โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์
โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (ญี่ปุ่น: 乃木坂46; โรมาจิ: Nogizaka Fōtīshikkusu, อังกฤษ: Nogizaka46) เป็นกลุ่มไอดอลหญิงญี่ปุ่น ก่อตั้งโดยยาซุชิ อากิโมโตะ โดยสร้างขึ้นเป็นคู่แข่งอย่างเป็นทางการของเอเคบีโฟร์ตีเอต และเป็นไอดอลกลุ่มแรกของซากามิจิซีรีส์ ซึ่งรวมไปถึงวงน้องสาวอย่างเคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ โยชิโมโตะซากะโฟร์ตีซิกซ์ และ ฮินาตะซากะโฟร์ตีซิกซ์
โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์ของโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
แนวเพลง | เจป็อป |
ช่วงปี | พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | โซนี่เรคอร์ด/N46Div |
สมาชิก | ดูที่หัวข้อสมาชิกปัจจุบัน |
อดีตสมาชิก | ดูที่หัวข้อสมาชิกที่จบการศึกษาแล้ว |
เว็บไซต์ | www |
ผลงานเพลงของวงประกอบไปด้วยซิงเกิล 24 ซิงเกิล และ อัลบั้มรวมเพลง 5 อัลบั้ม แต่ละซิงเกิลของโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ตั้งแต่ซิงเกิลที่สามเป็นต้นไป ได้ติดอันดับสูงสุดบนชาร์ตประจำสัปดาห์ของออริคอน และมียอดขายอย่างน้อยมากกว่าหนึ่งล้านแผ่นตั้งแต่ซิงเกิล "Influencer" เป็นต้นไป นอกจากนี้ทางวงยังมีรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ ละครเวที และภาพยนตร์ เช่น NOGIBINGO!, Hatsumori Bemars, Nogizaka Under Construction, Asahinagu และภาพยนตร์สารคดีของวงอีกจำนวนมาก
โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้รับรางวัลแกรนด์พริกซ์จากงานประกาศรางวัลประจำปี เจแปนเรคอร์ดอะวอดส์ด้วยเพลง "Influencer" (2560) และ "Synchronicity" (2561) ติดต่อกันสองสมัย และวงมียอดขายซีดีรวมกว่า 18 ล้านแผ่นในประเทศญี่ปุ่น
ประวัติ
แก้2554-2555: การก่อตั้งวงและช่วงก่อนประสบความสำเร็จ
แก้การตั้งวงโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ถูกประกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 โดยเป็นไอดอลวงแรกที่ได้รับระบุว่าเป็น "คู่แข่งอย่างเป็นทางการ" (公式ライバル, kōshiki raibaru) ของเอเคบีโฟร์ตีเอต โดยแตกต่างจากไอดอลวงน้องสาวของเอเคบีโฟร์ตีเอต อย่างเอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต และเอสเคอีโฟร์ตีเอต ชื่อวงตั้งจากสถานีโนกิซากะ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของสำนักงานของโซนี่มิวสิกเจแปน ยาซุชิ อากิโมโตะ โปรดิวเซอร์ของวงยังได้กล่าวอีกว่า เลข "46" นั้นได้รับเลือกให้เป็นความท้าทายกับเอเคบีโฟร์ตีเอตโดยตรง โดยสื่อถึงความหมายที่ว่า โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์จะประสบความด้วยจำนวนสมาชิกที่น้อยกว่า[1] เพื่อให้มีความแตกต่างจากวงไอดอลของเอเคบีโฟร์ตีเอตและวงน้องสาว ภาพลักษณ์ของโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์นั้นมีพื้นฐานมาจากโรงเรียนประจำหญิงล้วนของประเทศฝรั่งเศสในความคิดของชาวญี่ปุ่น ซึ่งสื่อถึงความหมายโดยนัยถึงสง่างามและงดงาม (elegant and refined)[2]
การคัดเลือกรอบสุดท้ายของวงจัดขึ้นในวันที่ 20-21 สิงหาคม ได้คัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย 56 คนเหลือ 36 คน จากผู้เข้าร่วมคัดเลือกทั้งหมด 38,934 คน และยังมีการประกาศว่าจะมีสมาชิก 16 คนจะเป็น "เซ็มบัตสึ" สำหรับในการขึ้นแสดงเพลงและการออกสื่อต่าง ๆ[3] ในวันที่ 2 ตุลาคม 2554 วงได้มีรายการวาไรตี้โชว์รายการแรกชื่อ Nogizakatte, Doko? (乃木坂って、どこ?, แปลว่า โนกิซากะอยู่ที่ไหน) และดำเนินรายการโดยนักแสดงตลกคู่หู บานานาแมน[3][4]
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้ปล่อยซิงเกิลเปิดตัว "Guruguru Curtain" (ぐるぐるカーテン) โดยติดอันดับที่สองในชาร์ตออริคอนและมียอดขาย 136,309 แผ่นในสัปดาห์แรก[5] และซิงเกิลที่สอง "Oide Shampoo" (おいでシャンプー) ได้ปล่อยในวันที่ 2 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน และกลายเป็นซิงเกิลแรกของวงที่ติดอันดับที่หนึ่งของชาร์ตประจำสัปดาห์ออริคอนด้วยยอดขาย 156,000 แผ่น[6] ท่าเต้นของเพลง "Oide Shampoo" ทำให้เกิดข้อโต้เถียงในช่วงเวลาหนึ่ง เนื่องจากนักวิจารณ์ไม่เห็นด้วยที่กับการที่สมาชิกยกกระโปรงขึ้นเหนือใบหน้าในช่วงหนึ่งของการแสดง[7]
ในเดือนมิถุนายน 2555 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานยูบิมัตสึริ เทศกาลรวมไอดอลที่จัดโดยริโนะ ซาชิฮาระ โดยถูกจัดขึ้นที่สนามกีฬาต่อสู้ญี่ปุ่น ต่อหน้าผู้ชมจำนวน 8,000 คน[8][9] พวกเธอได้แสดงละครเวทีครั้งแรกของวงชื่อ 16 nin no Principal (16人のプリンシパル) ณ โรงละครพาร์โคชิบุยะ ในเดือนกันยายน 2555[10] ในปลายปี พ.ศ. 2555 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้ติดอันดับที่หนึ่งของชาร์ตประจำปีออริคอนในหมวดหน้าใหม่ (newcomers sales) ด้วยยอดขาย 870 ล้านเยน[11]
2556-2558: รุ่นที่สองและความสำเร็จระดับประเทศ
