แม่นางเทพสุดาสร้อยดาว
แม่นางสร้อยดาว (มอญ: မေဏင်သောဲဍာ; พม่า: မေနှင်းသွယ်တာ, ออกเสียง: [mè n̥ɪ́ɰ̃ θwɛ̀.dà] เมนี่น-ตแวดา; หรือ မည်နှင်းသွယ်ဒါ, มีนี่น-ตแวดา) ในวรรณคดีเรื่อง "ราชาธิราช" เรียกว่า นางเทพสุดาสร้อยดาว[1] ส่วนคำให้การชาวกรุงเก่าเรียก นางสุวรรณเทวี[2] เป็นพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระเจ้าฟ้ารั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเมาะตมะ
นางเทพสุดาสร้อยดาว | |
---|---|
พระอัครมเหสีแห่งเมาะตะมะ | |
ดำรงพระยศ | 30 มกราคม พ.ศ. 1830 – ป. 14 มกราคม พ.ศ 1850 |
ราชาภิเษก | 5 เมษายน พ.ศ. 1830 |
ก่อนหน้า | ปฐมอัครมเหสี |
ประสูติ | ป. พ.ศ. 1790s อาณาจักรสุโขทัย |
สวรรคต | เมาะตะมะ อาณาจักรมอญ |
คู่อภิเษก | พระเจ้าฟ้ารั่ว |
พระราชบุตร | แม่นางสินทยา |
ราชวงศ์ | พระร่วง |
พระราชบิดา | พ่อขุนรามคำแหงมหาราช |
พระราชมารดา | ไม่ทราบ |
ศาสนา | พุทธ นิกายเถรวาท |
ในระหว่างที่พระเจ้าฟ้ารั่ว (พระนามเดิม มะกะโท) รับราชการเป็นขุนวังที่สุโขทัย พระองค์ได้พาแม่นางเทพสุดาสร้อยดาวหนีออกจากสุโขทัย[3]ไปยังเมาะตะมะ เมื่อมะกะโทสามารถสังหารอลิมามาง เจ้าเมืองเมาะตะ พร้อมกับสถาปนาตนเป็นพระเจ้าฟ้ารั่ว ได้ตั้งนางเทพสุดาสร้อยดาวขึ้นเป็นพระอัครมเหสี และได้ประกาศอิรภาพจากอาณาจักรพุกามของชาวพม่า โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อขุนรามคำแหง[4] การปฏิวัติประสบความสำเร็จ พระเจ้าฟ้ารั่วสามารถรวบรวมดินแดนของผู้ที่พูดภาษามอญและตั้งเป็นอาณาจักรหงสาวดี เมื่อประมาณ พ.ศ. 1830[5]
พระเจ้าฟ้ารั่วและแม่นางสร้อยดาวมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือแม่นางสินทยา ซึ่งต่อมาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าตราพระยาแห่งหงสาวดี[6]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของแม่นางเทพสุดาสร้อยดาว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาพระคลัง (หน). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หมวดบันเทิงคดี เรื่อง ราชาธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2546. 500 หน้า. หน้า 21-38.
- Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.