โกสน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
สกุล: Codiaeum
สปีชีส์: C.  variegatum
ชื่อทวินาม
Codiaeum variegatum
(L.) A.Juss.
ชื่อพ้อง

จำนวนมาก รวมถึง

  • Codiaeum elegans G. Nicholson[1]

โกสน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Codiaeum variegatum) เป็นพืชท้องถิ่นของมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก[2] อยู่ในวงศ์ยางพารา ลักษณะเป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 2–3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ กว้าง 0.5–8 เซนติเมตร ยาว 5–30 เซนติเมตร มีหลายรูปแบบ เช่น รูปกลม แคบยาว บิดเป็นเกลียว ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยัก แผ่นใบมีสีต่าง ๆ เช่น เหลือง ส้ม ชมพู ดอกสีขาวออกเป็นช่อแบบกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 8–30 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกประมาณ 30–60 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็กมี 3–6 กลีบ กลีบดอก 5–6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ดอกออกตลอดปี ผลเป็นผลแบบแห้งแตกทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล 2–3 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร[3][4]

โกสนเป็นไม้มงคลเนื่องจากชื่อพ้องกับคำว่า กุศล จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความเป็นสิริมงคล[5] โดยปลูกในดินร่วน ได้รับแสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน โกสนเป็นพืชต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง[3] ทั้งต้นมียางสีขาวที่อาจก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบ[6] ใบอ่อนโกสนบางพันธุ์สามารถนำมารับประทานได้[7] ใบแก่มีรสเฝื่อน โขลกพอกท้องเด็กแก้โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ[8]

อ้างอิง แก้

  1. G. Nicholson Ill. Dict. Gard. 1: 352 1885
  2. Huxley, A., ed. (1992). New RHS Dictionary of Gardening 1: 665. Macmillan.
  3. 3.0 3.1 ไม้พุ่ม, อิศรา แพงสี, หน้า 23, พ.ศ. 2551, สำนักพิมพ์บ้านและสวน กรุงเทพฯ
  4. "โกสน (Codiaeum variegatum)". ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-12. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
  5. "ไม้มงคลที่ควรปลูก ต้นโกสน ราชาแห่งไม้ใบ เสริมบุญบารมี". Sanook. July 5, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-03. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
  6. Occupational contact dermatitis due to croton (Codiaeum variegatum (L.) A. Juss var. pictum (Lodd.) Muell. Arg.). Sensitization by plants of the Euphorbiaceae. Contact Dermatitis 1977 Dec. 3(6): 289-92. abstract.
  7. "'โกสน' ใบอ่อนกินได้". คมชัดลึก. May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ August 14, 2021.
  8. ""โกสน" ไม้ประดับที่ไม่ธรรมดา". ผู้จัดการ. March 20, 2018. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โกสน
  •   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Codiaeum variegatum ที่วิกิสปีชีส์