แมวคาลิโก
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
แมวคาลิโก หรือ แมวสามสี (อังกฤษ: calico cat) เป็นแมวบ้านที่มีขนสามสี จะเป็นพันธุ์ใดก็ได้ มักเชื่อกันว่าแมวสามสีต้องมีสีขาวอยู่ประมาณ 25–75% กับมีหย่อมขนสีดำและสีส้ม กระนั้น ลวดลายแมวคาลิโกอาจเป็นสีอื่นก็ได้ แมวคาลิโกเป็นตัวเมียแทบทั้งสิ้น เว้นแต่มีสภาวะทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก
มักมีความสับสนระหว่างแมวคาลิโกแมวสีเปรอะ (แมวสีกระดองเต่า, tortoiseshell) ที่มีลายกะดำกะด่างสีดำ/ส้ม หรือสีเทา/ครีม โดยมีแต้มสีขาวอยู่น้อยมาก อย่างไรก็ตาม นอกแถบอเมริกาเหนือมักเรียกลวดลายแบบคาลิโกว่าลายกระดองเต่าและสีขาว (tortoiseshell and white)[ต้องการอ้างอิง] เรียกแมวคาลิโกที่มีสีจางว่า calimanco หรือ clouded tiger บางครั้งอาจพบว่าแมวมีลวดลายคาลิโกพร้อมกับมีลายแบบแท็บบีด้วย เรียกแมวที่มีลวดลายเช่นนี้ว่าคาลิบี (caliby)[1]
"คาลิโก" หมายถึงลวดลายของสีที่ปรากฏบนขน โดยเปรียบกับผ้าคาลิโกพิมพ์สี มิได้หมายถึงพันธุ์ของแมวหรืออิงกับลักษณะอื่นใด เช่น สีตา[2] ในบรรดาพันธุ์ที่มาตรฐานทางการยอมรับให้ลงทะเบียนลวดลายคาลิโกได้ ได้แก่ แมงซ์, อเมริกันขนสั้น เมนคูน, บริติชขนสั้น แมวเปอร์เซีย แมวหางกุดญี่ปุ่น เอกซ์โซติกขนสั้น ไซบีเรียน เทอร์กิชแวน เทอร์กิชแองโกรา และแมวป่านอร์เวย์
เนื่องจากการกำหนดทางพันธุกรรมของสีขนแมวคาลิโกเชื่อมโยงกับโครโมโซม X แมวคาลิโกเกือบจะเป็นเพศเมียแทบจะทั้งหมด โดยสีหนึ่งขึ้นกับโครโมโซม X ที่ได้รับจากฝ่ายแม่ และอีกขึ้นกับโครโมโซม X จากฝ่ายพ่อ[2][3] กรณีส่วนใหญ่ ตัวผู้จะมีขนเพียงสีเดียวเท่านั้น (เช่นสีดำ) เนื่องจากมีโครโมโซม X เพียงแท่งเดียว แมวคาลิโกตัวผู้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อแมวตัวนั้นมีโครโมโซม X สองแท่ง (กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ กล่าวคือมีชุดโครโซม XXY ซึ่งมักจะเป็นหมัน) หรือเกิดขึ้นเมื่อแมวตัวนั้นเป็นคิเมียราซึ่งมีเซลล์ร่างกายสองแบบที่แตกต่างกัน[4] หรือกรณีที่พบได้ไม่บ่อยคือ เซลล์ผิวหนังของลูกแมวที่กำลังเจริญเติบโตเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นเอง
แมวคาลิโกบางตัวอาจมีสีโดยรวมอ่อนกว่าเมื่อเทียบกับแมวตัวอื่น เรียกว่าคาลิโกสีจาง (diluted calico) ซึ่งพบได้บ่อยในหมู่แมวคาลิโก[ต้องการอ้างอิง] โดยแตกต่างจากคาลิโกปกติด้วยการมีสีเทา (อาจเรียกได้อีกอย่างว่าสีน้ำเงิน), สีครีม และสีทอง แทนที่จะเป็นสีดำ, แดง และน้ำตาลบนพื้นขาวตามปกติ
ประวัติศาสตร์
