"โนรัชเชียน" (อังกฤษ: No Russian) เป็นด่านหนึ่งในวิดีโอเกมปี 2009 คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 และเวอร์ชันผลิตใหม่ คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 แคมเปญรีมาสเตอร์ ซึ่งเป็นที่พูดคุยและถกเถียง ในด่าน ผู้เล่นจะมีส่วนร่วมในการกราดยิงหมู่ภายในท่าอากาศยานสมมุติแห่งหนึ่งในมอสโก ประเทศรัสเซีย ด่าน "โนรัชเชียน" ถือเป็นด่านที่มีภาพไม่น่าอภิรมย์มากกว่าด่านอื่น ๆ ในเกมอย่างเห็นได้ชัด ผู้เล่นจะไม่ถูกบังคับให้ยิงใครเลย ยกเว้นเพียงเจ้าหน้าที่เอฟเอสบีขณะกำลังหลบหนีออกจากท่าอากาศยาน ซึ่งหากไม่ทำจะไม่ผ่านด่าน นอกจากนี้ ผู้เล่นสามารถเลือกข้ามด่านนี้ไปได้โดยสิ้นเชิงหากรู้สึกไม่สบายใจกับการเล่นโดยไม่ถูกลงโทษใด ๆ ในเกม พล็อตเรื่องของ "โนรัชเชียน" เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ซีไอเอ โจเซฟ ออลเลน (Joseph Allen) ซึ่งปลอมตัวมาเพื่อพยายามทำภารกิจที่จะได้รับความไว้วางใจโดยผู้ก่อการร้ายชาวรัสเซีย วลาดีมีร์ มาคารอฟ (Vladimir Makarov)

โนรัชเชียน
เกมเพลย์ในมิชชั่น "โนรัชเชียน" ซึ่งผู้เล่นสามารถ (แต่ไม่ได้บังคับต้อง) กราดยิงผู้บริสุทธิ์ในท่าอากาศยานแห่งหนึ่งของรัสเซีย
ปรากฏครั้งแรกคอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 (2009)
ปรากฏครั้งสุดท้ายคอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 แคมเปญรีมาสเตอร์ (2020)
สร้างสรรค์โดยโมฮัมมัด อะลาวี
ชนิดเกมยิงบุคคลที่หนึ่ง
ข้อมูลเบื้องต้น
ที่ตั้งท่าอากาศยานนานาชาติซาฮาเยฟ มอสโก
ตัวละครสำคัญโจเซฟ ออลเลน (หรือ อะเลคเซย์ โบโรดิน), วลาดีมีร์ มาคารอฟ

ด่าน "โนรัชเชียน" กลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างรุนแรงเนื่องจากเกมเพลย์อนุญาตให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมโดยตรงในการก่อการร้ายโดยการฆาตกรรมหมู่ นักข่าวบรรยายพล็อตของด่านนี้ว่าไม่เป็นเหตุเป็นผลและจะดูถูกหากกดข้ามการเล่นด่านนี้ และเนื่องจากเนื้อหาที่ไม่น่าอภิรมย์ของด่านนี้ ทำให้ด่านนี้ถูกพิจารณาห้ามจำหน่ายในระดับนานาชาติ และเกมนี้ทั้งหมดจากประเทศรัสเซีย