แก้โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์จัดคอนเสิร์ตครบรอบปีครั้งแรกในชื่อ 1st YEAR BIRTHDAY LIVE ที่มากุฮาริเม็สเซอ จังหวัดชิบะ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยมีผู้เข้าชมกว่า 9,000 คน[12] ในเดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557 ได้มีการคัดเลือกสมาชิกโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์รุ่นสองขึ้น โดยได้สมาชิกใหม่ทั้งหมด 14 คนจากผู้สมัคร 16,302 คน[13] โดยสมาชิก 13 คนได้แนะนำตัวในละครเวที 16 nin no Principal deux (16人のプリンシパル deux) ในเดือนพฤษาคม 2556[14] วงได้มีรายการวิทยุรายการแรกของวงชื่อ Nogizaka46 no "No" (乃木坂46の「の」)[15] และปล่อยโฟโตบุ๊กเล่มแรกชื่อ Nogizaka Ha (乃木坂派)[16] โดยปล่อยในเดือนตุลาคม และติดอันดับที่สี่ของการจัดอันดับหนังสือประจำสัปดาห์ของออริคอนด้วยยอดขาย 27,000 เล่ม[17]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้จัดคอนเสิร์ตวันเกิดปีที่สองในชื่อ 2nd YEAR BIRTHDAY LIVE ที่โยโกฮามะอารีนา มีผู้ชมทั้งหมด 13,000 คน[18] โดยระหว่างการแสดง วงได้ประกาศการแสดงละครเวที 16 nin no Principal trois (16人のプリンシパル trois) โดยจะทำการแสดงที่โรงละครอากาซากะเอซีทีตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคมจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน[19] และวงได้ปล่อยดีวีดีและบลูเรย์ Nogizaka46 1ST YEAR BIRTHDAY LIVE 2013.2.22 MAKUHARI MESSE โดยติดอันดับที่หนึ่งของชาร์ตดีวีดีประจำสัปดาห์ออริคอนด้วยยอดขาย 12,000 แผ่นในสัปดาห์แรก[20] ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ในงาน AKB48 Group Dai Sokaku Matsuri ได้มีการประกาศว่า รินะ อิโกมะ จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต ทีมบี และ เรนะ มัตสึอิ จากเอสเคอีโฟร์ตีเอต ทีมอี จะควบทีมกับโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์[21] ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2557 วงได้ทำการแสดงนอกประเทศครั้งแรกในงานเจแปนเอ็กซ์โป 2014 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[22]
ในวันที่ 7 มกราคม 2558 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้ปล่อยอัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกชื่อ Toumei na Iro (透明な色) โดยทะยานขึ้นอันดับที่หนึ่งของชาร์ตอัลบั้มประจำสัปดาห์ออริคอน[23] และมียอดขายกว่า 220,000 แผ่น[24] ในเดือนต่อมา วงได้จัดคอนเสิร์ตวันเกิดปีที่สามในชื่อ 3rd YEAR BIRTHDAY LIVE ที่เซบูโดม จังหวัดไซตามะ มีผู้ชมคอนเสิร์ตประมาณ 38,000 คน[25] ในวันที่ 26 มีนาคม 2558 ในงาน AKB48 Spring Concert ~Jikiso Imada Shugyouchu!~ ที่ไซตามะซูเปอร์อารีนา ได้มีการประกาศว่าจะยกเลิกการแลกเปลี่ยนสมาชิกระหว่างรินะ อิโกมะกับเรนะ มัตสึอิ[26] ในวันที่ 20 เมษายน 2558 วงได้มีรายการวาไรตี้โชว์ใหม่ Nogizaka Under Construction (乃木坂工事中, Nogizaka Kōjichū) แทนที่รายการเดิม Nogizakatte, Doko?[27] ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2558 ละครเรื่องแรกของวง Hatsumori Bemars (初森ベマーズ) ได้ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง TX network [28] โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้จบปีด้วยการขึ้นแสดงในรายการ เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง (เทศกาลดนตรีขาวแดง) เป็นครั้งแรก และร้องเพลงจากซิงเกิลที่ 5 "Kimi no Na wa Kibou" (君の名は希望)[29][30]
2559-2560: รุ่นที่สามและเจแปนเรคอร์ดอะวอดส์
แก้ในวันที่ 20 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2559 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้ออกรายการโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตของตัวเองชื่อ Nogizaka46 4th Anniversary Nogizaka 46 hours TV (乃木坂46 4th Anniversary 乃木坂46時間TV) ซึ่งผลิตและแสดงโดยสมาชิกของวงเองเป็นเวลา 46 ชั่วโมงติดต่อกัน บนเว็บไซต์หกแห่งพร้อมกัน[31] และในสัปดาห์ต่อมา ซิงเกิลที่ 12 ของวง "Taiyou Knock" (太陽ノック) ได้รับเลือกจากงานประกาศรางวัลเจแปนโกลด์ดิสก์อะวอร์ด[32] ในวันที่ 25 พฤษภาคม วงได้ปล่อยอัลบั้มเต็มที่สองชื่อ Sorezore no Isu (それぞれの椅子)[33] โดยทะยานขึ้นอันดับที่หนึ่งของชาร์ตอัลบั้มประจำสัปดาห์ออริคอน[34] โดยวงได้โปรโมตอัลบั้มเต็มชุดที่สองในรายการ 2nd Nogizaka46 Hours TV (2nd 乃木坂46時間TV)[35] ในวันที่ 5 สิงหาคม วงได้ปล่อยโฟโตบุ๊กเล่มที่สองชื่อ 1jikan Okure no I love you. (1時間遅れのI love you.) โดยขายได้ 41,000 เล่มในสัปดาห์แรก และติดอันดับที่หนึ่งของการจัดอันดับหนังสือประจำสัปดาห์ของออริคอน[17]
ในวันที่ 19 กรกฎาคม ถึง 4 กันยายน ได้มีการคัดเลือกสมาชิกรุ่นที่ 3[13] ในการคัดเลือกผู้สมัครรอบสุดท้าย ผู้สมัคร 13 คนได้เชิญชวนผู้ชมทางอินเทอร์เน็ตผ่านบริการสตรีมมิง SHOWROOM[36] ในวันที่ 4 กันยายน ประกาศว่าผู้สมัคร 12 คนได้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายและ 1 คนที่ปฏิเสธ จากจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 48,986 คน ซึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา[37][38]
งาน 4th YEAR BIRTHDAY LIVE ได้ถูกเลื่อนไปยังสามวันสุดท้ายของ Summer National Tour 2016[39] เนื่องจากไม่มีสถานที่จัดคอนเสิร์ตจากการปรับปรุงสถานที่สำหรับการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนในปี พ.ศ. 2563[40] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน วงได้ปล่อยซิงเกิลที่ 16 ชื่อ "Sayonara no Imi" (サヨナラの意味) โดยทะยานขึ้นอันดับที่หนึ่งของชาร์ตซิงเกิลประจำสัปดาห์ออริคอน และมียอดขาย 827,717 ก็อปปีในสัปดาห์แรก[41] และเป็นซิงเกิลแรกของวงที่ได้รับการรับรองระดับ Million จากสมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงญี่ปุ่น (RIAJ)[42] และวงได้ขึ้นแสดงในรายการ Kōhaku Uta Gassen เป็นครั้งที่สอง[43]