แก้ขนแบบคาลิโกไม่ได้นิยามว่าเป็นแมวพันธุ์ใด ๆ แต่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในแมวซึ่งมีการแสดงออกของสีขนที่หลากหลาย ดังนั้นรูปแบบสีขนที่เกิดขึ้นจึงไม่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การมีอยู่ของแต้มแบบคาคาลิโกได้รับการศึกษาในระดับหนึ่งโดย Neil Todd ในการศึกษาเส้นทางการอพยพของแมวบ้านไปตามเส้นทางการค้าในยุโรปและแอฟริกาเหนือ[5] สัดส่วนของยีนกลายพันธุ์ที่ให้ขนสีส้มที่พบในแมวคาลิโกสามารถตามสืบไปได้ถึงเมืองท่าริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในกรีซ, ฝรั่งเศส, สเปนและอิตาลี จนพบว่ามีต้นกำเนิดจากอียิปต์[6] แมวคาลิโกได้กลายมาเป็นแมวประจำรัฐแมรีแลนด์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2001 ซึ่งได้รับเลือกในตำแหน่งดังกล่าวเนื่องจากรูปแบบขนสีขาว ดำ และส้มของมัน มีความคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในนกขมิ้นบัลติมอร์ (นกประจำรัฐ) และผีเสื้อลายตารางหมากรุกบัลติมอร์ (แมลงประจำรัฐ)
พันธุศาสตร์
แก้ในทางพันธุศาสตร์ แมวคาลิโกคล้ายคลึงกับแมวสีเปรอะในเกือบทุกด้าน เว้นแต่ว่าแมวสีเปรอะมีขนชั้นใน (undercoat) สีดำ ส่วนแมวคาลิโกมีขนชั้นในสีขาว ความแตกต่างประการหนึ่งก็คือ ยิ่งบริเวณสีขาวมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด หย่อมขนสีส้มและสีดำ หรือลายสลิด (tabby) ก็จะยิ่งมีจำนวนน้อยและเด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น ตามหลักคิดพื้นฐาน[7] ในทางตรงกันข้าม แมวสีเปรอะที่ไม่มีแต้มสีขาวมักมีหย่อมสีขนาดเล็กกว่า หรือกระทั่งดูคล้ายกับหย่อมเกลือผสมพริกไทย ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงผลของพันธุกรรมที่มีต่อความเร็วสัมพัทธ์การเคลื่อนตัวของเมลาโนไซต์และการปิดการทำงานของโครโมโซม X ในเอมบริโอ[8]
มีการศึกษาแมวคาลิโกอย่างจริงจังเมื่อราว ค.ศ. 1948 โดยเมอร์เรย์ บาร์ (Murray Barr) และอี.จี. เบอร์แทรม (E.G. Bertram) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของเขา สังเกตเห็นก้อนสีเข้มลักษณะคล้ายน่องไก่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ประสาทแมวเพศเมีย แต่ไม่พบในแมวเพศผู้ ก้อนสีทึบดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อบาร์บอดี (Barr body)[9] เมื่อ ค.ศ. 1959 นักชีววิทยาเซลล์ สุสุมุ โอโนะ ระบุว่าบาร์บอดีคือโครโมโซม X[10] เมื่อ ค.ศ. 1961 แมรี ลียงเสนอหลักการของการปิดการทำงานโครโมโซม X (X-inactivation) ที่หนึ่งในโครโมโซม X ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมียถูกปิดการทำงาน[11] โดยแมรีสังเกตเห็นจากรูปแบบสีขนในหนู[12] แมวคาลิโกมีอัลลีลต่างกันสองอัลลีล โดยได้รับมาจากพ่อและแม่ฝั่งละหนึ่งอัลลีล ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดสีขน ตามปกติ แต่ละอัลลีลที่ได้รับมาจะสร้างสีขนสีดำหรือส้มล้วน แต่กับแมวคาลิโก การปิดการทำงานของโครโมโซม X (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Lyonization ตามชื่อผู้ค้นพบ) เกิดขึ้นอย่างสุ่มทั่วตัว ทำให้เกิดลักษณะสีขนที่ต่างกันอย่างชัดเจน[13]
