โทบรามัยซิน (อังกฤษ: Tobramycin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces tenebrarius และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยเฉพาะอย่าง การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ทั้งนี้ โทบรามัยซินสามารถออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียสกุลซูโดโมแนสได้[1]

โทบรามัยซิน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าTobrex
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682660
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • D (ยาฉีด, ยาสูตรพ่น) ; B (ยาป้ายตา) (US)
ช่องทางการรับยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ,
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ,
สูดพ่นทางจมูก, ป้ายตา
รหัส ATC
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน< 30%
ตัวบ่งชี้
  • (2S,3R,4S,5S,6R) -4-amino-2-{[(1S,2S,3R,4S,6R) -4,6-diamino-3-{[(2R,3R,5S,6R) -3-amino-6- (aminomethyl) -5-hydroxyoxan-2-yl]oxy}-2-hydroxycyclohexyl]oxy}-6- (hydroxymethyl) oxane-3,5-diol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.046.642
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC18H37N5O9
มวลต่อโมล467.515 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • C1[C@@H]([C@H]([C@@H]([C@H]([C@@H]1N) O[C@@H]2[C@@H]([C@H]([C@@H]([C@H](O2) CO) O) N) O) O) O[C@@H]3[C@@H](C[C@@H]([C@H](O3) CN) O) N) N
  • InChI=1S/C18H37N5O9/c19-3-9-8 (25) 2-7 (22) 17 (29-9) 31-15-5 (20) 1-6 (21) 16 (14 (15) 28) 32-18-13 (27) 11 (23) 12 (26) 10 (4-24) 30-18/h5-18,24-28H,1-4,19-23H2/t5-,6+,7+,8-,9+,10+,11-,12+,13+,14-,15+,16-,17+,18+/m0/s1 checkY
  • Key:NLVFBUXFDBBNBW-PBSUHMDJSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แก้

ด้วยเหตุที่โทบรามัยซินไม่สามารถถูกดูดซึมได้จากทางเดินอาหารเหมือนกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ดังนั้นจึงไม่มียานี้ในรูปแบบรับประทาน โดยรูปแบบเภสัชภัณฑ์ของโทบรามัยซินที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ยาสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (ชื่อการค้าคือ Nebcin), ยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ยาใช้เฉพาะที่สำหรับป้ายตา (สูตรเดี่ยวมีชื่อการค้าคือ Tobrex; สูตรผสมเด็กซาเมทาโซนมีชื่อการค้าคือ TobraDex) และรูปแบบยาพ่นเข้าทางจมูก (ชื่อการค้าคือ Tobi) โดยในรูปแบบยาใช้ภายนอกและยาพ่นนั้น ตัวยาจะมาสารถแพร่ผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดได้น้อย โดยยาในรูปแบบฉีดและพ่นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการกำเริบของการติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa เรื้อรังในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส นอกเหนือจากนั้นโทบรามัยซินในรูปแบบพ่นละอองฝอยยังได้รับการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโพรงอากาศอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้[2] สำหรับยาใช้เฉพาะที่สำหรับดวงตานั้น ได้แก่ Tobrex ซึ่งมีความเข้มข้นของโทบรามัยซิน 0.3% ที่ผลิตโดยบอช แอนด์ ลอมบ์ นั้นมีการผสมเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ 0.01% เพื่อเป็นสารกันเสีย แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้มีวางตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในฐานะยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อยาเท่านั้น แต่ในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ยานี้จัดเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์ (over the counter; OTCs) โดย Tobrex และ TobraDex นั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial conjunctivitis) เป็นต้น ส่วนโทบรามัยซินในรูปแบบยาฉีดจะมีข้อบ่งใช้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีความรุนแรงมากหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิต เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารก, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, การติดเชื้อ Yersinia pestis (กาฬโรค).[ต้องการอ้างอิง] ยิ่งไปกว่านั้น โทบรามัยซินยังถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเจนตามัยซินในการรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa เนื่องจากโทบรามัยซินสามารถแพร่ผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อปอดได้ดีกว่า[ต้องการอ้างอิง].

