แม่น้ำหุน (จีนตัวย่อ: 浑河; จีนตัวเต็ม: 渾河; พินอิน: hún hé, แปลตามตัว แม่น้ำโคลน) เป็นแม่น้ำในมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน และเคยเป็นลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดสายหนึ่งของแม่น้ำเหลียว เดิมชื่อแม่น้ำเฉิ่น (จีนตัวย่อ: 沉水; จีนตัวเต็ม: 瀋水; พินอิน: chén shuǐ) แม่น้ำหุนมีความยาว 415 กิโลเมตร (258 ไมล์) และระบายน้ำผ่านที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีพื้นที่กว่า 11,500 ตารางกิโลเมตร (4,400 ตารางไมล์) แม่น้ำหุนมีแควสาขาหลายสาย จำนวนแควสาขาที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำมากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ทั้งหมด 31 สาย แม่น้ำหุนไหลผ่านพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของมณฑลเหลียวหนิง ได้แก่ นครเฉิ่นหยางซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเมืองฝู่ชุ่นที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ด

แม่น้ำหุน

浑河 / Hún Hé / Hun River
สะพานฟู่หมินและสะพานฉางชิงข้ามแม่น้ำหุน ที่นครเฉิ่นหยาง
ลำน้ำและพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหุน [1]
ที่มาของชื่อแม่น้ำโคลน
ชื่อท้องถิ่น浑河
  • ᡥᡠᠨᡝᡥᡝᠪᡳᡵᠠ[1][2][3]  (แมนจู)
  • hunehe bira  (แมนจู)
ที่ตั้ง
ประเทศจีน
มณฑลเหลียวหนิง
ลักษณะทางกายภาพ
ความยาว415 km (258 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ11,500 km2 (4,400 sq mi)
แม่น้ำหุน
ภาษาจีน浑河
ความหมายตามตัวอักษรแม่น้ำหุน
ตำแหน่งของแม่น้ำหุน ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลียว ของประเทศจีน
สะพานหุนเหอ ในนครเฉิ่นหยาง
ประติมากรรมที่จัดแสดงที่สวนหุนเหอหว่านตู้

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อของแม่น้ำหุน (河) หมายถึง "แม่น้ำโคลน" ซึ่งมาจากการไหลที่รวดเร็วของแม่น้ำหุนประกอบกับปริมาณตะกอนที่สูง ซึ่งทำให้มีลักษณะเป็นน้ำโคลน

ในอดีตแม่น้ำหุนยังเป็นที่รู้จักในชื่อ แม่น้ำเหลียวน้อย (小辽水) ส่วนตอนกลางของแม่น้ำยังเป็นที่รู้จักกันในนามแม่น้ำเฉิ่น (瀋水) นครเฉิ่นหยางที่ตั้งบนฝั่งเหนือของแม่น้ำได้รับการตั้งชื่อตามแม่น้ำเฉิ่นนี้ ส่วนตอนล่างเรียกอีกอย่างว่า แม่น้ำเก๋อหลี (蛤蜊河, แปลตามตัว แม่น้ำหอย)

ภูมิศาสตร์ แก้

ต้นน้ำของแม่น้ำหุนเกิดจากเทือกเขาเชียน (千山) ซึ่งเป็นสาขาของเทือกเขาฉางไป๋ ต้นน้ำของแม่น้ำหุนยังเรียกอีกชื่อว่าลำน้ำน่าลู (纳噜水) หรือแม่น้ำแดง (红河) และไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำต้าหั่วฝาง (大伙房水库) ที่มีความจุ 5,437 ลูกบาศก์กิโลเมตร (1,304 ลูกบาศก์กิโลเมตร) เป็นแหล่งน้ำประปาให้กับเมืองโดยรอบ ได้แก่ เฉิ่นหยาง ฝูซุ่น เหลียวหยาง อานชาน ผานจิ่น หยิงโข่ว และต้าเหลียน

กระทั่งปี 1958 แม่น้ำหุนเข้าร่วมกับแม่น้ำไว่เหลียว และแม่น้ำไท่จื่อ ใกล้เมืองไห่เฉิง (ของเมืองอานชาน) จากโครงการวิศวกรรมชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาการควบคุมอุทกภัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลใกล้เมืองหยิงโข่ว แล้วรวมกันเป็นแม่น้ำต้าเหลียว ซึ่งไหลลงสู่อ่าวเหลียวตง การบรรจบกันของแม่น้ำสามสายนี้เรียกว่า แม่น้ำสามง่าม (三岔河) ตั้งแต่ปี 1958 จึงถือว่าแม่น้ำหุนเป็นลำน้ำที่แยกออกเป็นอิสระจากแม่น้ำเหลียว โดยทั้งแม่น้ำหุนและแม่น้ำไท่จื่อไม่ได้เป็นสาขาของแม่น้ำเหลียวอีกต่อไป

ยุทธการที่มุกเดน แก้

หนึ่งในการสู้รบทางบกที่ใหญ่ที่สุดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นการรบทางบกครั้งสุดท้ายในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น[4] เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ถึง 10 มีนาคม ค.ศ. 1905 ระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพรัสเซีย ที่บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำหุนใกล้กับมุกเดน ในแมนจูเรีย ปัจจุบันเมืองนี้ที่ชื่อว่า เฉิ่นหยาง กำลังพลที่ร่วมในการรบ 610,000 คนและผู้เสียชีวิต 164,000 คน ซึ่งญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในการรบ

อ้างอิง แก้

  1. 官修史料.清實錄.中華書局,2008
  2. 滿洲實錄·上函(卷一) 遼寧省檔案館, 遼寧教育出版社, 2012
  3. 御制增訂清文鑑·卷十·人部一·人類一·滿洲 紀昀, 1771
  4. Palmer, Colton & Kramer 2007, p. 673