ในวันที่ 20 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2560 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้จัดคอนเสิร์ต 5th YEAR BIRTHDAY LIVE เป็นเวลา 3 วันที่ไซตามะซูเปอร์อารีนา[44] โดยในคอนเสิร์ตวันแรกกำหนดให้เป็นวันจบการศึกษาของนานามิ ฮาชิโมโตะในฐานะสมาชิกของโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ก่อนออกจากวงการบันเทิง[45] ในเดือนพฤษภาคม 2560 วงได้ทำการแสดงละครเวทีจากมังงะชื่อ Asahinagu (あさひなぐ) โดยทำการแสดงที่โตเกียว โอซากะ และไอจิ[46] และในเดือนเดียวกันได้ปล่อยอัลบั้มเต็มที่สาม Umaretekara Hajimete Mita Yume (生まれてから初めて見た夢)[47] ภาพยนตร์เรื่องแรกของที่แสดงโดยโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ซึ่งดัดแปลงจากมังงะ Asahinagu ออกฉายทั่วประเทศญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 2560[48] โดยเพลงธีมของภาพยนตร์ "Itsuka Dekiru kara Kyou Dekiru" (いつかできるから今日できる) ได้ถูกปล่อยมาเป็นซิงเกิลที่ 19
คอนเสิร์ตฤดูร้อนของวง Summer National Tour 2017 ที่โตเกียว เซ็นได โอซากะ นาโงยะ และนีงาตะ และสิ้นสุดในวันที่ 7 และ 8 พฤศจิกายน ณ โตเกียวโดม โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 55,000 คนต่อวัน[49][50][51] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน วงได้ทำการแสดงที่ต่างประเทศครั้งที่สองที่งาน C3AFA ประเทศสิงคโปร์[52] และสิ้นสุดปีด้วยการชนะรางวัลแกรนด์พิกซ์ในงานเจแปนเรคอร์ดอะวอดส์ครั้งที่ 59 ด้วยซิงเกิลที่ 17 "Influencer" (インフルエンサー)[53] และได้ขึ้นแสดงในรายการ Kōhaku Uta Gassen เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน[54]
2561-ปัจจุบัน: ความสำเร็จระดับนานาชาติและรุ่นที่สี่
แก้ในวันที่ 6 กรกฎาคม ถึง 2 กันยายน คอนเสิร์ต Summer National Tour 2018 ได้ถูกจัดขึ้น โดยรวมถึงคอนเสิร์ต 6th YEAR BIRTHDAY LIVE ในวันที่ 6 ถึง 8 กรกฎาคม[55] ในวันที่ 1 ธันวาคม คอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกนอกประเทศถูกจัดขึ้นที่เมอร์เซเดส-เบนซ์อารีนา นครเซี่ยงไฮ้[56] ในงานเจแปนเรคอร์ดอะวอดส์ครั้งที่ 60 โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ได้ชนะรางวัลแกรนด์พริกซ์จากซิงเกิลที่ 20 "Synchronicity" (シンクロニシティ) เป็นครั้งที่สองติดต่อกัน[57] ในวันที่ 27 มกราคม 2562 คอนเสิร์ตเดี่ยวนอกประเทศครั้งที่สองถูกจัดขึ้นที่ไทเปอารีนา นครไทเป[58] และหลังจากนั้นได้ประกาศแผนที่จะจัดคอนเสิร์ตสองวันที่เซี่ยงไฮ้ที่เมอร์เซเดส-เบนซ์อารีนา[59] อัลบั้มเต็มชุดที่สี่ Ima ga Omoide ni Naru Made (今が思い出になるまで) ปล่อยในวันที่ 17 เมษายน 2562[60]
บรรดาสมาชิกรุ่นที่หนึ่งได้เริ่มทยอยจบการศึกษาตั้งแต่ปี 2561 เมื่อรินะ อิโกมะ ผู้เป็นเซนเตอร์ของซิงเกิล 6 ซิงเกิลได้จบการศึกษา[61] ในวันสุดท้ายของคอนเสิร์ต 7th YEAR BIRTHDAY LIVE เป็นคอนเสิร์ตจบการศึกษาของสมาชิกรุ่นที่ 1 นานาเซะ นิชิโนะ ผู้เป็นเซนเตอร์และเซนเตอร์ร่วมในซิงเกิล 7 ซิงเกิล[62] ในเดือนมีนาคม มิซะ เอโต ได้จัดคอนเสิร์ตเดี่ยวในฐานะสมาชิกวงครั้งสุดท้าย[63] ในวันที่ 8 กรกฎาคม กัปตันของวง เรกะ ซากุระอิ ประกาศจบการศึกษาและสิ้นสุดการทำกิจกรรมในวันที่ 1 กันยายน 2562 โดยตรงกับวันสุดท้ายของการทัวร์คอนเสิร์ต Summer National Tour 2019 โดยตำแหน่งกัปตันของวงได้รับช่วงต่อโดย มานัตสึ อากิโมโตะ[64]
ในวันที่ 7 มกราคม 2563 ไม ชิราอิชิได้ประกาศแผนการที่จบการศึกษาหลังจากการปล่อยซิงเกิลที่ 25[65] ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน เธอได้ประกาศผ่านบล็อกอย่างเป็นทางการว่า การจบการศึกษาของเธอจะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะปลอดภัยที่จะจัดคอนเสิร์ตจบการศึกษา เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา[66]
ในช่วงฤดูร้อน 2561 ได้มีการจัดการคัดเลือกสมาชิกของวงร่วมกับเคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์และฮินาตะซากะโฟร์ตีซิกซ์ ภายหลังการคัดเลือก ได้มีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 39 คน และมีจำนวน 11 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์รุ่นสี่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เด็กฝึกจากโครงการซากามิจิเค็นชูเซ (Sakamichi Kenshusei; 坂道研修生) จำนวน 5 คน ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์รุ่นที่สี่[67]
สมาชิก
แก้นับตั้งแต่ก่อตั้งมา โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์มีสมาชิกทั้งหมด 89 คน จากทั้งหมด 5 รุ่น และยังคงเป็นสมาชิกอยู่ 36 คน
สมาชิกปัจจุบัน
แก้ชื่อ (ไทย) | ชื่อ (ญี่ปุ่น) | ชื่อ (โรมัน) | วันเกิด (อายุ) | รุ่น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ริริอะ อิโต | 伊藤理々杏 | Riria Ito | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | 3 | |
เร็งกะ อิวาโมโตะ | 岩本蓮加 | Renka Iwamoto | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 | ||
มินามิ อูเมซาวะ | 梅澤美波 | Minami Umezawa | 6 มกราคม พ.ศ. 2542 | กัปตันวง | |
ชิโอริ คูโบะ | 久保史緒里 | Shiori Kubo | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 | ||
ทามามิ ซากางูจิ | 阪口珠美 | Tamami Sakaguchi | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 | ||
คาเอเดะ ซาโต | 佐藤楓 | Kaede Sato | 23 มีนาคม พ.ศ. 2541 | ||
