แอมานุแอล เดอ กรูชี

แอมานุแอล เดอ กรูชี, มาร์กี เดอ กรูชี (ฝรั่งเศส: Emmanuel de Grouchy) (23 ตุลาคม ค.ศ. 1766 - 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1847)เป็นผู้นำทหารชาวฝรั่งเศสที่ได้เข้ารับราชการทหารในช่วงสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน เขาเป็นจอมพลแห่งจักรวรรดิคนสุดท้ายที่นโปเลียนได้แต่งตั้ง และเป็นที่รู้จักดีที่สุดจากวีรกรรมของเขาในช่วงการทัพวอเตอร์ลู

จอมพลแห่งจักรวรรดิ

แอมานุแอล เดอ กรูชี

มาร์ควิสแห่งกรูชี
เกิด23 ตุลาคม ค.ศ. 1766
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต29 พฤษภาคม ค.ศ. 1847 (80 ปี)
แซ็งเตเตียน ประเทศฝรั่งเศส
รับใช้ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
ฝรั่งเศสราชวงศ์บูร์บง
ฝรั่งเศสราชวงศ์ออร์เลอ็อง
ประจำการ1779–1815
ชั้นยศจอมพลแห่งจักรวรรดิ

ช่วงชีวิตต้น แก้

กรูชี เกิดในปารีส เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1766 ในครอบครัวตระกูลขุนนางแห่งดาบ บุตรชายของฟร็องซัว-ฌัก เดอ กรูชี มาร์กี เดอ กรูชีที่ 1 (เกิดใน ค.ศ. 1715) และฌิลแบร์ต เฟรโต เดอ เปนี (ตายใน ค.ศ. 1793)[1] เขาเติบโตที่ชาโต เดอ วิลเลตต์ (เรียกว่า "แวร์ซายเล็ก") ที่ดินของตระกูลของเขาในเมืองกงเดกูร์(Condécourt) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปารีส[2] เขาเป็นน้องชายของโซเฟีย เดอ คอนดอร์เซต เจ้าของร้านเสริมสวยและนักเขียน[3] น้องสาวอีกคน นามว่า ชาร์ล็อตต์ เป็นภรรยาของนักสรีรวิทยาและนักปรัชญานามว่า ปิแอร์ คาบานิส[4]

เนื่องจากได้ถูกกำหนดให้เป็นทหารตั้งแต่แรกเกิด กรูชีได้เข้าเรียนที่โรงเรียนทหารปืนใหญ่แห่งสทราซบูร์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1780 ถึง ค.ศ. 1781 ซึ่งได้สำเร็จการศึกษาในฐานะนายทหารยศร้อยโทในกรมทหารลา แฟรร์[5][6] ต่อมาได้ถูกย้อยไปเป็นทหารม้าใน ค.ศ. 1782 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายทหารยศร้อยเอกในกรมทหารหลวงต่างด้าว (Royal Foreign Regiment) ใน ค.ศ. 1784[7] ใน ค.ศ. 1785 กรูชีได้รับการเสนอต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายทหารยศพันโทในกองทหารรักษาพระองค์แห่งกองร้อยสก็อตติซ[8]

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส แก้

แม้ว่าเขาจะเกิดเป็นชนชั้นสูงและเกี่ยวข้องกับราชสำนัก กรูชีเป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 ร่วมกับพี่เขยของเขาอย่างมาร์กี เดอ คอนดอร์เซต และส่งผลทำให้ต้องออกจากกองทหารรักษาพระองค์[9][10] เนื่องจากได้ปฏิเสธที่จะอพยพ กรูชียังคงยึดมั่นต่อการปฏิวัติและกลับมาเข้าร่วมกองทัพอีกครั้ง[11] ใน ค.ศ. 1791 เขาได้เป็นพันโทของกรมทหารที่ 12 แห่งทหารม้าพราน[12] ใน ค.ศ. 1792 เขาได้ทำหน้าที่ในช่วงการบุกครองซาวอย ครั้งแรกในฐานะพันเอกของกรมทหารที่ 12 แห่งทหารม้าพราน จากนั้นในกรมทหารม้าดรากูนที่ 2[13] ภายหลังการทัพ ค.ศ. 1793 กรูชีได้รับการเลื่อนยศเป็นนายพลกองพลน้อยและแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารม้าในกองทัพแห่งแอลป์[14]