ขอบเขตการออกฤทธิ์ แก้

โทบรามัยซินมีขอตเขตการออกฤทธิ์ที่แคบ ส่วนใหญ่แบคทีเรียแกรมลบ มีเพียงแบคทีเรียแกรมบวกสายพันธุ์เดียวที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโทบรามัยซินได้เป็นอย่างดี คือ Staphylococcus aureus แต่ในทางคลินิกจะนิยมใช้โทบรามัยซินในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa ในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส โดยค่าความเข้มข้นของโทบรามัยซินต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และ Klebsiella pneumoniae ดังแสดงด้านล่าง:

  • Pseudomonas aeruginosa - <0.25 µg/mL - 92 µg/mL[3]
  • Pseudomonas aeruginosa (non-mucoid) - 0.5 µg/mL - >512 µg/mL[3]
  • Pseudomonas aeruginosa (ATCC 27853) - 0.5 µg/mL - 2 µg/mL[3]
  • Klebsiella pneumoniae, KP-1, เท่ากับ 2.3±0.2 µg/mL ที่อุณหภูมิ 25 °C

อาการไม่พึงประสงค์ แก้

โทบรามัยซินมีอาการไม่พึงประสงค์ที่คล้ายคลึงกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ได้แก่ การเกิดพิษต่อหู ซึ่งจะทำให้เกิดพยาธิสภาพในส่วนคอเคลีย และนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินได้ในที่สุด หรือในบางรายอาจเกิดการสูญเสียการทำงานของระบบเวสติบูล จนทำให้สูญเสียสมดุลการทรงตัว อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นอาจเกิดทั้งสองอย่างร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไวต่อยาของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การเกิดพิษต่อหูจากกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์นั้นนสามารถกลับเป็นปกติได้หลังจากการหยุดใช้ยา[4]

นอกจากนี้แล้ว โทบรามัยซินยังก่อให้เกิดพิษต่อไตได้เช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยยาจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อชั่นนอกของไต โดยอาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการใช้ยาในขนาดสูงหรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินกว่าที่แนะนำไว้ในแนวทางการรักษา หรือการที่มีความเข้มข้นของปัสสาวะสูงในขณะหลับ การได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอระหว่างการรักษาด้วยโทบรามัยซินจะช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดต่อไตได้ นอกจากนี้ เนื่องจากโทบรามัยซินเป็นาที่มีช่วงการรักษาแคบ (therapeutic index) การคำนวณขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายและการเฝ้าติดตามระดับความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดอย่างใกล้ชิดจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดพิษหรือความรุนแรงของการเกิดพิษจากยานี้ได้[4]

กลไกการออกฤทธิ์ แก้

โทบรามัยซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอส และหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรียเพื่อรวมกันเป็น 70 เอสไรโบโซม ทำให้เอ็มอาร์เอ็นเอไม่สามารถแปลรหัสพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่จำเป็นต้องการดำรงชีวิตและการเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นๆตายในที่สุด จากการศึกษาของ Kotra และคณะ พบว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งรวมถึงโทบรามัยซินจะมีหมู่เอมีนที่มีการรับโปรตอนเข้ามาจนเกิดเป็นประจุบวกจำนวนมากในโมเลกุล ซึ่งประจุที่เกิดขึ้นนี้จะมีความจำเพาะในการจับกับนิวคลีโอไทด์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์โพรแคริโอต นอกจากนี้แล้วยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ยังสมารถจับกับไรโบไซม์หัวค้อน (hammerhead ribozyme), เฟนิลอะลานีน—ทีอาร์เอ็นเอ (Phenylalanine—tRNA), HIV Rev response element, ไรโบไซม์จากไวรัสตับอักเสบ ดี, และ Group I catalytic intron ได้ด้วย[5]

อ้างอิง แก้

  1. "Tobramycin" (PDF). Toku-E. 2010-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2012-06-11.
  2. "Nebulized Tobramycin in treating bacterial Sinusitis" (Press release). July 22, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 2009-12-06.
  3. 3.0 3.1 3.2 Toku-E. "Susceptibility and Resistance Data" (PDF). สืบค้นเมื่อ 11 January 2018.
  4. 4.0 4.1 Bernard D, Davis (1987). Mechanism of bactericidal action of aminoglycosides (3 ed.). Microbiological Reviews. p. 341.
  5. Lakshmi P., Kotra; Jalal, Haddad; Shahriar, Mobashery (2000). "Aminoglycosides: perspectives on mechanisms of action and resistance and strategies to counter resistance". Antimicrobial agents and chemotherapy. 14 (12): 3249–56.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้