เรโนะ นากามูระ | 中村麗乃 | Reno Nakamura | 27 กันยายน พ.ศ. 2544 | ||
ฮาซูกิ มูไก | 向井葉月 | Hazuki Mukai | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542 | ||
มิซูกิ ยามาชิตะ | 山下美月 | Mizuki Yamashita | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542 | ||
อายาโนะ คริสตี โยชิดะ | 吉田彩乃クリスティー | Ayano Christie Yoshida | 6 กันยายน พ.ศ. 2538 | ||
ยูกิ โยดะ | 与田祐希 | Yuki Yoda | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 | ||
ซากูระ เอ็นโด | 遠藤さくら | Sakura Endo | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | 4 | |
ฮารูกะ คากิ | 賀喜遥香 | Kaki Haruka | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2544 | ||
ซายากะ คาเกฮาชิ | 掛橋沙耶香 | Sayaka Kakehashi | 20 กันยายน พ.ศ. 2545 | ||
ซายะ คานางาวะ | 金川紗耶 | Saya Kanagawa | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | ||
ยูนะ ชิบาตะ | 柴田柚菜 | Yuna Shibata | 3 มีนาคม พ.ศ. 2546 | ||
เรอิ เซมิยะ | 清宮レイ | Rei Seimiya | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 | ||
มายุ ทามูระ | 田村真佑 | Mayu Tamura | 12 มกราคม พ.ศ. 2542 | ||
อายาเมะ สึสึอิ | 筒井あやめ | Ayame Tsutsui | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2547 | ||
มิโอะ ยากูโบะ | 矢久保美緒 | Mio Yakubo | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545 | ||
ฮารูกะ คูโรมิ | 黒見明香 | Haruka Kuromi | 19 มกราคม พ.ศ. 2547 | เข้าร่วมวงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 | |
ริกะ ซาโต | 佐藤璃果 | Rika Sato | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2544 | ||
รูนะ ฮายาชิ | 林瑠奈 | Runa Hayashi | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2546 | ||
มิยุ มัตสึโอะ | 松尾美佑 | Miyu Matsuo | 3 มกราคม พ.ศ. 2547 | ||
นาโอะ ยูมิกิ | 弓木奈於 | Nao Yumiki | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 | ||
มาโอะ อิโอกิ | 五百城茉央 | Mao Ioki | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 | 5 | |
เทเรสะ อิเคดะ | 池田瑛紗 | Teresa Ikeda | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 | ||
มิกุ อิจิโนเสะ | 一ノ瀬美空 | Miku Ichinose | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 | ||
นางิ อิโนอูเอะ | 井上和 | Nagi Inoue | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | ||
ฮินะ โอกาโมโตะ | 岡本姫奈 | Hina Okamoto | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2546 | ||
อายะ โองาวะ | 小川彩 | Aya Ogawa | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 | ||
อิโรฮะ โอกูดะ | 奥田いろは | Iroha Okuda | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | ||
ซากูระ คาวะซากิ | 川﨑桜 | Sakura Kawasaki | 17 เมษายน พ.ศ. 2546 | ||
ซัทสึกิ ซูงาวาระ | 菅原咲月 | Satsuki Sugawara | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 | ||
นาโอะ โทมิซาโตะ | 冨里奈央 | Nao Tomisato | 18 กันยายน พ.ศ. 2549 | ||
อารูโนะ นากานิชิ | 中西アルノ | Aruno Nakanishi | 17 มีนาคม พ.ศ. 2546 |
สมาชิกที่จบการศึกษาแล้ว
แก้ชื่อ (ไทย) | ชื่อ (ญี่ปุ่น) | ชื่อ (โรมัน) | วันเกิด (อายุ) | รุ่น | วันจบการศึกษา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
โฮโนกะ ยามาโมโตะ | 山本穂乃香 | Honoka Yamamoto | 31 มีนาคม พ.ศ. 2541 | 1 | 22 กันยายน พ.ศ. 2554 | |
อายากะ โยชิโมโตะ | 吉本彩華 | Ayaka Yoshimoto | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2539 | 22 กันยายน พ.ศ. 2554 | ||
ยูมิโกะ อิวาเซะ | 岩瀬佑美子 | Yumiko Iwase | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2533 | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ||
มิกูโมะ อันโด | 安藤美雲 | Mikumo Andou | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ||
ยูกินะ คาชิวะ | 柏幸奈 | Yukina Kashiwa | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2537 | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | ||
เซระ มิยาซาวะ | 宮澤成良 | Seira Miyazawa | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | ||
นานามิ นิชิกาวะ | 西川七海 | Nanami Nishikawa | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 | 2 | 22 มีนาคม พ.ศ. 2557 | |
เรนะ อิชิกิ | 市來玲奈 | Rena Ichiki | 22 มกราคม พ.ศ. 2539 | 1 | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 | |
ริซาโกะ ยาดะ | 矢田里沙子 | Risako Yada | 8 มีนาคม พ.ศ. 2538 | 2 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | |
เคียวกะ โยเนโตกุ | 米徳京花 | Kyouka Yonetoku | 14 เมษายน พ.ศ. 2542 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | ||
เนเนะ อิโต | 伊藤寧々 | Nene Ito | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | 1 | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557 | |
รินะ ยามาโตะ | 大和里菜 | Rina Yamato | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 | ||
เซระ ฮาตานากะ | 畠中清羅 | Seira Hatanaka | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | 4 เมษายน พ.ศ. 2558 | ||
เรนะ มัตสึอิ | 松井玲奈 | Rena Matsui | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 | SKE48 | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 | ยกเลิกการควบวง |
