แม่นาค เดอะมิวสิคัล
แม่นาค เดอะมิวสิคัล เป็นละครเพลงขนาดสี่องก์ของค่ายดรีมบอกซ์ ผู้ผลิตละครเพลงนางพญางูขาวและคู่กรรม เดอะมิวสิคัล โดยนำตำนานเกี่ยวกับแม่นาคพระโขนงมาตีความใหม่และนำเสนอในรูปแบบของละครเพลงประเภทร้องทั้งเรื่อง (sung-through musical) ความยาวประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง[1] เปิดการแสดงครั้งแรกที่โรงละครเอ็มเธียเตอร์ ระหว่างวันที่ 3-5, 10-12, 17-19 กรกฎาคม 2552 และครั้งที่สองระหว่างวันที่ 4-6 และ 11-13 ธันวาคม 2552 [2] รวมทั้งหมด 18 รอบ
แม่นาค เดอะมิวสิคัล | |
---|---|
ใบปิด | |
ดนตรี | ไกวัล กุลวัฒโนทัย พลรักษ์ โอชกะ สุธี แสงเสรีชน |
คำร้อง | ดารกา วงศ์ศิริ ไกวัล กุลวัฒโนทัย พลรักษ์ โอชกะ สุธี แสงเสรีชน |
หนังสือ | ดารกา วงศ์ศิริ |
อ้างอิงจาก | ตำนานแม่นาคพระโขนง และบางส่วนจากบทพระนิพนธ์ "อีนากพระโขนง" ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ |
งานสร้าง | กรกฎาคม 2552, ดรีมบอกซ์ ธันวาคม 2552, ดรีมบอกซ์ |
งานสร้างและการตีความ
แก้จากคำให้สัมภาษณ์ของสุวรรณดี จักราวรวุธผู้กำกับ เรื่องของแม่นาคพระโขนงเป็นหนึ่งในเรื่องคลาสสิก 3 เรื่องของคนไทยที่ดรีมบอกซ์ต้องการทำเป็นละครต่อจากบ้านทรายทอง (อลหม่านหลังบ้านทรายทอง) และคู่กรรม (คู่กรรม เดอะมิวสิคัล) และได้จัดงานแถลงข่าวว่าจะแสดงละครเพลง "แม่นาค เดอะมิวสิคัล" ครั้งแรกขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 แต่เมื่อธีรนัยน์ ณ หนองคายนักแสดงนำตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องเลื่อนการแสดงมายังปี 2552 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ละครแม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัลของค่ายซีเนริโอจัดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์[3]
ในส่วนของบทละคร ดารกา วงศ์ศิริผู้เขียนได้สังเคราะห์ขึ้นจากการมองเห็นว่า เรื่องราวของแม่นาคมีองค์ประกอบที่ยิ่งใหญ่พอที่จะนำเสนอในรูปของละครเพลงที่เข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่แม่นาคกล้าหาญที่จะปฏิเสธความตายอันเป็นชะตากรรมที่มนุษย์ทุกคนต้องยอมรับ นับเป็นลักษณะของตัวละครที่ลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ที่ตนอยากจะรู้จัก อยากจะเข้าใจ และอยากจะเล่าเรื่องของแม่นาคให้ทุกคนฟัง[4]
บทละคร "แม่นาค เดอะ มิวสิคัล" เขียนขึ้นจากการตั้งคำถามว่าแม่นาคเป็นใครมาจากไหน ทำไมจึงมาอยู่ที่พระโขนง เพราะอะไรแม่นาคจึงขึ้นชื่อว่าดุร้ายเกินผีตายทั้งกลมตนอื่นๆในยุคนั้น ทำไมแม่นาคจึงรักพ่อมากมากจนไม่อาจตัดใจทิ้งพ่อมากไปได้ และเพราะอะไรวิญญาณแม่นาคจึงจากไปในที่สุด หลังจากนั้น ดารกาจึงได้เริ่มค้นคว้าหาข้อมูลของสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และกำหนดให้เรื่องของแม่นาคเกิดขึ้นในสังคมปิดที่ตีกรอบภาระและหน้าที่ของผู้หญิงไว้ตายตัวจนซ่อนความรุนแรงของอารมณ์ที่พร้อมจะระเบิดขึ้นตลอดเวลา หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือสังคมที่สถานะภาพของผู้หญิงต่ำต้อยยิ่งกว่าผงธุลีดิน โดยเฉพาะในสังคมชนบทที่ให้ความสำคัญกับแรงงานมากที่สุด ผู้หญิงที่ทำงานไม่ได้มีค่าน้อยกว่าควาย และเมื่อหลวงเกณฑ์แรงงานผู้ชายไปทำงานปีละหลายเดือน ภาระหนักอึ้งทั้งหมดจึงตกอยู่กับผู้หญิงเท่านั้น[5]
