แอร์ อาระเบีย (อาหรับ: العربية للطيران) คือ สายการบินต้นทุนต่ำ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในศูนย์ขนส่งสินค้าชาร์จาห์ ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์จาห์, ชาร์จาห์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

แอร์ อาระเบีย
IATA ICAO รหัสเรียก
G9 ABY ARABIA
ก่อตั้ง3 กุมภาพันธ์ 2546
เริ่มดำเนินงาน28 ตุลาคม 2546
ท่าหลัก
สะสมไมล์Airewards
พันธมิตรการบินองค์การขนส่งทางอากาศอาหรับ
บริษัทลูก
ขนาดฝูงบิน44
จุดหมาย115
สำนักงานใหญ่
บุคลากรหลัก
รายได้เพิ่มขึ้น AED 3.7 billion(FY 2014)[1]
กำไร
เพิ่มขึ้น AED 566 million(FY 2014)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น AED 10.574 million (FY 2014)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง AED 5.054 million (FY 2014)[2]
พนักงาน
2,302 (Dec, 2013)[3]
เว็บไซต์www.airarabia.com

สายการบินดำเนินการให้บริการสู่จุดหมายปลายทาง 51 สถานที่ใน ตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ, ชมพูทวีป, เอเชียกลาง และ ยุโรปใน 22 ประเทศจากชาร์จาห์ 28 จุดหมายปลายทางใน 9 ประเทศจากคาซาบลังกา, เฟซ, นาดอร์ และ แทนเจียร์ และ 6 จุดหมายปลายทางใน 4 ประเทศจากอะเล็กซานเดรีย

ท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์จาห์ สิ่งที่แตกต่างของแอร์อาระเบียที่เป็นสารการบินต้นทุนต่ำที่ให้บริการเชื่อมต่อกับหลายเที่ยวบินในท่าอากาศยานหลัก โดยมุ่งเน้นไปในกลุ่มเมืองอะเล็กซานเดรียและคาซาบลังกา[4]

ประวัติ แก้

แอร์ อาระเบีย (العربية للطيران) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 โดย พระราชกฤษฎีกาอามีรี่ ออกโดย สุลต่าน บิน โมฮัมหมัด อัล กาซิมี่ ตามกฏของ ชาร์จาห์ และเป็นสมาชิกของ สภาสูงสุดของสหรัฐอาหรับเอมิ กลายเป็นสารการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกของภูมิภาค โดยเริ่มดำเนินการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2546 ด้วยเที่ยวบินจาก ชาร์จาห์ ยูเออี ถึง ท่าอากาศยานนานาชาติบาห์เรน และสามารถทำกำไรตั้งแต่ปีที่ก่อตั้ง ในช่วงต้นปี 2549 ได้เสนอขายหุ้นครั้งแรกจำนวน 55% ของหุ้นบริษัท

กิจการของบริษัท แก้

 
An Air Arabia Airbus A320-200 approaching Toulouse–Blagnac Airport (2012)

ผู้บริการและเจ้าของ แก้

แอร์อาระเบียเปิดตัวในปี 2546 เป็นสารการบินต้นทุนต่ำแห่งแรกในตะวันออกกลาง ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดูไบ ภายใต้ชื่อ (DFM: AIRARABIA) ซึ่งทำให้ตอนนี้เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์กว่า 10,000 ล้าน AED แอร์อาระเบียในวันนี้ประกอบด้วยกลุ่มของสารการบินและบริษัทที่ให้บริการการท่องเที่ยวในตะวันออกลางและแอฟริกาเหนือ

คณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิก 7 คน โดยได้รับการคัดเลือกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี แอร์อาระเบียได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการและอุปสรรคทางการค้าอย่างใกล้ชิด

Board Member Title
อับดุลลา บิน โมฮัมหมัด อัล ทานี่ ประธานกรรมการบริการ
อเดล อับดุล อลิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร
ดร. การ์เนม โมฮัมเม็ด อัล ฮาจรี่ กรรมการอิสระ
อะรีฟ นาควิ สมาชิกไม่บริหาร
อับดุลลา บิน โมฮัมหมัด อัล ทานี่ กรรมการอิสระ
ชีค คาลิด อิสสาม อัล การ์สสิมี่ กรรมการอิสระ
อลิ ซาลิม อัล มิดฟา กรรมการอิสระ

สำนักงานใหญ่ แก้

สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท่าอากาศยานนานาชาติซาร์จาห์[5]

พันธมิตรทางการค้า แก้

 
An Air Arabia Airbus A320-200 (2012)

สารการบินแอร์อาระเบียได้ทำสัญญากิจการร่วมค้าในสี่สถานีหลัก โดยเป็นการร่ามทุนกับสายการบินแบร์สกินลาร์คแอร์เซอร์วิส

อียิปต์ แก้

แอร์อาระเบีย อียิปต์ เริ่มดำเนินการร่วมทุนกันระหว่างแอร์อาระเบียและอียิปต์เตียนทราเวลและบริษัทการท่องเที่ยว ทราฟโค กรุ๊ป โดยใช้ชื่อว่า "แอร์อาระเบีย อียิปต์" โดยมีสนามบินหลักอยู่ที่ อเล็กซานเดรีย อียิปต์[6] โดยสารการบินได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 พฤศภาคม 2553 และดำเนินการให้บริการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน  2553 มีเครื่องให้บริการจำนวน 3 ลำ ในจำนวน  2 ลำให้บริการตามตารางการบิน และอีก 1 ลำ เป็นการให้บริการแบบเช่าเหมาลำจากยุโรปมายังทะเลแดง