เซระ นางาชิมะ | 永島聖羅 | Seira Nagashima | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | 1 | 20 มีนาคม พ.ศ. 2559 | |
ไม ฟูกางาวะ | 深川麻衣 | Mai Fukagawa | 29 มีนาคม พ.ศ. 2534 | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | ||
นานามิ ฮาชิโมโตะ | 橋本奈々未 | Nanami Hashimoto | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 | ||
ฮิเมกะ นากาโมโตะ | 中元日芽香 | Himeka Nakamoto | 13 เมษายน พ.ศ. 2539 | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | ||
มาริกะ อิโต | 伊藤万理華 | Marika Ito | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | ||
มาฮิโระ คาวามูระ | 川村真洋 | Mahiro Kawamura | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 | ||
รินะ อิโกมะ | 生駒里奈 | Rina Ikoma | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561 | |
ชิฮารุ ไซโต | 斎藤ちはる | Chiharu Saito | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | ||
อิโอริ ซางาระ | 相楽伊織 | Iori Sagara | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | 2 | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | |
ยูมิ วากัตสึกิ | 若月佑美 | Yumi Wakatsuki | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2537 | 1 | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 |
อามิ โนโจ | 能條愛未 | Ami Noujou | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||
ฮินะ คาวาโงะ | 川後陽菜 | Hina Kawago | 22 มีนาคม พ.ศ. 2541 | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||
นานาเซะ นิชิโนะ | 西野七瀬 | Nanase Nishino | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | |
มิซะ เอโต | 衛藤美彩 | Misa Eto | 4 มกราคม พ.ศ. 2536 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 | ||
ยูริ ไซโต | 斎藤優里 | Yuri Saito | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | ||
คาริน อิโต | 伊藤かりん | Karin Ito | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 | 2 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
เรกะ ซากูราอิ | 桜井玲香 | Reika Sakurai | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | 1 | 1 กันยายน พ.ศ. 2562 | อดีตกัปตันวง (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2562) |
โคโตโกะ ซาซากิ | 佐々木琴子 | Kotoko Sasaki | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | 2 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 | |
ซายูริ อิโนอูเอะ | 井上小百合 | Sayuri Inoue | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537 | 1 | 27 เมษายน พ.ศ. 2563 | |
คานะ นากาดะ | 中田花奈 | Kana Nakada | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2537 | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | ||
ไม ชิราอิชิ | 白石麻衣 | Mai Shiraishi | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | ||
มิโอนะ โฮริ | 堀未央奈 | Miona Hori | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539 | 2 | 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 | |
ซายูริ มัตสึมูระ | 松村沙友理 | Sayuri Matsumura | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | 1 | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564 |
จุนนะ อิโต | 伊藤純奈 | Junna Itō | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | 2 | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 | |
มิริอะ วาตานาเบะ | 渡辺みり愛 | Miria Watanabe | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 | ||
โมโมโกะ โอโซโนะ | 大園桃子 | Momoko Ōzono | 13 กันยายน พ.ศ. 2542 | 3 | 4 กันยายน พ.ศ. 2564 | ลาออกจากวงการบันเทิงหลังจบการศึกษาจากวง |
คาซูมิ ทากายามะ | 高山一実 | Kazumi Takayama | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 | 1 | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | |
รันเซะ เทราดะ | 寺田蘭世 | Ranze Terada | 23 กันยายน พ.ศ. 2541 | 2 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และลาออกจากวงการบันเทิงหลังจบการศึกษาจากวง |
เอริกะ อิกูตะ | 生田絵梨花 | Erika Ikuta | 22 มกราคม พ.ศ. 2540 | 1 | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
ไม ชินอูจิ | 新内眞衣 | Mai Shinuchi | 22 มกราคม พ.ศ. 2535 | 2 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 | |
มินามิ โฮชิโนะ | 星野みなみ | Minami Hoshino | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 | 1 | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 | ลาออกจากวงการบันเทิงหลังจบการศึกษาจากวง |
ฮินาโกะ คิตาโนะ | 北野日奈子 | Hinako Kitano | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 | 2 | 30 เมษายน พ.ศ. 2565 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 |
เรนะ ยามาซากิ | 山崎怜奈 | Rena Yamazaki | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | ||
ฮินะ ฮิงูจิ | 樋口日奈 | Hina Higuchi | 31 มกราคม พ.ศ. 2541 | 1 | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
มายะ วาดะ | 和田まあや | Maaya Wada | 23 เมษายน พ.ศ. 2541 | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | ||