.ใน ค.ศ. 1794 กรูชีได้ถูกส่งไปยังสงครามในวองเด ซึ่งเขาได้สร้างชื่อเสียงในการปกป้องน็องต์จากฝ่ายกบฎนิยมเจ้าที่นำโดยฟร็องซัว เดอ ชาร์แร็ตส์ ซึ่งทำให้เขาได้รับตำแหน่งยศนายพลแห่งกองพล[15] หลังจากนั้นไม่นาน เขาถูกไล่ออกจากกองทัพด้วยสถานะที่เป็นชนชั้นสูงแต่กำเนิด และยังคงเป็นทหารธรรมดาในกองกําลังป้องกันชาติฝรั่งเศส[16] กรูชีได้รับคืนตำแหน่งในปีถัดไปและกลับไปยังฝรั่งเศสตะวันตก ซึ่งเขาได้เข้าประจำการภายใต้นายพล ลาซาร์ โฮเซ่ ในการป้องกันการกรีฑาทัพกีเบอรอน(Quiberon Expedition) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1795[17] ในปลายปี ค.ศ. 1796 เขาได้มีส่วนร่วมในการกรีฑาทัพไอร์แลนด์ (expedition to Ireland) ซึ่งประสบความล้มเหลวในฐานะผู้บัญชาการคนที่สองของโฮเช่ และในปีถัดไป เขาได้ถูกกำหนดให้อยู่ในกองทัพภาคเหนือ[18]

กรูชีได้ถูกส่งไปประจำการในอิตาลี ค.ศ. 1798 ภายใต้คำสั่งของนายพลฌ็อง-บาติสต์ ฌูร์ด็อง[19] ด้วยความสามารถที่เก่งกาจ เขาสามารถเกลี้ยกล่อมชาร์ล แอมานุแอลที่ 4 กษัตริย์แห่งซาร์ดิเนีย ให้ประกาศสละอำนาจปกครองเหนือปีดมอนต์ จากนั้นได้รับมอบหมายจากคณะดีแร็กตัวร์ให้มีหน้าที่จัดระเบียบดินแดนที่ถูกยึดครอง[20] เขาได้ขอเข้าร่วมการทัพในอียิปต์ แต่นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ตกลับเลือกนายพลหลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเยแทน[21] กรูชียังคงอยู่ในกองทัพแห่งอิตาลี และมีชื่อเสียงมากมายในฐานะผู้บัญชาการกองพลในการทัพต้านทานออสเตรียและรัสเซีย ใน ค.ศ. 1799[22] ในตอนที่กำลังทำการคุ้มกันการล่าถอยของฝรั่งเศส ภายหลังความพ่ายแพ้ในยุทธการที่โนวี กรูชีได้รับบาดเจ็บถึงสิบสี่ครั้งและถูกจับเข้าคุก[23]

ในช่วงที่เขาถูกจองจำซึ่งกินเวลาเกือบหนึ่งปี กรูชีได้ประท้วงในจดหมายต่อต้านรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ของโบนาปาร์ต จากนั้นก็ก่อตั้งระบอบกงสุลขึ้นมา และจดหมายฉบับนี้ได้ถูกลงนามโดยเจ้าหน้าที่นายทหารหลายคน[24] แม้ว่าจะมีการประท้วง เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัว เขาก็กลับมาทำงานอีกครั้งโดยกงสุลเอก และสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองอีกครั้งในยุทธการที่โฮเฮนลินเดน[23] ภายหลังสนธิสัญญาลูว์เนวีล เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรนายพลแห่งทหารม้า[25] หลังจากเหตุการณ์กาดูดาล กรูชีตกอยู่ภายใต้ความสงสัยของโบนาปาร์ตมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากเขาคบหาสมาคมกับนายพลฌ็อง โมโร แต่ไม่นานก็กลับมาเป็นที่โปรดปราน และใน ค.ศ. 1803 เขาได้รับภารกิจในการทำให้ชาร์ล หลุยส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นกษัตริย์แห่งอิทรูเรีย[26]

สงครามนโปเลียน แก้

สมัยร้อยวัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  2. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  3. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  4. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  5. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  6. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  7. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  8. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  9. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  10. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  11. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  12. Fitzpatrick, Timothy (2019). The Long Shadow of Waterloo: Myths, Memories and Debates. Casemate Publishers. ISBN 978-1612007625.
  13. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  14. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  15. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  16. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  17. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  18. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  19. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  20. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  21. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  22. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  23. 23.0 23.1 Chisholm 1911, p. 624.
  24. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  25. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.
  26. Robert, Adolphe; Cougny, Gaston (1891). Dictionnaire des parlementaires français [Dictionary of French Parliamentarians] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. pp. 264–265.