แอร์แบร์ที่ 2 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
แอร์แบร์ที่ 2 (ฝรั่งเศส: Herbert II; เสียชีวิตวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 943) เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว, เคานต์แห่งโม และเคานต์แห่งซัวซง เป็นบุคคลแรกที่ปกครองอาณาเขตที่ภายหลังกลายเป็นจังหวัดช็องปาญ
แอร์แบร์ที่ 2 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว | |
---|---|
แอร์แบร์ที่ 2 ถูกแขวนคอตามพระราชดำรัสสั่งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (เรื่องแต่ง)[1] | |
เคานต์แห่งซัวซง | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 907–930 |
ก่อนหน้า | แอร์แบร์ที่ 1 |
ถัดไป | กีย์ที่ 1 |
เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 907–943 |
ก่อนหน้า | แอร์แบร์ที่ 1 |
ถัดไป | อาดัลแบร์ที่ 1 |
เคานต์แห่งโม | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 907–943 |
ก่อนหน้า | แอร์แบร์ที่ 1 |
ถัดไป | รอแบร์แห่งแวร์ม็องดัว |
ประสูติ | ป. ค.ศ. 880 |
สวรรคต | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 943 แซ็ง-ก็องแต็ง ประเทศฝรั่งเศส |
คู่อภิเษก | Adele |
พระราชบุตร | Eudes อาดัลแบร์ที่ 1 อาเดลา แอร์แบร์ผู้ชรา รอแบร์ ลีเยการ์ด อูกแห่งแวร์ม็องดัว กีย์ที่ 1 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์การอแล็งเฌียง |
พระราชบิดา | แอร์แบร์ที่ 1 |
พระราชมารดา | Bertha |
ประวัติ
แก้แอร์แบร์เป็นบุตรชายของแอร์แบร์ที่ 1 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว[2] เป็นลูกหลานของชาร์เลอมาญ[3] แอร์แบร์สืบทอดต่อดินแดนของบิดาและได้วิหารแซ็ง-เมดาร์ในซัวซงมาเพิ่มใน ค.ศ. 907 ครองตำแหน่งเป็นอธิการฆราวาสซึ่งทำให้เขาได้สิทธิ์ในรายได้ของวิหารดังกล่าว การแต่งงานกับพระธิดาของพระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทำให้เขาได้เคาน์ตีโมมาอยู่ในการครอบครอง[4]
ใน ค.ศ. 922 เมื่อเซยุล์ฟกลายเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์ เพื่อเอาใจแอร์แบร์ที่ 2 เซยุล์ฟสัญญาว่าจะเสนอชื่อเขาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง[5] ใน ค.ศ. 923 แอร์แบร์จองจำพระเจ้าชาร์ลที่ 3 ที่ถูกจองจำจนสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 929[a][4] เมื่อเซยุล์ฟเสียชีวิตใน ค.ศ. 925 แอร์แบร์ได้ตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์มาให้บุตรชายคนที่สอง อูก ที่ตอนนั้นอายุห้าขวบ ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้ารุดอล์ฟ[7] แอร์แบร์เดินหน้าต่อด้วยการส่งคณะทูตไปโรมเพื่อขอการอนุมัติรับรองตำแหน่งจากสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 10 ที่ให้การอนุมัติใน ค.ศ. 926[5] ทำให้อูกน้อยผู้ได้รับเลือกถูกส่งตัวไปศึกษาเล่าเรียนที่โอแซร์[3]
ใน ค.ศ. 926 หลังการเสียชีวิตของเคานต์รอเฌที่ 1 แห่งล็อง แอร์แบร์เรียกร้องตำแหน่งเคานต์ให้กับอูด บุตรชายคนโต[8] เขาท้าทายพระเจ้ารุดอล์ฟด้วยการยึดเมืองอันนำไปสู่การกระทบกระทั่งกันระหว่างคนทั้งสองใน ค.ศ. 927[3] อาศัยการข่มขู่ว่าจะปล่อยตัวพระเจ้าชาร์ลที่ตนจองจำอยู่ แอร์แบร์สามารถครองเมืองอยู่ได้เป็นเวลานานกว่าสี่ปี[3] แต่หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลใน ค.ศ. 929 รุดอล์ฟโจมตีล็องอีกครั้งใน ค.ศ. 931 และปราบแอร์แบร์ได้สำเร็จ[3] ในปีเดียวกันกษัตริย์ยกทัพเข้าสู่แร็งส์และปราบอาร์ชบิชอปอูก บุตรชายของแอร์แบร์[9] อาร์ทูต์กลายเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์คนใหม่[9] จากนั้นในเวลาสามปี แอร์แบร์ที่ 2 เสียวีทรี, ล็อง, ชาโต-ตีแยรี และซัวซง[10] การยื่นมือเข้ามาแทรกแซงของพันธมิตรของแอร์แบร์ พระเจ้าไฮน์ริชผู้เป็นพรานล่านก ทำให้แอร์แบร์ได้ดินแดนกลับคืนมา (ยกเว้นแร็งส์กับล็อง) แลกกับการสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ารุดอล์ฟ
