แฮมสเตอร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไมโอซีน - ปัจจุบัน
แฮมสเตอร์ซีเรียน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
อันดับย่อย: Myomorpha
วงศ์ใหญ่: Muroidea
วงศ์: Cricetidae
วงศ์ย่อย: Cricetinae
Fischer de Waldheim, 1817
Genera

Mesocricetus
Phodopus
Cricetus
Cricetulus
Allocricetulus
Cansumys
Tscherskia

แฮมสเตอร์ (อังกฤษ: hamster) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Cricetinae ในวงศ์ Cricetidae มีหลากหลายสกุล หลายชนิด

ลักษณะทั่วไป

แก้

ลักษณะโดยทั่วไปของแฮมสเตอร์ ขนาดตัวจะมีขนาดเล็ก อ้วนป้อม และมีหางสั้นกว่าลำตัว และมีขนาดเล็ก อย่างเห็นได้ชัด สีขนมีหลายสี เช่น ดำ, เทา, ขาว, น้ำตาล, เหลืองเข้ม, เหลือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดที่แตกต่างกันออกไป ส่วนสีขนด้านใต้ท้องจะเป็นสีขาว มีตาดวงกลมโตสีดำหรือแดง และจมูกที่ไวต่อการได้กลิ่นหอม

การค้นพบและที่มา

แก้

แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ในทะเลทรายของภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียกลาง จนถึงเอเชียตะวันออก ค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 กลางทะเลทรายซีเรียน และนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1930 ที่สหรัฐ

คำว่า "แฮมสเตอร์" (hamster) นั้นที่มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า "กระพุ้งแก้ม" เนื่องจากแฮมสเตอร์นั้นมีกระพุ้งแก้มที่ใช้สำหรับเก็บอาหารได้มาก เทียบเท่ากับมนุษย์หนึ่งคนที่เก็บอาหารที่มีน้ำหนักถึง 70 ปอนด์ ไว้ในกระพุ้งแก้ม[1]

สัตว์เลี้ยงและวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

ปัจจุบัน แฮมสเตอร์และแฮมสเตอร์แคระเป็นที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงไปทั่วโลก แฮมสเตอร์สามารถกินอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเมล็ดพืช เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่ชอบออกกำลังกายมาก ในแต่ละวัน ผู้เลี้ยงอาจจะหาลูกบอลกลมหรือกงล้อให้วิ่ง ซึ่งในแต่ละคืน แฮมสเตอร์สามารถวิ่งได้ไกลถึง 30 ไมล์ แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้เพียง 2 เดือนครึ่ง-3 เดือนเท่านั้น แต่ไม่สามารถที่จะผสมพันธุ์ขณะที่ลูกยังไม่อย่านมจะทำให้แม่แฮมสเตอร์นั้นเหนื่อยและไม่ส่งผลดีต่อร่างกายควรจะเว้นไว้สัก 2-3 เดือนเพื่อให้แม่แฮมสเตอร์ได้พักผ่อน[1]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แฮมสเตอร์ถูกสร้างเป็นอนิเมะสัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง Hamtaro (แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย) ซึ่งเคยถูกนำมาออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง 7 ในเวลา 06.00 น. ของวันเสาร์[2]

การจำแนก

แก้
 
แฮมสเตอร์ในฐานะสัตว์เลี้ยง
แฮมสเตอร์แคระวิ่งในจานล้อ
  • วงศ์ย่อย Cricetinae
    • สกุล Allocricetulus
      • A. curtatus - แฮมสเตอร์มองโกเลีย
      • A. eversmanni - แฮมสเตอร์คาซัค
    • สกุล Cansumys
      • C. canus - แฮมสเตอร์กานซู
    • สกุล Cricetulus
      • C. alticola - แฮมเตอร์เลเด็ก
      • C. barabensis, รวมถึง "C. pseudogriseus" และ "C. obscurus" - แฮมสเตอร์แคระลายแถบจีน, แฮมสเตอร์จีน
      • C. griseus - แฮมสเตอร์จีน
      • C. kamensis - แฮมสเตอร์ธิเบต
      • C. longicaudatus - แฮมสเตอร์หางยาว
      • C. migratorius - แฮมสเตอร์อาร์เมเนียน, แฮมสเตอร์แคระสีเทา, แฮมสเตอร์สีเทา
      • C. sokolovi - แฮมสเตอร์โซโคลอฟ
    • สกุล Cricetus
      • C. cricetus - แฮมสเตอร์ยุโรป, แฮมสเตอร์ธรรมดา
    • สกุล Mesocricetus - แฮมสเตอร์สีทอง
      • M. auratus - แฮมสเตอร์ซีเรียน, แฮมสเตอร์สีทอง, แฮมสเตอร์เท็ดดี้แบร์
      • M. brandti - แฮมสเตอร์ตุรกี, แฮมสเตอร์อาร์เซอร์ไบจัน
      • M. newtoni - แฮมสเตอร์โรมาเนียน
      • M. raddei - แฮมสเตอร์ซิสคูคาเซียน
    • สกุล Phodopus - แฮมสเตอร์แคระ
      • P. campbelli - แฮมสเตอร์แคระรัสเซียนแคมป์เบลล์
      • P. roborovskii - แฮมสเตอร์มองโกเลีย (บางครั้งใช้ชื่อว่า Allocricetulus curtatus)
      • P. sungorus - แฮมสเตอร์แคระขาว
    • สกุลTscherskia
      • T. triton - แฮมสเตอร์หางยาวใหญ่, แฮมสเตอร์เกาหลี[3][4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Pets 101 : Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556
  2. "แนะนำตัวการ์ตูน แฮมทาโร่ จากเอ็มไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ 2013-01-02.
  3. จาก itis.gov
  4. Fox, Sue. 2006. Hamsters. T.F.H. Publications Inc.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้