อนึ่ง ในการสร้างละคร "แม่นาค เดอะมิวสิคัล" ทางผู้สร้างได้ขออนุญาตไปยังมูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ และได้รับความกรุณาจากทางมูลนิธิอนุญาตให้ใช้การอ้างอิงบางฉากและชื่อตัวละคร "มาก" จากบทละครร้อง "อีนากพระโขนง" แล้ว[6]
ทีมงาน
แก้กรกฎาคม, ธันวาคม 2552
- บทละคร: ดารกา วงศ์ศิริ
- ประพันธ์ทำนอง: ไกวัล กุลวัฒโนทัย, พลรักษ์ โอชกะ, สุธี แสงเสรีชน
- ประพันธ์คำร้อง: ดารกา วงศ์ศิริ, ไกวัล กุลวัฒโนทัย, พลรักษ์ โอชกะ, สุธี แสงเสรีชน
- กำกับการแสดง: สุวรรณดี จักราวรวุธ
- กำกับดนตรี: ไกวัล กุลวัฒโนทัย
- อำนวยเพลง: ดำริห์ บรรณวิทยกิจ
- กำกับการร้อง: ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ
- กำกับลีลา: พจน์ ครองสิริวัฒน์
- ออกแบบฉาก: ฤทธิรงค์ จิวากานนท์
- ออกแบบแสง: ฉลาดเลิศ ตุงคะมณี
- ออกแบบงานเสียง: เศวต เศวตะทัต
- ออกแบบเทคนิค: วิรัตน์ ภู่นภานนท์, ศุภธนิตย์ ฐิตะชัยสิทธิ์
- ออกแบบเสื้อผ้า: Dreambox Costume
นักแสดงนำ
แก้กรกฎาคม 2552
- นาค: ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
- มาก: วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
- เหมือน: มณีนุช เสมรสุต
- สายหยุด: ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล (ปุยฝ้าย AF4)
- ป้าแก่: นรินทร ณ บางช้าง
- ตาฉ่ำ: เด๋อ ดอกสะเดา
- ทองคำ: รัดเกล้า อามระดิษ,อรวรรณ เย็นพูนสุข
- ขุนประจัน: ญาณี ตราโมท
- เรือง: ต่อตระกูล จันทิมา
- หมอผี: ศรัณย์ ทองปาน
- หลวงตา: ธานี พูนสุวรรณ
ธันวาคม 2552
- นาค: ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
- มาก: วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
- เหมือน: มณีนุช เสมรสุต
- สายหยุด: ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล (ปุยฝ้าย AF4)
- ป้าแก่: นรินทร ณ บางช้าง
- ตาฉ่ำ: เด๋อ ดอกสะเดา
- ทองคำ: อรวรรณ เย็นพูนสุข
- ขุนประจัน: ญาณี ตราโมท
- เรือง: ต่อตระกูล จันทิมา
- หมอผี: ศรัณย์ ทองปาน
- หลวงตา: ธานี พูนสุวรรณ
เรื่องย่อ
แก้เหตุการณ์ต่างๆใน "แม่นาค เดอะมิวสิคัล" เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่เดือนห้า พ.ศ. 2395 จนถึงเดือนหกปีต่อมา
นาค บุตรีขุนศรีประจันและแม่ทองคำ หนีตามมากคนรักจากอยุธยาบ้านเกิด มาเริ่มต้นชีวิตคู่ครองเรือนกันที่ท้องทุ่งพระโขนง ความรักที่ทั้งคู่มีต่อกันทำให้นาคพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ แม่เหมือน มารดาของมาก ผิดหวังที่ลูกชายคว้าหญิงอื่นมาเป็นคู่ครองแทนสายหยุดหลานสาว และโกรธเกลียดลูกสะใภ้ถึงขั้นขัดแย้งกับมาก ทำให้สองสามีภรรยาย้ายออกไปอยู่กันตามลำพังที่บ้านริมคลองพระโขนงดงตะเคียน เมื่อนาคท้องแก่ได้ 8 เดือน ทางหลวงออกหมายเกณฑ์ไพร่ไปทำศึกในสงครามเชียงตุง มากจึงฝากฝังเมียไว้กับป้าแก่หมอตำแยและตาฉ่ำสัปเหร่อ สองผัวเมียที่รักใคร่เอ็นดูนาค โชคร้ายในคืนที่นาคเจ็บท้อง ทั้งคู่เมาเหล้าไม่รู้เรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้นในคืนนั้น ชาวบ้านมาพบศพนาคอีกครั้งในวันต่อมา วิญญาณของนาคที่ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างเดียวดายก่อนสิ้นใจ ตัดสินใจเลือกเส้นทางของตัวเองโดยปฏิเสธความตายด้วยปณิธานอันแรงกล้าว่า "ข้ายังไม่พร้อมจะยอมตาย"
