โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เป็นโครงการของรัฐบาลไทยโดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ปัจจุบันยังคงดำเนินการอยู่ ให้ทุนการศึกษาและจัดค่ายวิทยาศาสตร์กับเยาวชนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทุนการศึกษาที่ให้มีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ศึกษาต่อเต็มตามศักยภาพจนถึงปริญญาเอกในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์ของโครงการ โดยต้องศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ในระดับปริญญาตรีและเปิดโอกาสให้เลือกวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ในระดับบัณฑิตศึกษา มีเงื่อนผูกมัดการใช้ทุนคล้ายทุนรัฐบาลไทยทั่วไป แต่จำกัดระยะเวลาปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่เกิน 10 ปี และอนุญาตให้ทำการวิจัยหลังปริญญาเอก 2 ปีก่อนกลับมาปฏิบัติงานชดใช้ทุน

โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
The Development and Promotion of Science and Technology Talents Project
ภาพรวมหน่วยงาน
สำนักงานใหญ่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • หัวหน้าสาขา, นางอรวรรณ อินทวิชญ
เว็บไซต์www3.ipst.ac.th/dpst
เชิงอรรถ
โครงการพิเศษ โดยมติคณะรัฐมนตรี

ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการจำนวนมาก โดยเข้าปฏิบัติงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ มีบุคลากรจากโครงการ พสวท. จำนวนมากที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากวงการวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลโครงการคือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ประวัติ แก้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและยิ่งนับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจ ที่มั่นคงมักจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูง จึงกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ

เมื่อพิจารณาถึงสภาพการผลิตนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย พบว่าผู้มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นพิเศษทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะเลือกเข้าศึกษาต่อใน คณะวิทยาศาสตร์น้อยลงทุกปี ส่วนใหญ่จะเลือกศึกษาในสาขาที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้ที่ ค่อนข้างสูง เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สภาพเช่นนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการได้แก่สถานภาพทางด้านสังคม อาชีพ รายได้บรรยากาศในการทำงานไม่เอื้อหรือจูงใจให้ผู้มีความสามารถสูงหันมาประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ปัญหาที่น่าวิตกอย่างยิ่งคือ ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะขาดผู้มีความสามารถสูงในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

รัฐบาลจึงมีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมมือกันจัดตั้งโครงการ พสวท. โดยการดำเนินการได้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2527 - 2533 และระยะที่ 2 2534 - 2539 และระยะที่ 3 พ.ศ. 2540 - 2544 นั้น และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีเห็นว่าผลการดำเนินงานสองระยะแรกได้ผลดี จึงมีมติ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2540 ให้โครงการ พสวท. เป็นงานประจำตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป

การคัดเลือกนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าโครงการ พสวท. แก้

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

ทางโครงการฯ จะจัดให้มีการสอบคัดเลือกนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั่วประเทศ ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 เข้าโครงการ พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุก ๆ ปี ปีละ 60 คน (ปัจจุบันเป็นจำนวน 100 ทุน) กระจายไปศึกษาตามศูนย์โรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการจะได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ โดยมีหลักสูตรโปรแกรมเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ การฝึกงานและการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ และได้ศึกษาต่อเนื่องในคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยที่เป็นคู่ศูนย์ หรืออาจจะได้รับการคัดเลือกให้ศึกษาต่อต่างประเทศจนสำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาเอก หรือปริญญาโทเป็นอย่างต่ำ จึงจะเข้าปฏิบัติงาน

ระดับอุดมศึกษา แก้

ทางโครงการ พสวท. จะจัดให้มีการสอบคัดเลือกนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 เข้าโครงการ พสวท ระดับปริญญาตรีทุก ๆ ปี ปีละ 60 คน และรับต่อเนื่องจากศูนย์โรงเรียนโครงการ พสวท.อีกปีละ 60 คน รวมทั้งสิ้น 120 คนต่อปี กระจายไปศึกษาตามศูนย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดย นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการจะได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ โดยมีกิจกรรม เสริมหลักสูตร เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา การนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา ดูงาน การร่วมประชุมวิชาการ และอาจจะได้รับการคัดเลือกให้ศึกษาต่อต่างประเทศจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือปริญญาโทเป็นอย่างต่ำ จึงจะเข้าปฏิบัติงานได้

