ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง

ประเทศเกาหลีเหนือประกาศในปี 2552 ว่าประเทศพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และครอบครองคลังอาวุธนิวเคลียร์ค่อนข้างธรรมดาขนาดเล็ก ประเทศเกาหลีเหนือยังมีสมรรถนะอาวุธเคมีและ/หรืออาวุธชีวภาพ[1] ตั้งแต่ปี 2546 ประเทศเกาหลีเหนือไม่เป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์อีกต่อไป[2]

วันที่ 9 ตุลาคม 2549 ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าทดลองนิวเคลียร์ครั้งแรกสำเร็จ มีการตรวจพบการระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน มีการประมาณว่าแรงระเบิด (yield) น้อยกว่าหนึ่งกิโลตัน และตรวจพบปริมาณกัมมันตรังสีบางส่วน[3][4][5]

ในเดือนเมษายน 2552 รายงานเปิดเผยว่าประเทศเกาหลีเหนือกลายเป็น "รัฐนิวเคลียร์โตสมบูรณ์" (fully fledged nuclear power) เป็นความเห็นที่ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี แบ่งปัน[6] วันที่ 25 พฤษภาคม 2552 ประเทศเกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่สอง ทำให้เกิดแรงระเบิดที่ประมาณระหว่าง 2 ถึง 7 กิโลตัน[7] การทดลองเมื่อปี 2552 เช่นเดียวกับการทดลองปี 2549 เชื่อว่าเกิดที่มันทัพซัน (Mantapsan) เทศมณฑลคิลจู (Kilju County) ในส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเกาหลีเหนือ[8]

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (U.S. Geological Survey) ตรวจพบความไหวสะเทือน (seismic disturbance) ขนาด 5.1[9] ซึ่งรายงานว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่สาม[10] ประเทศเกาหลีเหนือรายงานอย่างเป็นทางการว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ที่สำเร็จด้วยหัวรบเบากว่าซึ่งส่งแรงมากกว่าแต่ก่อน แต่ไม่เปิดเผยแรงระเบิดแน่ชัด แหล่งข้อมูลเกาหลีใต้หลายแหล่งประมาณแรงระเบิดที่ 6–9 กิโลตัน ขณะที่สถาบันธรณีศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติสหพันธรัฐเยอรมันประมาณแรงระเบิดไว้ที่ 40 กิโลตัน[11][12][13]

วันที่ 6 มกราคม 2559 ในประเทศเกาหลี การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐตรวจพบความไหวสะเทือนขนาด 5.1[14] ซึ่งรายงานว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่สี่[15] ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่าการทดลองนี้เป็นระเบิดไฮโดรเจน ข้ออ้างนี้ยังมิได้พิสูจน์ยืนยัน ในไม่กี่ชั่วโมง นานาชาติและองค์การประณามการทดลองนี้[16] ข้อมูลไหวสะเทือนที่รวบรวมได้จนบัดนี้แนะว่าแรงระเบิดมีขนาด 6–9 กิโลตัน และขนาดนี้ไม่สอดคล้องกับกำลังที่จะเกิดจากการระเบิดของระเบิดไฮโดรเจน

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ประมาณหนึ่งเดือนหลังการทดลองที่อ้างว่าเป็นระเบิดไฮโดรเจน ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่าส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อะเบะ เตือนเกาหลีเหนือมิให้ปล่อยจรวด และหากปล่อยและจรวดละเมิดดินแดนญี่ปุ่น จะถูกยิงตก กระนั้น ประเทศเกาหลีเหนือก็ยังปล่อย โดยอ้างว่าดาวเทียมมีเจตนาความประสงค์สันติและทางวิทยาศาสตร์ หลายชาติซึ่งรวมสหรัฐ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ประณามการปล่อย และแม้เกาหลีเหนืออ้างว่าจรวดมีความมุ่งหมายสันติ แต่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นความพยายามทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปภายใต้บังหน้าการปล่อยดาวเทียมอย่างสันติ จีนยังวิจารณ์การปล่อยด้วย ทว่า กระตุ้นให้ "ภาคีที่เกี่ยวข้อง" "ละเว้นจากการดำเนินการที่อาจทำให้ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีบานปลายอีก"[17]

