"แอตลาสต์" (อังกฤษ: At Last) คือเพลงในปี พ.ศ. 2484 ประพันธ์โดย แม็ก กอร์ดอน (อังกฤษ: Mack Gordon), แฮรรี่ วาร์เรน (อังกฤษ: Harry Warren) เพลงนี้นำมาขับร้องครั้งแรกโดย Glenn Miller แม้ว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่นิยมของ Glenn แต่มันก็ถูกลืมเลือนไป จนกระทั่งได้นำมาขับร้องใหม่อีกครั้งโดยเอตตา เจมส์

"แอตลาสต์"
ซิงเกิลโดยเกล็น มิลเลอร์และวงออเคสตราของเขา
ด้านเอ"(I've Got a Gal In) Kalamazoo"
วางจำหน่าย2484 (2484)
แนวเพลงป็อป
ค่ายเพลงอาร์ซีเอ
ผู้ประพันธ์เพลง

ฉบับของเอตตา เจมส์

แก้
"แอตลาสต์"
ซิงเกิลโดยเอตตา เจมส์
จากอัลบั้มแอตลาสต์!
ด้านบี"I Just Want to Make Love to You"
วางจำหน่าย15 พฤศจิกายน 2504 (2504-11-15)
บันทึกเสียง2504
แนวเพลง
ความยาว3:00
ค่ายเพลงอาร์โก
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
ลำดับซิงเกิลของเอตตา เจมส์
"สปูนฟูล"
(2503)
"แอตลาสต์"
(2504)
"ดอนต์ครายเบบี"
(2504)
มิวสิกวิดีโอ
"At Last" ที่ยูทูบ

เพลง "แอตลาสต์" เป็นเพลงที่ 3 ของเพลงสตริงที่ประสพความสำเร็จในอัลบั้ม "แอตลาสต์!" (อังกฤษ: At Last!) เพลงนี้เผยแพร่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2504 เพลงนี้เป็นเพลงแนวอาร์แอนด์บียอดนิยมอันดับ 2 ของเธอ ขึ้นอันดับที่ 47 ในชาร์ตบิลบอร์ดเพลงยอดนิยม 100 เพลง

ในช่วงทศวรรษที่เพลงนี้เผยแพร่ ได้นำมาร้องใหม่โดยนักร้องมากมายอันได้แก่ Ella Fitzgerald, Phoebe Snow, Nat King Cole, Miles Davis, เซลีน ดิออน (อัลบั้มอะนิวเดย์แฮสคัม), Lou Rawls, Eva Cassidy, คริสติน่า อากีเลร่า, Joni Mitchell, Stevie Nicks, นอราห์ โจนส์, The Temptations, สตีวี วันเดอร์, Jimmy Scott, The Manhattan Rhythm King และล่าสุดโดย Cyndi Lauper ในอัลบั้มต้อนรับการกลับมาของเธอ "แอตลาสต์" ในฉบับของเอตตานิยมในงานแต่งงานมาก ด้วยเนื้อเพลงโรแมนติก และการบรรเลงของวงออเคสตร้าอย่างหวานซึ้ง

ชาร์ต

แก้
ชาร์ต (1961) ตำแหน่ง
สูงสุด
US Billboard Hot 100[1] 47
US Cash Box Top 100[2] 30
US Billboard Hot R&B Sides[3] 2
ชาร์ต (2011) ตำแหน่ง
สูงสุด
UK Singles (Official Charts Company)[4] 69
ชาร์ต (2012) ตำแหน่ง
สูงสุด
ออสเตรเลีย (ARIA)[5] 72
Ireland (IRMA)[6] 33
UK Singles (OCC)[7] 39

การรับรอง

แก้
ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
Italy (FIMI)[8] Gold 25,000*
United Kingdom (BPI)[9] Platinum 600,000 
United States (RIAA)[10] Gold 500,000*

*ตัวเลขยอดขายขึ้นกับการรับรองอย่างเดียว
 ตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

ฉบับของเซลีน ดิออน

แก้
"แอตลาสต์"
ไฟล์:2002 - At Last.jpg
ซิงเกิลโดยเซลีน ดิออน
จากอัลบั้มอะนิวเดย์แฮสคัม
วางจำหน่าย9 ธันวาคม 2545 (2545-12-09)
สตูดิโอ
  • Studio Piccolo
  • Bananaboat
แนวเพลง
ความยาว4:16
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
ลำดับซิงเกิลของเซลีน ดิออน
"กูดบาย (เดอะแซดเดสเวิร์ด)"
(2545)
"แอตลาสต์"
(2545)
"ไอโดรฟออลไนต์"
(2546)

