น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ เป็นสารประกอบที่สำคัญของโบรอน ชื่อทางเคมี โซเดียมโบเรท ชื่อสามัญ น้ำประสานทอง หรือผงเนื้อกรอบ หรือเพ่งแซ เมื่อถ้าอยู่ในรูปผลึกบริสุทธิ์จะไม่มีสี ถ้านำไปเผาต่อจนไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุลจะเรียกน้ำประสานทองสะตุ เป็นผงมีสีขาว ละลายน้ำได้ง่าย มีรสขมเล็กน้อย

น้ำประสานทอง/บอแรกซ์
Borax crystals
Ball-and-stick model of the unit cell of borax decahydrate
ชื่อ
IUPAC name
disodium;3,7-dioxido-2,4,6,8,9-pentaoxa-1,3,5,7-tetraborabicyclo[3.3.1]nonane;decahydrate[1]
ชื่ออื่น
  • Borax decahydrate
  • Sodium borate decahydrate
  • Sodium tetraborate decahydrate
  • Sodium tetrahydroxy tetraborate hexahydrate
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
EC Number
เลขอี E285 (preservatives)
KEGG
RTECS number
  • VZ2275000
UNII
  • InChI=1S/B4O7.2Na.10H2O/c5-1-7-3-9-2(6)10-4(8-1)11-3;;;;;;;;;;;;/h;;;10*1H2/q-2;2*+1;;;;;;;;;;
    Key: CDMADVZSLOHIFP-UHFFFAOYSA-N
  • InChI=1/B4O7.2Na.10H2O/c5-1-7-3-9-2(6)10-4(8-1)11-3;;;;;;;;;;;;/h;;;10*1H2/q-2;2*+1;;;;;;;;;;
    Key: CDMADVZSLOHIFP-UHFFFAOYAP
  • [Na+].[Na+].O0B(O)O[B-]1(O)OB(O)O[B-]0(O)O1.O.O.O.O.O.O.O.O
คุณสมบัติ
Na2B4O5(OH)4·8H2O
มวลโมเลกุล 381.36 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ของแข็งผลึกสีขาวหรือไม่มีสี
ความหนาแน่น 1.73 g/cm3 (decahydrate, solid)[2]
จุดหลอมเหลว 743 องศาเซลเซียส (1,369 องศาฟาเรนไฮต์; 1,016 เคลวิน) (anhydrous)[2]
75 °C (decahydrate, decomposes)[2]
จุดเดือด 1,575 องศาเซลเซียส (2,867 องศาฟาเรนไฮต์; 1,848 เคลวิน) (anhydrous)[2]
31.7 g/L [2]
−85.0·10−6 cm3/mol (anhydrous)[2]: p.4.135 
n1=1.447, n2=1.469, n3=1.472 (decahydrate)[2]: p.4.139 
โครงสร้าง[3]
Monoclinic, mS92, No. 15
C2/c
2/m
a = 1.1885 nm, b = 1.0654 nm, c = 1.2206 nm
α = 90°, β = 106.623°°, γ = 90°
1.4810 nm3
4
เภสัชวิทยา
S01AX07 (WHO)
ความอันตราย
GHS labelling:
The health hazard pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
H360
P201, P308+P313
NFPA 704 (fire diamond)
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
ไม่มี[4]
REL (Recommended)
TWA 1 mg/m3 (anhydrous and pentahydrate)[4][5]
TWA 5 mg/m3 (decahydrate)[6]
IDLH (Immediate danger)
N.D.[4]
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนอื่น ๆ
Sodium aluminate
แคทไอออนอื่น ๆ
Lithium tetraborate
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
Boric acid, sodium perborate
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

การใช้งาน แก้

บอแรกซ์เป็นสารสีขาวเป็นผงหรือที่เรียกว่าโซเดียมบอเรต โซเดียมเตตระบอเรตหรือไดโซเดียมเตตระบอเรต มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนและสารเพิ่มคุณภาพสำหรับน้ำยาซักผ้า เป็นส่วนผสมของโบรอน โซเดียม และออกซิเจน และมีการใช้ในการเชื่อมทองตามชื่อน้ำประสานทอง

บอแรกซ์ที่ใช้ในฐานะน้ำประสานทองจะพบได้ในธรรมชาติ มีมากในประเทศอินเดีย เนปาล ทิเบต และจีน ส่วนที่ใช้ในไทย นำเข้ามาจาก 2 แหล่ง คือ จากอินเดีย เรียก น้ำประสานทองเทศ และ จากจีน เรียก น้ำประสานทองจีน ซึ่งในการทำทองรูปพรรณจะมีการใช้คุณสมบัติของสารเคมีชนิดหนึ่งมาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมทองคำบริสุทธิ์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน สารเคมีตัวนั้น ก็คือ น้ำประสานทอง นั่นเอง