อาซูกะ ไซโต | 齋藤飛鳥 | Asuka Saito | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | จัดคอนเสิร์ตจบการศึกษาในวันที่ 17-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
มานัตสึ อากิโมโตะ | 秋元真夏 | Manatsu Akimoto | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2536 | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | อดีตกัปตันวง (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566) และสมาชิกรุ่นที่หนึ่งคนสุดท้ายที่จบการศึกษาจากวง | |
อายาเนะ ซูซูกิ | 鈴木絢音 | Ayane Suzuki | 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 | 2 | 28 มีนาคม พ.ศ. 2566 | สมาชิกรุ่นที่สองคนสุดท้ายที่จบการศึกษาจากวง |
ยูริ คิตางาวะ | 北川悠理 | Yuri Kitagawa | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2544 | 4 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | |
เซระ ฮายากาวะ | 早川聖来 | Seira Hayakawa | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | ลาออกจากวงการบันเทิงหลังจบการศึกษาจากวง |
ผลงานเพลง
แก้
สตูดิโออัลบั้ม
|
อัลบั้มรวมเพลง
|
ผลงานการแสดง
แก้ภาพยนตร์สารคดี
แก้- Kanashimi no Wasurekata: Documentary of Nogizaka46 (悲しみの忘れ方 Documentary of 乃木坂46) (2558)[68]
- Itsunomanika, Kokoniiru: Documentary of Nogizaka46 (いつのまにか、ここにいる Documentary of 乃木坂46) (2562)[69]
ภาพยนตร์ไลฟ์แอกชั่น
แก้- Asahinagu (あさひなぐ) (2560)
- Eizouken ni wa Te o Dasu na! (映像研には手を出すな!) (2563)
รายการโทรทัศน์
แก้- Nogizakatte, Doko? (乃木坂って、どこ?) (TV Tokyo, 2554-2558)[70]
- Saba Doru (さばドル) (TV Tokyo, 2555)[71]
- Nogizaka Romance (乃木坂浪漫) (TV Tokyo, 2555)[72]
- NOGIBINGO! (NTV, 2556-2562)[73][74][75][76][77]
- Nogizaka Under Construction (乃木坂工事中) (TV Tokyo, 2558-)[78][79]
- Hatsumori Bemars (初森ベマーズ) (TV Tokyo, 2558)
- Nogizaka46 Eigo (乃木坂46えいご) (TBS, 2558-)[80]
- Sagara to Kiyoto no Nogizaka Pupupu (サガラとキヨトの乃木坂ぷぷぷ) (TVS, 2558)[81]
- My first baito (Fuji TV, 2560-2561)[82]
- Zambi (ザンビ) (NTV, 2562)
- Watashi no Hatarakikata 〜Nogizaka46 no Double Work Taiken!〜 (私の働き方〜乃木坂46のダブルワーク体験!〜) (Fuji TV, 2561-2562)[83]
- Nogizaka 46 no The Dream Baito! 〜Hatarakikata Kaikaku! Yume e no Chōsen!〜 (乃木坂46のザ・ドリームバイト!〜働き方改革!夢への挑戦!〜) (Fuji TV, 2562-)[84]
- Nogizaka Doko e (乃木坂どこへ) (NTV, 2562-)[85]
- Samu no Koto (サムのこと) (DTV, 2563)
- Saru ni au (猿に会う) (DTV, 2563)
ละครเวที
แก้- 16 nin no Principal (16人のプリンシパル) (โรงละครพาร์โก, 2555)[86]
- 16 nin no Principal deux (16人のプリンシパル deux) (อาซากาซะแอกต์เธียเตอร์ และ โรงละครศิลปะอุเมดะ, 2556)[87]
- 16 nin no Principal trois (16人のプリンシパル trois) (อาซากาซะแอกต์เธียเตอร์, 2557)[88]
- Joshiraku (じょしらく) (AiiA 2.5 เธียเตอร์ โตเกียว, 2558)[89]
- Subete no Inu wa Tengoku e Iku (すべての犬は天国へ行く) (AiiA 2.5 เธียเตอร์ โตเกียว, 2558)[90]
- Joshiraku 2: Toki Kakesoba (じょしらく弐 〜時かけそば〜) (AiiA 2.5 เธียเตอร์ โตเกียว, 2559)[91]
- Hakaba Joshikōsei (墓場、女子高生) (โตเกียวโดมซิตี เธียเตอร์จี-รอสโซ, 2559)[92]
- 3 nin no Principal (สมาชิกรุ่นที่ 3) (3期生初公演 「3人のプリンシパル」) (AiiA 2.5 เธียเตอร์ โตเกียว, 2560)[93]
- Asahinagu (あさひなぐ) (อีเอ็กซ์เธียเตอร์รปปงงิ, 2560)[46]
- 3 nin no Principal (สมาชิกรุ่นที่ 4) (4期生初公演 「3人のプリンシパル」) (โรงละครซันไชน์, 2562)[94]
รางวัล
แก้ตารางต่อไปนี้เป็นรายชื่อรางวัลใหญ่บางส่วนที่มอบให้กับวง
ปี | งานประกาศรางวัล | รางวัล | ผลงานที่รับการเสนอชื่อ | ผลลัพธ์ |
---|---|---|---|---|
2556 | เจแปนโกลด์ดิสก์อะวอดส์ ครั้งที่ 27[95] | ศิลปินใหม่แห่งปี (New Artist of the Year) | โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ | ชนะ |
2558 | เจแปนโกลด์ดิสก์อะวอดส์ ครั้งที่ 29[96] | สุดยอด 5 ซิงเกิล (Best 5 Single) | "Nandome no Aozora ka?" | ชนะ |
2559 | เจแปนโกลด์ดิสก์อะวอดส์ ครั้งที่ 30 | สุดยอด 5 ซิงเกิล (Best 5 Single) | "Taiyou Knock" | ชนะ |
2560 | เจแปนเรคอร์ดอะวอดส์ ครั้งที่ 59 | แกรนด์พริกซ์ (Grand Prix) | "Influencer" | ชนะ |
เจแปนเคเบิลอะวอดส์ ครั้งที่ 50[97] | รางวัลดนตรียอดเยี่ยม (Excellent Music Award) | ชนะ | ||
เจแปนโกลด์ดิสก์อะวอดส์ ครั้งที่ 31 | สุดยอด 5 ซิงเกิล (Best 5 Single) | "Sayonara no Imi" | ชนะ | |
2561 | เจแปนเรคอร์ดอะวอดส์ ครั้งที่ 60 | แกรนด์พริกซ์ (Grand Prix) | "Synchronicity" | ชนะ |
เจแปนโกลด์ดิสก์อะวอดส์ ครั้งที่ 32 | สุดยอด 5 ซิงเกิล (Best 5 Single) | "Nigemizu" | ชนะ | |
2562 | เจแปนโกลด์ดิสก์อะวอดส์ ครั้งที่ 32 | สุดยอด 5 ซิงเกิล (Best 5 Single) | "Synchronicity" | ชนะ |
"Jikochuu de Ikou!" | ชนะ | |||
เจแปนเรคอร์ดอะวอดส์ ครั้งที่ 61 | รางวัลผลงานยอดเยี่ยม (Excellent Work Award) | "Sing Out!" | ชนะ |
อ้างอิง
แก้- ↑ ""AKB48公式ライバル"乃木坂46結成 一般公募でメンバー決定". ORICON STYLE (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon ME. 29 มิถุนายน 2554. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Ueda, Yutaka (มีนาคม 2559). "Image Strategy of Nogizaka46: How Do Young People Perceive It?" (PDF). Bulletin of Seikei University (ภาษาอังกฤษ). 49: 2.