ลำดับเพลง
แก้กรกฎาคม 2552
องก์หนึ่ง
|
องก์สาม
|
ธันวาคม 2552
หมายเหตุ: การแสดงครั้งนี้มีการตัดเพลงในการแสดงครั้งเดิมออก 2 เพลง คือเพลง "อยากให้พี่อยู่ดูหน้าลูก" และ "แม่นาคตาย" และมีการทอนเพลงให้กระชับความขึ้นอีก 11 เพลง ได้แก่ "หามันให้เจอ", "ผู้ดีตีนแดง", หน้านาข้ารอ", ลูกสะใภ้ทำอะไรไม่เป็น", "หมอตำแยกับสัปเหร่อ", "บ้านริมคลองพระโขนงดงตะเคียน", "เกณฑ์ไพร่ไปทำศึก", "โอ้อนิจจา", "จดหมายที่ไม่ได้เปิด", "เลือด (reprise)" และ "วัดโบสถ์"
องก์หนึ่ง
|
องก์สาม
|
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บล็อกแม่นาค เดอะมิวสิคัล
- ตำนานแม่นาคพระโขนง
- แม่นาคเดอะมิวสิคัลตำนานไม่มีวันตายความรักไม่มีวันสลาย[ลิงก์เสีย] จากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก เวทีสาระบันเทิง หน้า 20 วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2552
- โลกของ แม่นาค เดอะมิวสิคัล เก็บถาวร 2009-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย : พิมพ์พัดชา กาคำ จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จุดประกาย หน้า 4 วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2552
- แม่นาค เดอะ มิวสิคัล เร้นกายสู่โลกฝัน เก็บถาวร 2009-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน บันเทิง หน้า 24 วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2552
- MAE NAK war has been won by SCRIPT and ACTING เก็บถาวร 2009-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Pawit Mahasarinand from The Nation, Section:Sunday Leisure page 2B, Sunday July 12, 2009
- Immortal ghost with twists and turns by Alongkorn Parivudhiphongs from Bangkok Post, Section:Outlook page O8, Wednesday, July 15, 2009
- แม่นาค เดอะมิวสิคคัล: นี่สิของดี เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ณัฐพัชญ์ วงศ์เหรียญทอง ตีพิมพ์ใน http://www.barkandbite.net/ เก็บถาวร 2009-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แม่นาค ดรีมบอกซ์ อยากให้ไปดูกันเยอะ ๆ ค่ะ[ลิงก์เสีย] โดย ปิยะพร ศักดิ์เกษม ตีพิมพ์ใน http://www.piyapornclub.com[ลิงก์เสีย]
- แด่เธอ ผู้ปฏิเสธความตาย ถวายวิญญาณต่อรักแท้ " แม่นาค เดอะ มิวสิคัล ”
- เมื่อแม่นาคอาละวาดพร้อมกัน ๒ เวที ประชันเพลงไพเราะสนั่นกรุง โดย สุภาพบุรุษแห่งสยาม จาก http://www.oknation.net/blog/index.php
- อ่านสนุกนึกกับนิวัติ กองเพียร เล่มที่ 1 คอลัมน์เที่ยวชมศิลปะ แม่นาค เดอะมิวสิคัล เก็บถาวร 2009-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน