แม็คลาเรน เอฟ1

sports car

แม็คลาเรน เอฟ1 (อังกฤษ: McLaren F1) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 1+2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัท แม็คลาเรน ออโตโมทีฟ บริษัทสัญชาติอังกฤษ เริ่มแรกนั้น เอฟ1 เป็นโปรเจกต์ที่นายกอร์ดอน เมอเรย์ (Gordon Murray) วิศวกรเครื่องกลชาวแอฟริกาใต้[2] เป็นผู้ริเริ่ม และได้ปรึกษากับนายรอน เดนนิส ประธานบริษัทแม็คคลาเรนในการสร้างรถซูเปอร์คาร์ ทำให้โปรเจกต์ แม็คลาเรน เอฟ1 เริ่มขึ้นมาได้ โดยได้นายกอร์ดอน เป็นหัวหน้าโปรเจกต์ครั้งนี้ มีนายปีเตอร์ สตีเฟนส์ (Peter Stevens) เป็นผู้ออกแบบรถทั้งคัน ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1998 เอฟ1 ได้สร้างสถิติเป็นรถที่เร็วที่สุดในโลก ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 386.4 กม./ชม. (240.1 ไมล์/ชม.)[3] และเป็นรถที่ใช้เครื่องยนตร์ที่ไม่ใช้ระบบอัดอากาศ (N/A) ที่เร็วที่สุดในโลกอยู่ในปัจจุบัน[4]

แม็คลาเรน เอฟ1
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตแม็คลาเรน ออโตโมทีฟ
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 1992 – 1998[1] (106 คัน)
แหล่งผลิตโวคิง, เซอร์รีย์, สหราชอาณาจักร
ผู้ออกแบบกอร์ดอน เมอเรย์ (Gordon Murray) & ปีเตอร์ สตีเฟนส์ (Peter Stevens)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง (Sports car)
รูปแบบตัวถัง2 ประตู คูเป 1+2 ที่นั่ง
โครงสร้างเครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR)
จำนวนประตู2 แบบบัตเทอร์ฟลายดอร์ (Butterfly doors)
รุ่นที่คล้ายกันแม็คลาเรน เอฟ1 จีทีอาร์
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์6.1 L BMW S70/2 V12
ระบบเกียร์เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
มิติ
ระยะฐานล้อ2,718 mm (107.0 in)
ความยาว4,287 mm (168.8 in)
ความกว้าง1,820 mm (71.7 in)
ความสูง1,140 mm (44.9 in)
น้ำหนัก1,138 kg (2,509 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปแม็คลาเรน 12ซี แม็คลาเรน พี1

เอฟ1 เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและการออกแบบในอีกนวัตกรรมหนึ่ง ที่ทำให้รถเบากว่าและคล่องตัวมากยิ่งขึ้นกว่ารถสปอร์ตหลายคันในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาให้เป็นรถวิ่งถนนคันแรกของโลกที่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์เรนฟอร์สเซตพลาสติก (CFPR) ในการทำโครงตัวถังทั้งคัน[5] หรือแม้แต่การออกแบบตามหลักแอโรไดนามิก ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศพลศาสตร์ (Drag coefficient) ที่ 0.32[6] ซึ่งมีค่าเร็วกว่าบูกัตติ เวย์รอน ที่ทำได้เพียง 0.36 ขณะที่เอสเอสซี อัลทีเมท เอโร ทำได้ที่ 0.357[7]

สิ่งหนึ่งที่แม็คลาเรน เอฟ1 แตกต่างจากรถสปอร์ตทั่วๆไปคือ การออกแบบรถยนต์ 1 ที่นั่ง โดยให้ตำแหน่งที่นั่งอยู่ส่วนกลางของรถ (ที่นั่งยื่นออกไปข้างเล็กน้อย) และมีที่นั่งเล็กๆ 2 ที่ ด้านขวาและซ้ายของรถ การออกแบบเช่นนี้ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าโค้งและการแซงได้ดี สำหรับเครื่องยนตร์นั้นได้ใช้เครื่องยนตร์ที่ใช้กันในสนามแข่งรถ ซึ่งในปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้แล้ว เนื่องจากความไม่สะดวกสบายในการใช้งาน เอฟ1 ยังเป็นรถที่ได้รับการออกแบบให้เป็นที่รถที่ใช้วิ่งบนถนนทั่วไป โดยมีความเป็นที่สุดของรถ (Ultimate road car) ถึงอย่างไรก็ดี เอฟ1 ก็ยังคงมีการโมดิฟายด์เป็นรถในสนามแข่งหลายสนาม อาทิเช่น รายการ24 ชั่วโมง เลอม็อง ในปี ค.ศ. 1995

สายการผลิตของเอฟ1 ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 จนถึง ค.ศ. 1998 โดยผลิตมาได้ทั้งหมด 106 คัน ในจำนวนนี้รวมถึงรถที่ดัดแปลงในสนามแข่งและรุ่นเสริมย่อยๆอีกด้วย[8]

ในปี ค.ศ. 1994 นิตยสารรถยนต์จากอังกฤษ ออโตคาร์ ได้ทำการทดสอบรถยนต์คันนี้และได้กล่าวยกย่องว่า "แม็คลาเรน เอฟ1 เป็นรถยนต์ขับขี่ที่ดีที่สุดที่ใช้วิ่งบนถนนสาธารณะ" และต่อด้วยว่า "เอฟ1 จะได้รับการจดจำในฐานะช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงการรถยนต์ และอาจจะเป็นไปได้ที่มันจะเป็นผลิตภัณฑ์รถยนต์ที่เร็วที่สุดที่โลกเคยมีมา"[9]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 ในงานประมูลสินค้าที่เพบเบิลบีช (Pebble Beach) ได้มีการเสนอขายตัวถัง หมายเลข 006 ของแม็คลาเรน เอฟ1 ไว้ที่ 8.47 ล้านดอลลาร์ หรือเป็นเงินไทยราว 254 ล้านบาท[10]

อ้างอิง แก้

  1. "Watch a young Elon Musk take delivery of his McLaren F1 in 1999". สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. http://www.oldracingcars.com/teamboss/Gordon_Murray
  3. http://www.sportscardigest.com/mclaren-f1-tour-2014-photo-gallery/
  4. http://autozine.org/Archive/McLaren/classic/F1.html
  5. http://www.conceptcarz.com/vehicle/z648/McLaren_F1.aspx
  6. http://www.modernracer.com/features/worldsfastestcars4.html
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  9. http://www.autocar.co.uk/car-review/mclaren/f1-1992-1998
  10. http://www.ausmotive.com/2013/08/19/mclaren-f1-sells-for-record-price.html