เนื้อหาของด่าน แก้

"โนรัชเชียน" เป็นด่านที่สี่ของเกม คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 ในโหมดผู้เล่นคนเดียว[1] ในด่าน ผู้เล่นสวมบทของ โจเซฟ ออลเลน (Joseph Allen) ทหารเฟิร์สท์คลาสอาร์มีแรนเจอร์ซึ่งรับหน้าที่เป็นซีไอเอปลอมตัว ที่ซึ่งในด่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรับภารกิจจากผู้พันเชพเพิร์ด (General Shepherd) ให้สวมรอยและลอบเข้าเก็บข้อมูลผ่านการได้รับความไว้ใจจากกลุ่มก่อการร้ายชาวรัสเซียที่นำโดย วลาดีมีร์ มาคารอฟ (Vladimir Makarov)[2][3] ซึ่งในการสร้างความไว้ใจ ผู้เล่นจะต้องก่อการกราดยิงหมู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซาฮาเยฟ (Zakhaev International Airport) ในมอสโก[4] "โนรัชเชียน" เริ่มต้นด่านโดยผู้เล่นออกจากลิฟต์พร้อมกับมาคารอฟ และมือปืนอีกสามคน (วิคตอร์; Viktor, เลฟ; Lev และ คีริลล์; Kiril) ผู้ต่อมาทำการกราดยิงไปยังฝูงชนขนาดใหญ่ที่จุดตรวจรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยาน[5][3] จากนั้นผู้เล่นและมือปืนเดินผ่านกองซากศพที่ถูกยิงและไล่ยิงให้มั่นใจว่าทุกรายเสียชีวิตหมด[3] "โนรัชเชียน" มีลักษณะที่ไม่น่าอภิรมย์อย่างมากเมื่อเทียบกับด่านอื่น ๆ โดยเฉพาะจากเสียงกรีดร้องของผู้บริสุทธิ์ รวมถึงฉากการหนีตาย และเลือดที่กระจายไปทั่ว[6][7][8]

ในด่านนี้ ผู้เล่นไม่ได้ถูกบังคับให้ยิงผู้บริสุทธิ์ แต่จะต้องเดินผ่านท่าอากาศยานไปตามเหตุกราดยิงที่เกิดขึ้น[9] ตัวเกมเองไม่ได้สนับสนุนให้ผู้เล่นทำการยิงผู้บริสุทธิ์ และตัวละครมือปืนในฉากก็ไม่ได้แสดงอาการอะไรหากผู้เล่นไม่ยิงผู้บริสุทธิ์[10] ผู้เล่นสามารถยิงมือปืนได้ แต่พวกเขาจะตอบโต้ ทำให้ผู้เล่นทำภารกิจล้มเหลวและเริ่มต้นใหม่อีกครั้งที่เช็คพอยท์ล่าสุด[10] หลังออกจากท่าอากาศยานได้ ผู้เล่นจะต้องยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่เอฟเอสบี[1] ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องถูกสังหารจึงจะผ่านด่านได้[11]

ตอนจบด่าน มาคารอฟฆ่าออลเลน (ซึ่งผู้เล่นสวมบทอยู่) โดยการยิงเข้าที่หน้าอกนัดเดียวด้วยปืน M92SB ก่อนที่เขาและมือปืนจะขึ้นรถออกไป นอกจากนี้มาคารอฟยังบอกอีกว่าเขารู้แต่แรกแล้วว่าออลเลนเป็นคนอเมริกันที่ปลอมตัวแอบแฝงเข้ามา แต่เป้าหมายของเขาคือเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัสเซียพบว่าผู้ก่อเหตุนี้เป็นคนอเมริกัน และจะ ประกาศสงครามต่อสหรัฐ[3] ฉากของด่านตัดจบที่รถของมาราคอฟขับออกไปและเจ้าหน้าที่เอฟเอสบีพบตัวออลเลนซึ่งกำลังเลือดไหลอย่างสาหัส ฉากค่อย ๆ จางสีดำขึ้นพร้อมเสียงของมาราคอฟพูดว่า “The American thought he could deceive us. When they find that body... all of Russia will cry for war.” (คนอเมริกันคิดว่าจะหลอกเราได้ แต่เมื่อพวกเขาพบศพนั้น... รัสเซียทั้งประเทศจะร่ำร้องให้ก่อสงคราม)[12]

ก่อนจะเริ่มเล่นในโหมดผู้เล่นเดี่ยว ในเกมจะปรากฏข้อความเตือนว่าผู้เล่นสามารถเลือกข้ามด่านนี้ได้หากรู้สึกว่าเนื้อหา "ไม่น่าอภิรมย์หรือไม่น่าพอใจ" และต่อให้เลือกข้ามด่านนี้ ผู้เล่นก็จะไม่สูญเสียรางวัลความสำเร็จใด ๆ และไม่ถูกลงโทษในเกม[9]

การตอบรับในระยะแรก แก้

ก่อนที่เกม คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 จะถูกปล่อย ได้มีฟุตเทจจากด่าน "โนรัชเชียน" รั่วไหลอยู่บนอินเทอร์เน็ตอย่างผิดกฎหมาย แอ็กทิวิชันซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายได้ยืนยันอย่างรวดเร็วว่ามีด่านนี้อยู่และให้ความกระจ่างเกี่ยวกับบทบาทของด่านนี้ในเกม[13] ในแถลงการณ์ผ่านทางอีเมล โดยแอ็กทิวิชันระบุว่าด่านนี้ "ไม่อาจเป็นตัวแทนของเกมเพลย์โดยรวมของเกม มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 ได้" วิดีโอกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วท่ามกลางสื่อทั้งสื่อสายวิดีโอเกมและสื่อกระแสหลักอย่าง เอพี และ เดอะการ์เดียน[13][14] นักข่าวระบุความความแพร่หลายของความนิยมในวิดีโอที่หลุดออกมานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางวัฒนธรรมที่เกมนี้มี[13][15]

ในขณะที่ คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ดีเมื่อเกมปล่อยครั้งแรก[16] นักข่าวจำนวนมากได้ตำหนิเนื้อหาของด่าน "โนรัชเชียน" มาร์ก ซีสแลค (Marc Cieslak) จาก บีบีซีนิวส์ ระบุว่าเขาเสียใจอย่างมากจากด่านดังกล่าว เนื่องจากด่านนี้เป็นการแสดงให้เห็นความเข้าใจของเขาต่ออุตสาหกรรมวิดีโอเกมว่าได้โตขึ้นแล้ว ("grown-up") พังทลายลง[17] ร็อก เพเพอร์ ช็อตกัน โดย คีรอน กิลเลน วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อด่านนี้ว่าไม่สามารถทำออกมาให้ได้เท่าความคาดหวัง เขาพบว่าพล็อตของด่านนั้นไม่สมเหตุสมผล และวิจารณ์ว่าการกดข้ามนั้นแสดงออกมาในรูปแบบศิลปะที่ให้ความรู้สึกน่าสงสารจนต้องหัวเราะออกมา ("laughably pathetic") ก่อนจะสรุปรวมด่านนี้ว่า น่าตกใจและโง่ ("dumb shock")[11]

การพิจารณาห้ามจำหน่าย แก้

เนื้อหาที่ไม่น่าอภิรมย์ในด่าน "โนรัชเชียน" ทำให้รูปแบบนานาชาติของ รางวัลความสำเร็จ บางส่วนถูกตรวจพิจารณา[18] แอ็คทิวิชันนำด่านนี้ออกทั้งด่านในเกมฉบับรัสเซีย ซึ่งทำไปเนื่องจากรัสเซียไม่มีระบบเรตเกมที่เป็นระเบียบนัก[19] ในขณะที่มีรายงานบางส่วนเข้าใจผิดและรายงานว่าผลิตภัณฑ์ของเกมถูกเรียกคืนโดยสิ้นเชิงในรัสเซีย[20][21] ในฉบับญี่ปุ่นและเยอรมนี ด่านนี้ถูกแก้ไขให้แสดงหน้าจอเกมโอเวอร์ หากผู้เล่นสังหารผู้บริสุทธิ์ในด่าน[22] รวมถึงเปลี่ยนบทพูดตอนเปิดของมาราคอฟจาก "Remember, no Russian" (จำไว้นะ ห้ามมี[พูดภาษา]รัสเซีย) เป็น "Kill them; they are Russians" (ฆ่าพวกมัน [เพราะ]พวกมันเป็นคนรัสเซีย)[23]