- ↑ 3.0 3.1 AKB48"公式"ライバル乃木坂46、36人決定 毎日が総選挙?! [AKB48 Official rival Nogizaka46, 36 members were selected] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon ME inc. 22 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "乃木坂46のTVレギュラー番組「乃木坂って、どこ?」が10月にスタート" (ภาษาญี่ปุ่น). TOWER RECORDS ONLINE. 12 กันยายน 2554. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2012年02月20日~2012年02月26日のCDシングル週間ランキング (ภาษาญี่ปุ่น). 5 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 【オリコン】乃木坂46、AKB指原との同門対決制す 今年初の新人首位 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 8 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、めくり"封印"ひらひら"解禁" (ภาษาญี่ปุ่น). Sankei Sports. 21 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 指原莉乃「ゆび祭り」で豪華コラボ版「ヘビロテ」実現 (ภาษาญี่ปุ่น). Natalie. 26 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "指原莉乃プロデュース「第一回ゆび祭り」、DVD&Blu-rayでの発売が決定!" (ภาษาญี่ปุ่น). My Navi. 2 พฤศจิกายน 2555. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46「16人のプリンシパル」公演、本日から予約開始 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 22 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 【オリコン年間】乃木坂46、新人セールス1位 AKB関連グループ初 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 21 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、デビュー1周年で全曲ライブ&新曲も初披露 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 23 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 13.0 13.1 乃木坂46新メンバー12人決定<プロフィール/ソロ写真/「anan」「non-no」など全20誌特別賞> (ภาษาญี่ปุ่น). modelpress. 4 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nogizaka46 2nd generation members to be introduced during '16nin no Principal deux'". tokyohive (ภาษาอังกฤษ). 6Theory Media, LLC. 22 เมษายน 2556. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46が文化放送『乃木坂46の「の」』で初のラジオ冠番組決定!! (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46 Official Website. 28 เมษายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-08. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nogizaka46 to release their 1st photo book". tokyohive (ภาษาอังกฤษ). 6Theory Media, LLC. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 17.0 17.1 乃木坂46、2nd写真集がグループ初の総合首位 グアムで水着姿も披露 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 11 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ サプライズ連発!乃木坂46デビュー2周年祝う5時間ライブ (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 23 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46「16人のプリンシパル」第3弾、5月末から開催 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha ,Inc. 22 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 【オリコン】乃木坂46、女性グループ初の1stDVD総合首位 2周年へ弾み (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 12 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The results of AKB48 group's big team shuffle!" (ภาษาอังกฤษ). Tokyohive. 24 กุมภาพันธ์ 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、初海外ライブでパリ熱狂 フランス語で挨拶<セットリスト> (ภาษาญี่ปุ่น). modelpress. 6 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 週間 CDアルバムランキング 2015年01月19日付 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 19 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nogizaka46's 1st album sells over 220,000 copies in the first week". tokyohive (ภาษาอังกฤษ). 6Theory Media, LLC. 13 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46西野七瀬ら感涙 AKB48小嶋陽菜もサプライズ登場 7時間半・全69曲に3万8000人熱狂<3周年ライブ/写真特集> (ภาษาญี่ปุ่น). modelpress. 22 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "AKB48 announces reshuffling of personnel + Kawaei Rina's graduation". tokyohive (ภาษาอังกฤษ). 6Theory Media, LLC. 26 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46西野七瀬、新番組で動物好きをアピール バナナマン設楽「そういう番組からオファー来るかもね」 [Nogizaka46 Nanase Nishino made an appeal about her love of animals] (ภาษาญี่ปุ่น). Livedoor News. 20 เมษายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46全員でドラマ初主演 ソフトボールチームの"青春"描く (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 23 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "NHK reveals artist line up for '66th Kohaku Uta Gassen'". tokyohive (ภาษาอังกฤษ). 6Theory Media, LLC. 26 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 【紅白】乃木坂46、念願初出場 バナナマン大興奮「やりましたね!」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 31 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、6サイトで「46時間TV」配信 アンダーライブ東北シリーズ発表 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 20 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ゴールドディスク大賞は嵐が2年連続4回目、アレキ・AKB48らも各賞受賞 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 27 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、新ビジュアルは国立新美術館で撮影 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 27 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 週間 CDアルバムランキング 2016年06月06日付 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 6 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、2ndアルバム発売記念し2度目の「乃木坂46時間TV」OA (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 20 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46第3期オーディション、候補生がSHOWROOMでアピール (ภาษาญี่ปุ่น). natalie. 25 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、3年ぶり新メンバー発表 3期生12人お披露目 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 4 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nogizaka46 welcome 3rd generation members". tokyohive (ภาษาอังกฤษ). 6Theory Media, LLC. 5 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46『真夏の全国ツアー2016』及び『4th YEAR BIRTHDAY LIVE』開催決定! (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46 LLC. 25 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、デビュー記念ライブ開催延期 「2016年問題」余波 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 21 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ オリコン週間 CDシングルランキング 2016年11月07日~2016年11月13日 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ AKB48以外で9年ぶり!乃木坂46『サヨナラの意味』日本レコード協会ミリオン認定でメンバーコメント到着. Billboard Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 10 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 紅白リハでRADWIMPS、乃木坂、RADIO FISH、桐谷健太らステージへ (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 30 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "「自分で選んだ道の先に正解があると信じてます」乃木坂46橋本奈々未、涙の卒業ライブ". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10.
- ↑ 乃木坂46"御三家"橋本奈々未が号泣引退ライブ 人気絶頂で5年半の活動に幕 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
- ↑ 46.0 46.1 「あさひなぐ」西野七瀬で映画化&齋藤飛鳥で舞台化決定、乃木坂46とタッグ (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 2017-02-22. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25.
- ↑ "乃木坂46待望の3rdアルバム、2017年5月24日リリース決定!...|ニュース|乃木坂46公式サイト". www.nogizaka46.com (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
- ↑ 乃木坂46が薙刀に挑戦 映画&舞台『あさひなぐ』主演は西野七瀬/齋藤飛鳥. Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME.
- ↑ 乃木坂46、初の東京ドームワンマン決定「やっと来たね」 - 音楽ナタリー. 音楽ナタリー (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha Inc.
