จะงอยบ่า
โคราคอยด์ โพรเซส (อังกฤษ: Coracoid process) หรือ จะงอยบ่า เป็นโครงสร้างคล้ายตะขอยื่นออกมาจากกระดูกสะบักชี้ไปทางด้านหน้า คำว่า โคราคอยด์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ลักษณะคล้ายจะงอยปากนกกาเรเวน (Korax แปลว่า นกการาเวน)
Coracoid process | |
---|---|
กระดูกสะบักข้างซ้าย มองจากด้านข้าง (โคราคอยด์ โพรเซสอยู่ทางด้านบนซ้าย) | |
ไหล่ซ้ายและข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์ แสดงเอ็นต่างๆของบริเวณไหล่ (โคราคอยด์ โพรเซสอยู่ตรงกลางภาพ) | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | processus coracoideus |
MeSH | D000070597 |
TA98 | A02.4.01.023 |
TA2 | 1159 |
FMA | 13455 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
จุดเกาะ
แก้โคราคอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของโครงสร้างหลายส่วน
- กล้ามเนื้อเพคทอราลิส ไมเนอร์ (pectoralis minor muscle) ไปยังกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 ถึง 5
- ปลายจุดเกาะด้านสั้นของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (short head of biceps brachii muscle) ไปยังปุ่มนูนเรเดียส (radial tuberosity)
- กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส (coracobrachialis muscle) ไปยังกระดูกต้นแขนบริเวณใกล้กลาง
- เอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์ (coracoclavicular ligament) ไปยังกระดูกไหปลาร้า (สร้างขึ้นมาจากเอ็นโคนอยด์ (conoid ligament) และเอ็นทราปีซอยด์ (trapezoid ligament))
- เอ็นคอราโคอโครเมียล (coracoacromial ligament) ไปยังอโครเมียน (acromion)
โครงสร้าง
แก้โคราคอยด์ โพรเซสเป็นส่วนยื่นหนา โค้ง ยึดติดกับฐานกว้างของส่วนบนของคอกระดูกสะบัก (neck of the scapula) โดยชี้ออกไปในทางขึ้นด้านบนและทิศเข้าสู่กลางลำตัว แล้วมีจึงขนาดเล็กลง และเปลี่ยนทิศทางโดยชี้ไปทางด้านหน้าและออกด้านข้างลำตัว
ส่วนขาขึ้น (ascending portion) ซึ่งมีลักษณะแบนลงจากหน้าไปหลัง ด้านหน้ามีพื้นผิวเรียบเว้า ข้ามส่วนที่กล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis) ผ่าน
ส่วนแนวนอน (horizontal portion) ซึ่งมีลักษณะแบนลงจากส่วนบนลงไปด้านล่าง พื้นผิวด้านบนนูนและไม่สม่ำเสมอ และเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเพคทอราลิส ไมเนอร์ พื้นผิวด้านใต้เรียบ ขอบด้านใกล้กลางและด้านข้างขรุขระ ส่วนต้นเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเพคทอราลิส ไมเนอร์ ส่วนต่อมาเป็นจุดเกาะของเอ็นคอราโคอโครเมียล (coracoacromial ligament) ส่วนยอดโอบโดยเอ็นร่วม (conjoined tendon) ของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส (Coracobrachialis) และปลายจุดเกาะด้านสั้นของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ และให้จุดยึดเกาะกับพังผืดคอราโคคลาวิคิวลาร์ (coracoclavicular fascia)
ส่วนใกล้กลางของรากของโคราคอยด์ โพราเซสเป็นรอยประทับขรุขระสำหรับจุดเกาะของเอ็นโคนอยด์ และบนผิวบนของส่วนแนวนอนเป็นสันยกขึ้นเป็นจุดเกาะของเอ็นทราปีซอยด์
ความสำคัญทางคลินิก
แก้โคราคอยด์ โพรเซสนั้นสามารถคลำได้จากผิวหนังใต้ปลายด้านนอกของกระดูกไหปลาร้า เป็นจุดสำคัญในการป้องกันความเสียหายของประสาทและหลอดเลือด เพราะโครงสร้างทางประสาทและหลอดเลือดที่สำคัญจะเข้าสู่รยางค์บนในด้านใกล้กลาง (medial) ต่อโคราคอยด์ โพรเซส ดังนั้นศัลยแพทย์จึงหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าว และผ่าตัดบริเวณไหล่ทางด้านข้างลำตัว (lateral) ต่อโคราคอยด์ โพรเซส
ในสัตว์ชนิดอื่นๆ
แก้ในนกและสัตว์เลื้อยคลาน โคราคอยด์แยกเป็นกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง
ภาพอื่นๆ
แก้-
ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลของไหล่ขวา
-
แอ่งกลีนอยด์กระดูกสะบักข้างขวา
-
กล้ามเนื้อชั้นลึกของอกและด้านหน้าแขน และขอบเขตของรักแร้
-
แผนภาพแสดงกระดูกแขนของมนุษย์
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- coracoid+process จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary
- Bioweb at UWLAX aplab เก็บถาวร 2008-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Anatomy at PSU skel/scapula2 เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน