นายแสง เหตระกูล (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2524) ผู้บุกเบิกกิจการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ประวัติ แก้

เป็นบุตรชายในจำนวน 4 คน ของนายจงกุ่ยและนางนี้ เหตระกูล เริ่มงานในแวดวงสื่อมวลชนครั้งแรกด้วยการร่วมหุ้นกับพี่น้องทำกิจการโรงพิมพ์ชื่อ โรงพิมพ์ตงซัว ก่อนที่จะซื้อกิจการหนังสือพิมพ์ กรุงเทพ เดลิเมล์ รายปักษ์ รายสัปดาห์ มาดำเนินการเอง ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็น เดลิเมล์รายวัน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2493 จากนั้นจึงได้มี บางกอกเดลิเมล์ หนังสือพิมพ์รายวันกรอบบ่ายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งฉบับ

ในยุคเผด็จการทหาร หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กระทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ได้มีคำสั่งจากคณะปฏิวัติงดใบอนุญาตประกอบการ แต่นายแสงยังคงสั่งให้บรรณาธิการทำงานอย่างเต็มที่ จนกระทั่งได้วางแผงขายในวันรุ่งขึ้น ในที่สุดแท่นพิมพ์ก็ได้ถูกล่ามโซ่ และกองบรรณาธิการบางคนถูกจับและบางคนเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง

หลังจากนั้น นายแสง พยายามที่จะขออนุญาตกลับมทาทำหนังสือพิมพ์อีกหลายครั้งเป็นระยะ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงได้จดทะเบียนชื่อหนังสือพิมพ์ใหม่ว่า แนวหน้าแห่งเดลินิวส์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งได้พัฒนากลายมาเป็นเดลินิวส์อย่างในปัจจุบัน

เมื่ออายุมากขึ้น นายแสงได้วางมือจากกิจการ โดยส่งต่อให้ นายประชา เหตระกูล บุตรชายดำเนินการต่อ และได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2524

นายแสง เหตระกูล ได้รับการยกย่องอย่างมากจากแวดวงสื่อมวลชนในประเทศไทยในฐานะนักหนังสือพิมพ์รุ่นบุกเบิกคนแรก ๆ ที่ต่อสู้ทุกรูปแบบกับอำนาจเผด็จการ ความไม่ถูกต้อง เพื่อเรียกร้องให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพ มีความเป็นประชาธิปไตย จนได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาหนังสือพิมพ์เมืองไทย" จากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับ นายกำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

นายแสง เหตระกูล มีคำพูดที่ถือเป็นประโยคอมตะสำหรับแวดวงสื่อมวลชน ว่า

ข่าวดีอย่างไร แต่ไม่ทันเวลา สุนัขก็ไม่รับประทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  • สกู๊ปหน้า 1 เชิดชูผู้ก่อตั้ง 'เดลินิวส์' 'แสง เหตระกูล' 'ราชาหนังสือพิมพ์' หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,058 ประจำวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

แหล่งข้อมูลอื่น แก้