- ↑ "「真夏の全国ツアー2017 Final 東京ドーム公演」開催決定のお知らせ...|ニュース|乃木坂46公式サイト". www.nogizaka46.com (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-09. สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
- ↑ 乃木坂46、初の東京ドームワンマン決定「やっと来たね」 - 音楽ナタリー. 音楽ナタリー (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha Inc.
- ↑ "乃木坂46初のアジア進出!11月にシンガポールでイベント出演が決定!海外向けにFacebook、Weiboアカウントも開設...|ニュース|乃木坂46公式サイト". www.nogizaka46.com (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
- ↑ 『レコ大』乃木坂46が初の大賞 キャプテン桜井「関わってくれたすべての皆さんのおかげ」. Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME.
- ↑ "「紅白」初出場はSHISHAMO、リトグリ、エレカシ、JUMP、大知、WANIMAら10組 - 音楽ナタリー". 音楽ナタリー (ภาษาญี่ปุ่น). natasha inc.
- ↑ 『乃木坂46 真夏の全国ツアー2018』開催決定!チケット先行は5月27日より! [Nogizaka46 Midsummer National Tour 2018 decided! Ticket sales for fan club members will start from May 27!] (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46LLC. 12 พฤษภาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ NOGIZAKA46 LIVE in Shanghai 2018 開催決定! [Nogizaka46 LIVE in Shanghai 2018 decided!] (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46LLC. 9 กันยายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 『レコ大』乃木坂46が2年連続の大賞 西野七瀬と白石麻衣が涙のハグ [Nogizaka46 wins 2nd consecutive Grand Prize, Nanase Nishino and Mai Shiraishi in tearful hug]. Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). 30 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ NOGIZAKA46 LIVE in Taipei 2019 開催決定のお知らせ [NOGIZAKA46 LIVE in Taipei 2019 announced.] (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46LLC. 18 พฤศจิกายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、中国最大級アリーナで日本人初2days決定. ORICON NEWS (ภาษาญี่ปุ่น). ORICON. 22 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 【発売決定!!】乃木坂46通算4枚目となるオリジナルアルバム!! (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46LLC. 2019-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2019-02-24.
- ↑ "生駒里奈卒業コンサート、"猫背の少女"が胸を張って乃木坂を上り切る". Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). 23 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "西野七瀬、卒コンで白石麻衣と涙の抱擁30秒" [Nanase Nishino and Mai Shiraishi in tearful hug at graduation concert]. Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). 25 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "乃木坂46衛藤美彩、異例の卒業ソロ公演" [Misa Etō in exceptional graduation solo performance]. Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). 20 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "秋元真夏「誰よりも玲香の応援団になる」手紙全文". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2020-01-30.
- ↑ "白石麻衣に聞く 乃木坂卒業を相談したのは「唯一の同い年の1期生」". Sponichi Annex. 7 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 皆さん。 (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46LLC. 2020-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
- ↑ "乃木坂46、欅坂46、日向坂46「坂道研修生」配属先グループ発表". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-02-16. สืบค้นเมื่อ 2020-02-23.
- ↑ 映画 悲しみの忘れ方 DOCUMENTARY of 乃木坂46. allcinema (ภาษาญี่ปุ่น). Stingray. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ いつのまにか、ここにいる Documentary of 乃木坂46. allcinema (ภาษาญี่ปุ่น). Stingray. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、初の冠番組『乃木坂って、どこ?』発表! (ภาษาญี่ปุ่น). Ongaku Shuppansha Co., Ltd. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 『さばドル』まゆゆ初主演。乃木坂46は引き立て役?もっと敵意むき出しに!? (ภาษาญี่ปุ่น). Mediaproductsjapan Co, Ltd. 10 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、2本目のレギュラー番組「乃木坂浪漫」スタート (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. สืบค้นเมื่อ 2015-07-14.
- ↑ HKTと乃木坂が冠番組でガチ対決 さしこリベンジ誓う「また戦始めます」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、冠番組で「AKB48越える」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂、冠番組で“自前”パジャマ姿を披露 『NOGIBINGO!3』10・6放送開始 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂・松村沙友理、“普通の大学生”に憧れ「入れ替わりたい」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂46、『NOGIBINGO!5』が放送決定 サプライズ発表に白石は涙目 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ バナナマン「乃木どこ」に続き「乃木坂工事中」でMC (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 乃木坂・松村沙友理、イジリーの“2期生推し”に嫉妬「ひいきする」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
- ↑ 乃木坂46川後、北野、能條、和田が英語学ぶ新番組!会見で珍解答連発 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. สืบค้นเมื่อ 2015-07-15.
- ↑ "バッドボーイズ清人と乃木坂46の新番組、清人の推しメンが白石から相楽へ". Natasha, Inc. 2015-09-29. สืบค้นเมื่อ 2015-09-29.
- ↑ "「バイトル」一社提供『初めてのバイト体験』をテーマとしたミニ番組 「My first baito」 4 月13 日(木)からフジテレビ系列で全国放送開始" (PDF). 2017-04-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
- ↑ "2018年4月3日(火)より、フジテレビにて「私の働き方 乃木坂46のダブルワーク体験!」がレギュラー放送開始!". Nogizaka46 Official Website. 2018-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-04-06.
- ↑ "ナカミー、古巣フジで出産後初レギュラー!乃木坂に「天使ですね」". Sankei Sports. Sankei Shimbun. 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
- ↑ "【新】乃木坂どこへ|番組表|日本テレビ". Nippon Television Network Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
- ↑ 乃木坂46初劇場公演は試練の連続、生田&生駒が本音語る (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂46「16人のプリンシパル deux」大阪で感涙の千秋楽 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂46「16人のプリンシパル trois」特集 (1/4) (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂46、舞台版『じょしらく』で落語に挑戦 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂・松村沙友理、桜井玲香とラブシーン「色気が開放」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂・生駒里奈、欅坂人気に驚き「あやかりたい」 (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂メンバーが物憂げな表情浮かべる「墓場、女子高生」ビジュアル (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
- ↑ 乃木坂46の3期生が武道館で個性アピール、プリンシパル公演の開催も決定 (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. 2016-12-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-01-28.
- ↑ "乃木坂46 4期生初公演 「3人のプリンシパル」開催決定&モバイル先行開始!" (ภาษาญี่ปุ่น). Nogizaka46 Official Website. 2019-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.
- ↑ "Japan Gold Disc Awards 2013".
- ↑ "29th Japan Gold Disc Awards".
- ↑ "第50回日本有線大賞 HISTORY 日本有線大賞 - 有線ランキング". ranking.cansystem.info. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.