"แอตลาสต์" บันทึกเสียงโดยเซลีน ดิออน ในอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม (อังกฤษ: A New Day Has Come) ในฉบับนี้อำนวยการสร้างโดย Humberto Gatica และ Guy Roche และเผยแพร่ในแบบซิงเกิลเพื่อการเผยแพร่ในสถานีวิทยุเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ในสหรัฐอเมริกา และไม่มีมิวสิกวิดีโอสำหรับเพลงนี้

"แอตลาสต์" ขึ้นสู่อันดับสูงสุดคืออันดับที่ 16 ในชาร์ตเพลงร่วมสมัย

ฉบับร้องสดได้บรรจุในอัลบั้ม อะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส (อังกฤษ: A New Day... Live in Las Vegas) ในปี พ.ศ. 2547 และเซลีนได้แสดงเพลงนี้ตลอดเวลา 4 ปีในการแสดงที่ลาส เวกัสชุด อะนิวเดย์...


ชาร์ต

แก้
ชาร์ต (2002–2003) ตำแหน่ง
สูงสุด
US Adult Contemporary (Billboard)[11] 16

ฉบับของบียอนเซ่

แก้
"แอตลาสต์"
 
ซิงเกิลโดยบียอนเซ่
จากอัลบั้มคาดิลแล็กเรเคิดส์ : มิวสิกฟรอมเดอะโมชันพิกเจอร์
วางจำหน่าย3 พฤศจิกายน 2552 (2552-11-03)
แนวเพลงโซลบลูส์
ความยาว2:58
ค่ายเพลงโคลัมเบีย
ผู้ประพันธ์เพลง
ลำดับซิงเกิลของบียอนเซ่
"ซิงเกิลเลดีส์ (พุตอะริงออนอิต)"
(2551)
"แอตลาสต์"
(2552)
"ดิวา"
(2552)

"แอตลาสต์" ยังได้นำกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยบียอนเซ่ โนวส์ ได้ประกอบภาพยนตร์เรื่องคาดิลแล็กเรเคิดส์ วันวานตำนานร็อก ซึ่งในภาพยนตร์นั้นโนวส์ได้แสดงเป็นเอตต้า เจมส์ โนวส์ยังได้นำเพลงนี้ไปร้องในการเต้นรำครั้งแรกของประธานาธิบดีบารัก โอบามาและมิเชลล์ ระหว่างงานพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เอตต้า เจมส์ได้ให้ความคิดเห็นต่อคนดูคอนเสิร์ตในสัปดาห์ต่อมาว่า "ผู้หญิงคนนั้น...ร้องเพลงของฉัน, เธอกำลังจะทำให้ก้นของเธอถูกเฆี่ยน"[12][13] แต่ถึงจะอย่างไรก็ตามเธอก็ได้ออกมาพูดกับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเดลินิวส์ว่า เธอแค่หยอกเล่นและไม่ได้คิดอะไรกับความเห็นของเธอเลย [14]

ชาร์ต

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Billboard Hot 100". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ October 30, 2017.
  2. "Cash Box Top 100 3/11/61". cashboxmagazine.com. March 11, 1961. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-14. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.
  3. 3.0 3.1 "Hot R&B/Hip-Hop Songs". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.
  4. "Home". Polyhex.com. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.
  5. "Etta James – At Last". ARIA Top 50 Singles.
  6. "Chart Track: Week 4, 2012". Irish Singles Chart.
  7. "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company.
  8. "Italian single certifications – Etta James – At Last" (ภาษาอิตาลี). Federazione Industria Musicale Italiana. สืบค้นเมื่อ January 9, 2015. Select "Tutti gli anni" in the "Anno" drop-down menu. Select "At Last" in the "Filtra" field. Select "Singoli" under "Sezione".
  9. "British single certifications – Etta James – At Last". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ April 12, 2019.
  10. "American single certifications – Etta James – At Last". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
  11. "Celine Dion Chart History (Adult Contemporary)". Billboard. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  12. Etta James takes shots at Beyoncé and President Obama
  13. Etta James: I'm gonna whup Beyoncé's ass
  14. Etta James truly miffed about Obama snub, but was kidding about disliking Beyonce
  15. "At Last – Beyoncé". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 5, 2012.
  16. Beyoncé — At Last. TopHit. สืบค้นเมื่อ January 30, 2021.
  17. "R&B Singles Top 40". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ September 18, 2011.
  18. "Beyoncé Album & Song Chart History". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.
  19. "Beyoncé". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ May 25, 2021.
  20. "Top Smooth Jazz Songs – 2009 Year End Charts". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ April 5, 2012.