เจ้าจามรีวงศ์

(เปลี่ยนทางจาก แม่เจ้าจามรีมหาเทวี)

เจ้าจามรีวงศ์[1][2] (บ้างสะกดว่า เจ้าจามรีวงษ์)[3] หรือ เจ้าจามรี[4] เป็นภริยาเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 และเป็นมารดาในเจ้าศุขเกษม ซึ่งถูกกล่าวถึงในบทเพลง "มะเมียะ" ของจรัล มโนเพ็ชร

เจ้าจามรีวงศ์ ณ เชียงใหม่
ภริยาเจ้านครเชียงใหม่
ดำรงพระยศ11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 25 กันยายน พ.ศ. 2472
ก่อนหน้าเจ้าทิพเนตร
เกิดพ.ศ. 2403
อนิจกรรม25 กันยายน พ.ศ. 2472 (68 ปี)
พระสวามีเจ้าแก้วนวรัฐ
พระบุตร
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ เชียงใหม่
พระบิดาเจ้าราชภาคินัย (แผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่)
พระมารดาเจ้าเรือนคำ สิโรรส
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

แก้

เจ้าจามรีวงศ์เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2403 เป็นเจ้าธิดาองค์ที่ 5 ในเจ้าราชภาคินัย (แผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่) กับเจ้าเรือนคำ สิโรรส[5] เจ้าบิดาเป็นโอรสในเจ้าราชบุตร (สุริยฆาต ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1[6]

เจ้าจามรีวงศ์สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (แก้ว ณ เชียงใหม่) ซึ่งต่อมาเป็น เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่ มีราชโอรสและราชธิดา 3 องค์ คือ

  1. นายร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เสกสมรสกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ ไม่มีพระทายาท
  2. เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เสกสมรสกับนายร้อยตรี เจ้ากุย สิโรรส, พระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ (สาย โชติกเสถียร) และเจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่) มีธิดาจากการสมรสครั้งแรกหนึ่งคน
  3. เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เสกสมรสกับเจ้าจันทร ณ เชียงใหม่, เจ้าภัทรา ณ ลำพูน และศรีนวล นันทขว้าง มีเจ้าธิดาสามคน

เจ้าจามรีวงศ์ดำรงตนในฐานะภริยาเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อย่างไร้ที่ติ ไม่ทรงถือตัว และยังทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ[6][7]

เจ้าจามรีวงศ์ป่วยเป็นวัณโรคภายใน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2472 ณ คุ้มเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) สิริอายุได้ 68 ปี[8] อัฐิของเจ้าจามรีวงศ์บรรจุที่กู่ของราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ที่วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ทายาท

แก้
นาม เกิด ถึงแก่กรรม คู่สมรส หลาน
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) พ.ศ. 2423 20 มีนาคม พ.ศ. 2456 เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ ไม่มี
เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เจ้ากุย สิโรรส เจ้าสร้อยดารา สิโรรส
พระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ (สาย โชติกเสถียร) ไม่มี
เจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่) ไม่มี
เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เจ้าจันทร ณ เชียงใหม่ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี
เจ้าภัทรา ณ ลำพูน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน
เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล
ศรีนวล นันทขว้าง ไม่มี

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3994. 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าหญิงจามรีวงศ์ ท.จ. ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒. พระนคร:โสภณพิพรรฒนากร. 2472
  3. "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายน่าแลฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (35): 500. 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. เจ้าราชบุตร. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. 2516. p. 3.
  5. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-23.
  6. 6.0 6.1 แม่เจ้าจามรี
  7. 7.0 7.1 "แม่เจ้าจามรี ณ เชียงใหม่" (PDF). หอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (ง): 2288. 13 ตุลาคม 2472. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้