ต่อมาแอร์แบร์จับมือกับอูกมหาราชและวิลเลียมดาบยาว ดยุคแห่งนอร์ม็องดีปราบพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ที่มอบเคาน์ตีล็องให้แก่รอเฌที่ 2 บุตรชายของรอเฌที่ 1 ในปี ค.ศ. 941 แอร์แบร์กับอูกมหาราชได้แร็งส์กลับคืนมาและจับกุมตัวอาร์โตได้[11] อูก บุตรชายของแอร์แบร์ ได้ตำแหน่งอาร์ชบิชอปกลับคืนมาอีกครั้ง[11] การเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยอีกครั้งของกษัตริย์เยอรมนี พระเจ้าอ็อทโทที่ 1 ในวีเซ ใกล้กับลีแยฌ ในปี ค.ศ. 942 ทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติสุขอีกครั้ง
การเสียชีวิตและมรดก
แก้แอร์แบร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 943 ที่แซ็ง-ก็องแต็งในแอน (เมืองหลวงของเคาน์ตีแวร์ม็องดัว) ด้วยสาเหตุตามธรรมชาติ[12] ส่วนเรื่องราวที่เขาถูกแขวนคอโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 (ดูภาพข้างบน) ในช่วงการล่าสัตว์เป็นเรื่องแต่ง[b] บุตรชายของเขาแบ่งทรัพย์สินที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลกัน[13] แวร์ม็องดัวกับอาเมียงตกเป็นของสองบุตรชายคนโต ขณะที่รอแบร์กับแอร์แบร์ สองบุตรชายคนเล็ก ได้ครอบครองที่ดินที่กระจายตัวอยู่ทั่วช็องปาญ[13] เมื่อรอแบร์เสียชีวิต พี่ชายของเขา แอร์แบร์ที่ 3 สืบทอดต่อที่ดินทั้งหมด บุตรชายคนเดียวของแอร์แบร์ สตีเฟน เสียชีวิตโดยไร้บุตรในปี ค.ศ. 1019–1020 จึงเป็นการสิ้นสุดสายตระกูลทางเพศชายของแอร์แบร์ที่ 2[13]
ครอบครัว
แก้แอร์แบร์แต่งงานกับอาเดล พระธิดาของพระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส[14] ทั้งคู่มีบุตรธิดาด้วยกัน คือ
- อูดแห่งแวร์ม็องดัว เคานต์แห่งอาเมียงและเวียน (ป. ค.ศ. 910–946)[15]
- อาดัลแบร์ที่ 1 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว (ป. ค.ศ. 915–987) สมรสกับแฌร์แบร์ฌแห่งลอแรน[16]
- อาเดลาแห่งแวร์ม็องดัว (ค.ศ. 910–960) สมรสกับอาร์นูล์ฟที่ 1 เคานต์แห่งฟลานเดอส์ใน ค.ศ. 934[15]
- แอร์แบร์ผู้ชรา (ป. ค.ศ. 910–980) เคานต์แห่งโอมัว, โม และทรัว และพระอธิการแห่งแซ็ง-เมดาร์ในซัวซง ใน ค.ศ. 951 เขาได้สมรสกับอีดจิฟูแห่งเวสเซ็กซ์ พระธิดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส กษัตริย์แห่งอังกฤษ พระมเหสีม่ายของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส[c][15]
- รอแบร์แห่งแวร์ม็องดัว เคานต์แห่งโมและชาลง (เสียชีวิต ค.ศ. 967)[15]
- ลีเยการ์ดแห่งแวร์ม็องดัว (ค.ศ. 915–978) สมรสกับวิลเลียมที่ 1 ดยุคแห่งนอร์ม็องดีใน ค.ศ. 940 [16] จากนั้นสมรสครั้งที่ 2 กับตีโบที่ 1 แห่งบลัวป. ค.ศ. 943–44[d] มีบุตรชายด้วยกันคือโอโดที่ 1 แห่งบลัว[16]
- อูกแห่งแวร์ม็องดัว (ค.ศ. 920–962) อาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์[16]
- กีย์ที่ 1 เคานต์แห่งซัวซง (เสียชีวิต ค.ศ. 986)[18]
หมายเหตุ
แก้- ↑ พระเจ้าชาลส์เป็นพระราชบิดาอุปถัมภ์ของหนึ่งในบุตรของแอร์แบร์ที่ 2[6]
- ↑ รายงานอันเร้าใจในการเสียชีวิตของแอร์แบร์ที่ 2 น่าจะเป็นเรื่องแต่ง โดยมีที่มาจาก Deeds of the Abbots of St. Bertin ของ Folcwin ซึ่งเขียนไว้ประมาณ ค.ศ. 960 ในรัชสมัยของพระเจ้าโลแทร์ที่ 3 (ค.ศ. 954-986) พระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 Flodoard แห่งแร็งส์ ผู้ที่พงศาวดารร่วมสมัยให้ข้อมูลทางการเมืองที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ไม่ได้ระบุว่ากษัตริย์มีบทบาทในการเสียชีวิตของแอร์แบร์[1]
- ↑ แอร์แบร์ผู้ชรา เคานต์แห่งโม บุตรในแอร์แบร์ที่ 2 บางครั้งสับสนกับแอร์แบร์ที่ 3 หลานชายผู้ดำรงตำแหน่งเคานต์แห่งโมและทรัว บุตรในรอแบร์ เคานต์แห่งโม ผู้ที่สมรสกับอีดจิฟูแห่งเวสเซ็กซ์ใน ค.ศ. 951 คือแอร์แบร์ผู้ชรา ส่วนแอร์แบร์ที่ 3 หลานชายยังไม่ถือกำเนิดจนกระะทั่ง ป. ค.ศ. 950[13]
- ↑ ตามความจริงแล้ว อูกมหาราชให้ภรรยาหม้ายของวิลเลียม ลองซอร์ด แก่ Theobald 'the Deceiver' เคานต์แห่งบลัว ขุนนางของพระองค์ โดยใช้โอกาสตอนที่ผู้สืบทอดของแอร์แบร์ที่ 2 ยังเป็นหนุ่ม แต่ Glaber เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการฆาตกรรม Theobald 'the Deceiver' ของดยุก วิลเลียม แทนที่จะเป็นอาร์นูล์ฟแห่งฟลานเดอส์[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Goldberg 2020, p. 213.
- ↑ McKitterick 1999, p. 360-361.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Bradbury 2007, p. 36.
- ↑ 4.0 4.1 Taitz 1994, p. 42.
- ↑ 5.0 5.1 Duckett 1967, p. 155.
- ↑ Glaber 1989, p. 12-13 n 1.
- ↑ Fanning & Bachrach 2011, p. 14–15.
- ↑ Fanning & Bachrach 2011, p. 15-16.
- ↑ 9.0 9.1 Fanning & Bachrach 2011, p. 21.
- ↑ Fanning & Bachrach 2011, p. 20–24.
- ↑ 11.0 11.1 Duckett 1967, p. 157.
- ↑ Dunbabin 1985, p. 96.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Norgate 1890, p. 488.
- ↑ Fanning & Bachrach 2011, p. 21 n.77.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 McKitterick 1999, p. 360.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 McKitterick 1999, p. 361.
- ↑ Glaber 1989, p. 164-165 n. 2.
- ↑ Marignan et al. 1906, p. 28.
ข้อมูล
แก้- Bradbury, Jim (2007). The Capetians: Kings of France, 987–1328. Hambledon Continuum.
- Duckett, Eleanor Shipley (1967). Death and life in the tenth century. University of Michigan Press.
- Dunbabin, Jean (1985). France in the Making 843-1180. Oxford University Press.
- Fanning, Steven; Bachrach, Bernard S., บ.ก. (2011). The Annals of Flodoard of Reims, 916–966. University of Toronto Press.
- Glaber, Rodulfus (1989). France, John (บ.ก.). The Five Books of the Histories. The Clarendon Press.
- Goldberg, Eric J. (2020). In the Manner of the Franks: Hunting, Kingship, and Masculinity in Early Medieval Europe. University of Pennsylvania Press.
- Marignan, Albert; Platon, Jean Georges; Wilmotte, Maurice; Prou, Maurice, บ.ก. (1906). Le Moyen âge (ภาษาฝรั่งเศส). Librairie Ancienne Honore Champion, Editeur.
- McKitterick, Rosamond (1999). The Frankish Kingdoms under the Carolingians, 751-987. Longman.
- Norgate, Kate (1890). "Odo of Champagne, Count of Blois and Tyrant of Burgundy". The English Historical Review. 5, No. 19 (July).
- Taitz, Emily (1994). The Jews of Medieval France: The Community of Champagne. Greenwood Press.