สถานศึกษาที่เป็นศูนย์ของโครงการ พสวท. แก้

โครงการ พสวท. รับนักเรียนที่มีความสนใจและมีความสามารถพิเศษ ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากทั่วประเทศเข้าโครงการปีละ 120 คน โดยแบ่งเป็น การรับสมัครนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเข้าทุนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 60 คน และการรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเข้ารับทุนในระดับอุดมศึกษา จำนวน 60 คน โดยนักเรียนที่เข้ารับทุนในระดับมัธยมศึกษาต้องเข้าเรียนต่อใน คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่เป็นศูนย์พสวท.ต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษาของโรงเรียนนั้นๆ

มหาวิทยาลัย จำนวนนิสิตนักศึกษาที่รับเข้าโครงการต่อปี โรงเรียน จำนวนนักเรียนที่รับเข้าโครงการต่อปี
ภาคกลาง
มหาวิทยาลัยมหิดล 15 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 6
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 6
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 15 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ 6
มหาวิทยาลัยศิลปากร 15 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 6
ภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 20 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 12
ภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย 12
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 12

(ระดับมหาวิทยาลัยรวมจำนวนกับระดับมัธยมที่เป็น พสวท. จากศูนย์โรงเรียนไว้แล้ว)

สิทธิ์และหน้าที่ของของผู้เข้าร่วมโครงการ แก้

สิทธิประโยชน์และกิจกรรมเสริมเพิ่มพูนประสบการณ์ แก้

  1. ทุนการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ
  2. ค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับปริญญาตรี (ชั้นปีที่ 1, 2)
  3. โครงงานวิทยาศาสตร์และการนำเสนองานในการประชุมวิทยาศาสตร์ที่ พสวท. กำหนด อย่างน้อย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญาตรี อย่างละ 1 โครงงานและนำไปนำเสนอในการประชุมวิชาการที่ พสวท. จัด ปัจจุบันการจัดงานประชุมวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 2 งานคือ ระดับมัธยมศึกษา จัดโดยเวียนศูนย์โรงเรียนจัด สำหรับระดับอุดมศึกษา จัดในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน (วทท.เพื่อเยาวชน)
  4. ทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านภาษา และทุนสนับสนุนวิจัย

ทุนการศึกษา แก้

ต่อไปนี้เป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโครงการ พสวท. ต่อ 1 ปีการศึกษา

ระดับ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าหนังสืออ่านประกอบ
มัธยมศึกษาตอนปลาย 42,000 2,000
ปริญญาตรี (ในประเทศ) 48,000 5,000
ปริญญาโท (ในประเทศ) 66,000 10,000
เครื่องคอมพิวเตอร์ (สำหรับปริญญาโท) 40,000
ปริญญาเอก (ในประเทศ) 78,000 15,000
ปริญญาตรีหรือโทหรือเอก (ต่างประเทศ) ตามหลักเกณฑ์ทุนรัฐบาลสำนักงาน ก.พ.

สำหรับค่าเล่าเรียนเบิกจ่ายตามจริง

ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 มีการปรับเพิ่มทุนตามมติ ครม. ดังนี้

ระดับ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
มัธยมศึกษาตอนปลาย 73,200 2,000
ปริญญาตรี (ในประเทศ) 87,600 5,000
ปริญญาโท (ในประเทศ) 104,400 10,000
ปริญญาเอก (ในประเทศ) 144,000 15,000
ปริญญาตรีหรือโทหรือเอก (ต่างประเทศ) ตามหลักเกณฑ์ทุนรัฐบาลสำนักงาน ก.พ.

สำหรับค่าเล่าเรียนเบิกจ่ายตามจริง

เงื่อนไขและข้อผูกพัน แก้

1. นักเรียน นักศึกษาโครงการ พสวท. ทุกระดับจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ถ้าต่ำกว่า 3.00 อาจจะต้องพ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุน โดยจะต้องชดใช้ทุนหรือไม่ชดใช้ทุนอยู่ที่ดุลยพินิจของอนุกรรมการ ระดับอุดมศึกษา

2. เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องทำงานชดใช้ทุนในหน่วยงานของรัฐเป็นระยะเวลา 1 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนศึกษาภายในประเทศ และ 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนศึกษาต่อ ต่างประเทศ หากนับเวลาชดใช้ทุนมากกว่า 10 ปี จะกำหนดให้ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเพียง 10 ปี

ดูเพิ่ม แก้