บอแรกซ์ถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารมาตั้งแต่ยุคโบราณ[8]โดยเฉพาะใช้ในการถนอมอาหาร บอแรกซ์สามารถใช้แทนเกลือแกงในกรณีที่ไม่ต้องการให้มีรสเค็ม เช่นใช้ดองไข่ปลาคาร์เวียร์เป็นต้น ชาวเอเชียบางประเทศนิยมใส่ในแป้งให้เหนียวกรุบ ใส่ในลูกชิ้นทำให้เนื้อเหนียวเด้ง ประวัติการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ยาวนานนับพันปี

บอแรกซ์จะมีลักษณะเป็นผลึกใสหรือเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ถ้านำไปผ่านความร้อนแบบรวดเร็วที่อุณหภูมิประมาณ 75 องศาเซลเซียสจะละลายกลายเป็นน้ำ แต่ถ้าเผาที่ความร้อน 350 องศาเซลเซียสจะไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุล เรียกว่า "น้ำประสานทองสะตุ" การนำน้ำประสานทองไปสะตุในอุณหภูมิที่สูงโดยตั้งเตาด้วยแกลบ จุดไฟและเผาผ่านหม้อดิน หรือการก่อไฟด้วยแกลบ จะให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงมาก แต่หากสะดวกจะใช้ถ่าน หรือเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้


การใช้สารบอแรกซ์ในครัวเรือน แก้

สารบอแรกซ์มีประโยชน์หลายอย่างในตัวมันเอง แถมยังเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ต่อไปนี้คือการใช้ผงบอแรกซ์และบอแรกซ์บริสุทธิ์ในน้ำ

  • ยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงสาบและป้องกันมอด (สารละลาย 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับผ้าขนสัตว์)
  • ยาฆ่าเชื้อรา
  • สารกำจัดวัชพืช
  • สารดูดความชื้น
  • น้ำยาซักผ้า
  • น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน
  • น้ำยาปรับสภาพน้ำ
  • วัตถุเจือปนอาหารเป็นสารกันบูด (ห้ามในบางประเทศ)

บอแรกซ์เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ได้แก่:

  • บัฟเฟอร์โซลูชั่น
  • สารหน่วงไฟ
  • ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน
  • แก้ว เซรามิก และเครื่องปั้นดินเผา
  • เคลือบอีนาเมล
  • สารตั้งต้นของกรดบอริก
  • โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น ไฟสีเขียวเมือกและผลึกบอแรกซ์
  • เคมีวิเคราะห์  บอแรกซ์บีดทดสอบ
  • ฟลักซ์สำหรับเชื่อมเหล็กและเหล็กกล้า
  • เชื่อมทองคำ

ความเป็นพิษ แก้

การได้รับบอแรกซ์ต่อเนื่องอาจก่อการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ การทานบอแรกซ์อาจก่ออาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน, ปวดท้อง และ ท้องเสีย ผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและสมองได้แก่อาการปวดศีรษะและความเฉื่อยชา ในกรณีที่รุนแรงอาจพบผื่นแดงได้[9] ข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคอินโดนีเซีย (Indonesian Directorate of Consumer Protection) ระบุเตือนว่าบอแรกซ์อาจก่อมะเร็งตับได้หากมีการรับประทานบอแรกซ์ต่อเนื่องยาวนาน 5–10 ปี[10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 PubChem. "Borax". pubchem.ncbi.nlm.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-27.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. ISBN 978-1439855119.
  3. Levy, H. A.; Lisensky, G. C. (1978). "Crystal structures of sodium sulfate decahydrate (Glauber's salt) and sodium tetraborate decahydrate (borax). Redetermination by neutron diffraction". Acta Crystallographica Section B. 34 (12): 3502–3510. Bibcode:1978AcCrB..34.3502L. doi:10.1107/S0567740878011504.
  4. 4.0 4.1 4.2 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0057". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  5. NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0059". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  6. NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0058". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  7. "Potential Commodities NFPA 704" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 17, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2018.
  8. "Boric Acid and Borax in Food". www.cfs.gov.hk.
  9. Reigart, J. Routt (2009). Recognition and Management of Pesticide Poisonings (5th Ed. ) (ภาษาอังกฤษ). DIANE Publishing. p. 76. ISBN 978-1-4379-1452-8. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
  10. "Watch Out For The Food We Consume". Directorate of Consumer Protection, Jakarta, Indonesia. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2008. สืบค้นเมื่อ February 10, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้