ชาติอื่นและสหประชาชาติสนองการพัฒนาขีปนาวุธและนิวเคลียร์ที่กำลังดำเนินอยู่ของเกาหลีเหนือโดยการลงโทษต่าง ๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกเสียงลงคะแนนกำหนดการลงโทษประเทศเกาหลีเหนือเพิ่มเติม[18]

การทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ห้าเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 แรงระเบิดจากการทดสอบถือว่าสูงสุดในบรรดาการทดสอบทั้งห้าครั้ง เกินสถิติเดิมในปี 2556 รัฐบาลเกาหลีใต้กล่าวว่าแรงระเบิดมีขนาดประมาณ 10 กิโลตัน[19] แต่แหล่งอื่นเสนอว่ามีแรงระเบิด 20 ถึง 30 กิโลตัน[20] แหล่งข้อมูลเยอรมันเดียวกันยังประเมินว่าการทดสอบนิวเคลียร์ก่อนหน้าทั้งหมดของเกาหลีเหนือมีแรงระเบิด 25 กิโลตัน[21]

ในปี 2560 ประเทศเกาหลีเหนือทดสอบปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปสองลูก ซึ่งลูกที่สองมีพิสัยเพียงพอถึงสหรัฐแผ่นดินใหญ่[22] ในเดือนกันยายน 2560 ประเทศประกาศการทดสอบระเบิดไฮโดรเจน "สมบูรณ์แบบ" อีก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DOD-DPRK-2012
  2. "North Korea leaves nuclear pact". CNN.com. Jan. 10, 2003. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. Burns, Robert; Gearan, Anne (October 13, 2006). "U.S.: Test Points to N. Korea Nuke Blast". The Washington Post.
  4. "North Korea Nuclear Test Confirmed by U.S. Intelligence Agency". Bloomberg. October 16, 2006. สืบค้นเมื่อ October 16, 2006.
  5. North Korea's first nuclear test Yield estimates section
  6. Richard Lloyd Parry (April 24, 2009). "North Korea is fully fledged nuclear power, experts agree". The Times (Tokyo). London. สืบค้นเมื่อ December 1, 2010.
  7. [1] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน North Korea's Nuclear test Explosion, 2009. SIPRI
  8. "North Korea's new nuclear test raises universal condemnation". NPSGlobal Foundation. May 25, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-21. สืบค้นเมื่อ December 1, 2010.
  9. 2013-02-12 02:57:51 (mb 5.1) NORTH KOREA 41.3 129.1 (4cc01) (Report). USGS. February 11, 2013. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
  10. "North Korea appears to conduct 3rd nuclear test, officials and experts say". CNN. February 12, 2013. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
  11. Choi He-suk (February 14, 2013). "Estimates differ on size of N.K. blast". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ February 17, 2013.
  12. "Nuke test air samples are a bust". 15 February 2013. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.
  13. "How Powerful Was N.Korea's Nuke Test?". The Chosun Ilbo. February 14, 2013. สืบค้นเมื่อ February 17, 2013.
  14. M5.1 - 21km ENE of Sungjibaegam, North Korea (Report). USGS. January 6, 2016. สืบค้นเมื่อ January 6, 2016.
  15. "North Korea claims fully successful hydrogen bomb test". Russia Today. January 5, 2016. สืบค้นเมื่อ January 5, 2016.
  16. "N Korean nuclear test condemned as intolerable provocation". Channel News Asia. Mediacorp. 6 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
  17. "North Korea fires long-range rocket despite warnings" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News. สืบค้นเมื่อ 2016-02-08.
  18. http://www.cnn.com/2016/03/02/world/un-north-korea-sanctions-vote/index.html
  19. "North Korea conducts 'fifth and biggest nuclear test'". BBCNews. September 9, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2016.
  20. North Korea conducts fifth and largest nuclear test – South Korea and Japan เก็บถาวร กันยายน 10, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Reuters, 9 September 2016 5:39am Britain Standard Time
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BGRSep2016
  22. CNN, Zachary Cohen and Barbara Starr (กรกฎาคม 28, 2017). "North Korea launches second long-range ICBM missile". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 28, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 28, 2017.