เซอร์ โจนาธาน พอล ไอฟ์ (อังกฤษ: Sir Jonathan Paul Ive) หรือ โจนี ไอฟ์ (Jony Ive)[2] (เกิด 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967) เป็นอดีตประธานฝ่ายการออกแบบของบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ และเป็นผู้ร่วมออกแบบหลายผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ได้แก่ ไอแมค ไอพอด ไอโฟน และไอแพด

โจนี ไอฟ์
เกิดโจนาธาน พอล ไอฟ์
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (57 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
พลเมืองสหราชอาณาจักร
สหรัฐ
ศิษย์เก่าวิทยาลัยสารพัดช่างนิวคาสเซิล
อาชีพนักออกแบบเชิงอุตสาหกรรม
คู่สมรสเฮเทอร์ เพ็ก (สมรส 1987)
บุตร2 คน

ไอฟ์เกิดที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่ออายุได้ 12 ปี ครอบครัวเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองสแตฟฟอร์ด ไอฟ์เรียนด้านการออกแบบที่วิทยาลัยสารพัดช่างนิวคาสเซิล (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนอร์ทัมเบรีย)[3] หลังจากนั้นเขาทำงานที่บริษัทแทงเจอรีน วิสาหกิจเริ่มต้นเกี่ยวกับงานออกแบบในลอนดอน[4] ก่อนจะร่วมงานกับแอปเปิลช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ไอฟ์มีส่วนในการออกแบบพาวเวอร์บุ๊กและแมคอินทอช เขากลายเป็นบุคคลสองสัญชาติ (บริติช-อเมริกัน) เมื่อได้รับสัญชาติอเมริกันในปี ค.ศ. 2012[5] ในปี ค.ศ. 2017 ไอฟ์ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีราชวิทยาลัยศิลปะ[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 2019 เขาประกาศลาออกจากแอปเปิลเพื่อไปก่อตั้งบริษัทตัวเองชื่อ LoveFrom ร่วมกับนักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมมาร์ก นิวสัน[7][8]

จากความสำเร็จในด้านการออกแบบ ไอฟ์ได้รับรางวัลและเกียรติยศจำนวนมาก เช่น Royal Designers for Industry (RDI) จากราชสมาคมศิลปะ[9] ภาคีสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งราชวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (HonFREng)[10] และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติชชั้น KBE[11]

ด้านชีวิตส่วนตัว ไอฟ์สมรสแล้วกับเฮเทอร์ เพ็ก มีบุตรด้วยกัน 2 คน[12] เขาไม่ค่อยเปิดเผยตัวต่อสาธารณชนมากนัก และมักยกผลงานการออกแบบให้เป็นของทีมงาน

ในปี ค.ศ. 2023 ไอฟ์เป็นผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร[13]

อ้างอิง แก้

  1. Times, The Sunday (2019-05-12). "Rich List 2019: profiles 602-650, featuring Sting and Sir Rod Stewart" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  2. http://www.apple.com/macbookpro/
  3. "Sir Jonathan Ive". Northumbria University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
  4. "Jony Ive, Apple designer who started career at tangerine, sets up studio". 2019-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
  5. Parker, Ian (23 February 2015). "The Shape of Things to Come". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016. In 2012, He was knighted in Buckingham Palace; by then, he and his wife had become U.S. citizens, although they did not relinquish their British passports.
  6. "Sir Jony Ive KBE Appointed Chancellor of the Royal College of Art". Royal College of Art. May 25, 2017. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
  7. "iPhone designer Ive to leave Apple". BBC News. 27 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-27. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
  8. "Jony Ive, iPhone designer, announces Apple departure | Financial Times". 2019-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
  9. "RSA Current Royal Designers for Industry". สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
  10. "List of Fellows of the ROYAL Academy of Engineering". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
  11. "Apple creative guru and Walton High School alumni knighted for services to design". Staffordshire Newsletter. Stafford. 30 พฤษภาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012.
  12. Sullivan, Robert (1 October 2014). "A Rare Look at Design Genius Jony Ive: The Man Behind the Apple Watch". Vogue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 November 2018.
  13. Coughlan, Sean (2023-02-10). "King Charles coronation logo created by iPhone designer". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-02-11.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้