จอร์แดน แก้

แอร์อาระเบีย จอร์แดน ใช้ตัวย่อในสมาคมระหว่างประเทศ IATA คือ ทีบีเอ (TBA) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 สารการบินแอร์อาระเบียได้มีข้อตกลงกับ ทานทาสกรุ๊ป เพื่อจัดตั้ง "สารการบินแอร์อาระเบีย" มีฐานหลักอยู่ที่ อัมมาน จอร์แดน ปฏิบัติการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติควีนอาเลีย ไปยัง ยุโรป,ตะวันออกกลาง และ อเมริกาเหนือ[7] เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 สารการบินได้ประกาศถึงความล่าช้าที่จะเป็นศูนย์กลาวของประเทศรวมถึงปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น[8] เดือนมกราคม 2558 สารการบินแอร์อาระเบียออกมาประกาศการเข้าซื้อกิจการของสารการบินเพตราในอัตราส่วนร้อยล่ะ 49 โดยผู้ถือหุ้นหลักของสารการบินเพตรายังคงถือหุ้นในอัตราส่วนร้อยล่ะ 51 และจะมีการรีแบรนด์สารการบินแอร์อาระเบีย จอร์แดนในช่วงต้นปีนี้อีกด้วย โดยจะมีการเพิ่มเครื่องบิน เอ320  อีก 2 ลำ เพื่อจะได้เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงอัมมาน[9] แอร์อาระเบีย จอร์แดน ยังได้เปิดเส้นทางใหม่ไปยัง คูเวต, ชาม เอล เช็ค, เออบิล และ เจดด้า

โมรอคโค แก้

แอร์ อาระเบีย มารอค (2552-ปัจจุบัน) - เป็นสารการบินร่วมทุนของสารการบินแอร์อาระเบียและนักลงทุนชาวโมรอคโค เนื่องจากโมรอคโคเป็นเหมือนที่มีขนาดใหญ่ในแถบคาซาบลังกา เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 6 พฤศภาคม 2552 เป็นการขยายเส้นทางการบินไปในแถบยุโรป และแอฟริกา แอร์ อาระเบีย มารอค มีเครื่องบินจำนวน 4 ลำที่ให้บริการไปยังจุดหมายปลายทางในยุโรป

เนปาล แก้

ฟลาย เยติ (2550-2551) ปี 2551 สารการบินแอร์อาระเบียได้ตั้งฐานการบินที่เมืองกาตมานดุ ของเนปาลเพื่อทำการบินในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง โดยทำการทำข้อตกลงกับสายการบินเยติ โดยเป็นสารการบินต้นทุนต่ำ ในชื่อ ฟลายเยติ แต่เนื่องจากสภาพการเมืองและเศรษฐกิจไม่ดีในประเทศ ทำให้สายการบินต้องหยุดการให้บริการลงในปี 2551


จุดหมายปลายทาง แก้

ปลายปี 2557 แอร์อาระเบียให้บริการส่งผู้โดยสารไปยัง 100 ท่าอากาศยานในตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, เอเชียและยุโรป และล่าสุดที่ ไคโรประเทศอียิปต์.[10][11]


ตารางแสดงจำนวนจุดหมายปลายทางที่สายการบินแอร์อาระเบียให้บริการ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558:

เมือง ประเทศ IATA ICAO ท่าอากาศยาน บินตรง
ชาร์จาห์ สหรัฐอาหรับเอมิเรต SHJ OMSJ ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์จาห์ 65
ราส อัล-ไคมาห์ สหรัฐอาหรับเอมิเรต RKT OMRK ท่าอากาศยานนาชาติราส อัล-ไคมาห์ 10
อะเล็กซานเดรีย อียีปต์ HBE HEBA ท่าอากาศยานเบิกแอนเดอเอลอาหรับ 7
คาซาบลังกา โมรอคโค CMN GMMN ท่าอากาศนานาชาติโมฮัมหมัดที่ห้า 12
แทนเจียร์ โมรอคโค TNG GMTT ท่าอากาศยานแทนเจียร์อีบัน บัตทัวต้า 7
นาดอร์ โมรอคโค NDR GMMW ท่าอากาศนานาชาตินาดอร์ 6
เฟซ โมรอคโค FEZ GMFF ท่าอากาศยานเฟส-ไซส์ 1
อัมมาน จอร์แดน AMM OJAI ท่าอากาศยานานาชาติควีนอะเลีย 7

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Air Arabia 2014 full year net profit climbs 30% to AED 566 million". สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2015.
  2. 2.0 2.1 "Air Arabia Balance Sheet". GulfBase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Air Arabia Member profile". Arab Air Carriers Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Directory: World Airlines". Flight International. 27 มีนาคม 2007. p. 52.
  5. "Contact Info เก็บถาวร 2012-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Air Arabia. Retrieved on 21 June 2010. "Air Arabia (UAE) Air Arabia Head Quarters Sharjah Freight Center (Cargo),at Sharjah International Airport P.O. Box 132 Sharjah, United Arab Emirates" - Arabic เก็บถาวร 2013-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "العربية للطيران الامارات مركز الشارقة لنقل البضائع (الشحن) ،بالقرب من مطار الشارقة الدولي ص. ب. 132 الشارقة، الإمارات العربية المتحدة"
  6. "Air Arabia announced new Egyptian airline". Airarabia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2011.
  7. "Air Arabia signs deal to launch budget carrier in Jordan". Arabianbusiness.com. 7 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2011.
  8. "Air Arabia delays Jordan plans amid unrest, fuel prices" เก็บถาวร 2014-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters. June 14, 2011. Accessed June 14, 2011
  9. "Air Arabia Expands into Jordan". Airliner World: 13. มีนาคม 2015.
  10. "Destinations - Air Arabia". Air Arabia. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2013.
  11. "Air Arabia adds Cairo as its 90th Worldwide Destination". IANS. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้