ฉบับที่ไม่มีการนำฉากนี้ออกได้รับเรตเกมที่สูงกว่า เช่นเรต M โดยคณะกรรมการจัดเรตสื่อซอฟต์แวร์บันเทิงในโซนอเมริกาเหนือ และ เซอร์ทิฟิเคท 18 โดยคณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักร[6] คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ 2 เป็นเกมแรกในชุดคอลล์ออฟดิวตีที่ได้รับเรต 18 จากสหราชอาณาจักร ที่ซึ่งคณะกรรมการจัดประเภทภาพยนตร์ระบุไว้ว่าเป็นมาจากด่าน "โนรัชเชียน" โดยเฉพาะ[24][25]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Marcus, Phillip; Hunsinger, Rich; Evans, Jordan; Bardecki, Ian; Terpening, Ammon; Toney, Jon (2009). Call of Duty: Modern Warfare 2. BradyGames. p. 30. ISBN 978-0-7440-1164-7.
  2. https://www.youtube.com/watch?v=PydmzNlHfYk
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Payne, Matthew (April 2016). "The First-Personal Shooter". Playing War: Military Video Games After 9/11. New York University Press. pp. 80–84. ISBN 9781479805228.
  4. Peckham, Matt (November 16, 2009). "Modern Warfare 2's Misunderstood Terrorist Level". PC World. p. 1. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  5. https://www.youtube.com/watch?v=PydmzNlHfYk
  6. 6.0 6.1 Peckham, Matt (November 2, 2009). "Is Call of Duty Modern Warfare 2 Terrorist Gameplay Artful?". PC World. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  7. "Call of Duty: Modern Warfare 2". Entertainment Software Rating Board. n.d. สืบค้นเมื่อ August 1, 2020.
  8. https://www.youtube.com/watch?v=PydmzNlHfYk
  9. 9.0 9.1 Klepek, Patrick (October 23, 2015). "That Time Call of Duty Let You Shoot Up An Airport". Kotaku. Univision Communications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-12. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  10. 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PC World 2
  11. 11.0 11.1 Gillen, Kieron (November 19, 2009). "Wot I Think: About That Level". Rock, Paper, Shotgun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  12. https://www.youtube.com/watch?v=PydmzNlHfYk
  13. 13.0 13.1 13.2 Thorsen, Tor (October 29, 2009). "Modern Warfare 2 massacre 'not representative of overall experience' - Activision". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-20. สืบค้นเมื่อ October 8, 2018.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Guardian
  15. Kesten, Lou; Pearson, Ryan (October 28, 2009). "Leaked video game footage shows terrorist attack". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2009. สืบค้นเมื่อ October 8, 2018.
  16. "Call of Duty: Modern Warfare 2". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-03. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  17. Orry, James (November 10, 2009). "BBC reporter 'saddened' but not 'shocked' by MW2". VideoGamer.com. Candy Banana. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USGamer
  19. Welsh, Oli (November 17, 2009). "Activision chose to censor Russian MW2". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  20. Takahashi, Dean (November 16, 2009). "Updated: Modern Warfare 2 banned in Russia due to civilian massacre scene". VentureBeat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-04. สืบค้นเมื่อ January 20, 2019.
  21. Welsh, Oli (November 17, 2009). "Modern Warfare 2 recalled in Russia?". Eurogamer. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020.
  22. Ashcraft, Brian (December 9, 2009). "Modern Warfare 2 Censored In Japan". Kotaku. Univision Communications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-23. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  23. Watts, Steve (December 2, 2009). "Modern Warfare 2 Japanese Localization Misses the Point". 1UP.com. UGO Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2016. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ COD Legacy
  25. "Modern Warfare 2". British Board of Film Classification. October 31, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-16. สืบค้นเมื่อ May 26, 2018.