสูงสุดโดยปกติอยู่ระหว่าง −7.5 ถึง −8.8 โดยปกติแล้ว นวดาราจะมีความส่องสว่างสัมบูรณ์คงเดิมอยู่ประมาณ 15 วันหลังจากความส่องสว่างสูงสุด (−5.5)

นวดาราซ้ำ

แก้

มีการค้นพบ นวดาราซ้ำ (อังกฤษ: Recurrent nova) ที่อยู่ในดาราจักร อยู่ประมาณ 10 แห่ง[1]นวดาราซ้ำปกติจะมีความส่องสว่างปรากฏ +8.6 ในขณะที่นวดาราปกติจะมีความส่องสว่างปรากฏประมาณ +12[1] มีนวดาราซ้ำอยู่บางแห่งมีชื่อเสียงและสามารถสังเกตได้ง่ายกว่า ดังนี้

ชื่อ ความส่องสว่างปรากฏ จำนวนวัน
ที่ความส่องสว่างปรากฏ
ตก 3 หลัก
จากจุดสว่างสุด
ปีที่เปล่งแสง
อาร์เอส คนแบกงู +4.8 – +11 14 วัน พ.ศ. 2501, พ.ศ. 2510, พ.ศ. 2528, พ.ศ. 2549
ที มงกุฎเหนือ +2.5 – +10.8 6 วัน พ.ศ. 2409, พ.ศ. 2489
ที เข็มทิศ +6.4 – +15.5 62 วัน พ.ศ. 2445, พ.ศ. 2463, พ.ศ. 2487, พ.ศ. 2510, พ.ศ. 2554
ยู แมงป่อง +7.5 – +17.6 2.6 วัน พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2530, พ.ศ. 2542, พ.ศ. 2553

นวดารานอกดาราจักรทางช้างเผือก

แก้

นวดาราในดาราจักรแอนดรอเมดาเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยมาก (ประมาณ 24 ครั้งต่อปี) นวดาราเหล่านี้มีความส่องสว่างสว่างกว่า +20 เล็กน้อย นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบนวดาราในดาราจักรอื่น ๆ เช่นในดาราจักรสามเหลี่ยมและดาราจักรเมซีเย 83 อีกด้วย[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Schaefer, Bradley E. (2009). "Comprehensive Photometric Histories of All Known Galactic Recurrent Novae": 1–273. arXiv:0912.4426. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. "Extragalactic Novae". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-08. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.