แมวคาลิโกเป็นเพศเมียแทบจะทั้งสิ้น เนื่องจากโลคัสของยีนที่กำหนดขนสีส้ม/ไม่เป็นสีส้มอยู่บนโครโมโซม X[14] หากไม่คำนึงถึงอิทธิพลอื่น ๆ เช่น การยับยั้งการสร้างสีซึ่งเป็นสาเหตุของการมีขนสีขาว (ไม่มีสี) รูปแบบอัลลีลของโลคัสดังกล่าวจะเป็นสิ่งกำหนดว่าขนจะเป็นสีส้มหรือไม่เป็นสีส้ม แมวตัวเมียต่างก็มีโครโมโซม X สองแท่งเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกชนิดอื่น ในทางกลับกัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกตัวผู้มีโครโมโซม X และ Y อย่างละแท่ง[2][11][15] แมวเพศผู้ซึ่งมีโครโมโซม XY ไม่สามารถมีทั้งยีนขนสีส้มและยีนขนไม่เป็นสีส้มพร้อมกันได้ เนื่องจากโครโมโซม Y ไม่มีโลคัสสำหรับยีนขนสีส้ม ซึ่งเป็นสาเหตุตามปกติที่ทำให้เกิดลักษณะขนสีเปรอะหรือคาลิโกขึ้น[16][17]
มีข้อยกเว้นประการหนึ่งคือ อาจพบกรณีการแบ่งเซลล์ผิดพลาดที่ทำให้โครโมโซม X ส่วนเกินเหลืออยู่ในเซลล์สืบพันธุ์เซลล์ใดเซลล์หนึ่งที่สร้างแมวตัวผู้ จากนั้นโครโมโซม X ส่วนเกินจะถูกทำซ้ำในเซลล์ร่างกายแต่ละเซลล์ของมัน เป็นภาวะที่แสดงการมีโครโมโซม XXY หรือกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ รูปแบบการรวมโครโมโซมเช่นนี้สามารถสร้างลักษณะแต้มสีแบบเปรอะหรือแบบคาลิโกในแมวเพศผู้ ในทำนองเดียวกันกับการที่คู่โครโมโซม XX สร้างลักษณะดังกล่าวในแมวเพศเมีย[18][ต้องการอ้างอิง]
ประมาณหนึ่งในสามพันของแมวคาลิโกตัวหรือสีเปรอะตัวผู้เป็นหมัน เนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม และนักปรับปรุงพันธุ์สัตว์มักปฏิเสธที่จะนำแมวตัวผู้ที่มีลักษณะขนเช่นนี้มาเป็นพ่อพันธุ์ เพราะพวกมันมักมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงและความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำ แม้ว่าจะมีกรณีหายากซึ่งแมวคาลิโกตัวผู้มีสุขภาพดีและสามารถสืบพันธุ์ได้ ผู้ลงทะเบียนพันธุ์แมว (cat registry) ก็มักที่จะไม่ยอมรับแมวดังกล่าวเป็นสัตว์สำหรับส่งประกวด[19]
ซู ฮับเบิลเคยกล่าวไว้ในหนังสือ Shrinking the Cat: Genetic Engineering Before We Knew About Genes ว่า
การกลายพันธุ์ซึ่งทำให้แมวตัวผู้มีขนสีส้ม (ginger) และตัวเมียมีขนสีส้ม ลายกระดองเต่า หรือลายคาลิโก ช่วยสร้างแบบแผนที่ให้ข้อมูลอย่างยิ่ง ยีนกลายพันธุ์ที่ให้ขนสีส้มพบเฉพาะบนโครโมโซม X หรือก็คือโครโมโซมเพศเมีย แมวตัวเมียมีโครโซมเพศที่เข้าคู่กัน คือ XX ส่วนแมวตัวผู้มีโครโมโซมเพศ XY เช่นเดียวกับในมนุษย์ ดังนั้น แมวตัวเมียอาจมียีนกลายพันธ์ุให้ขนสีส้มอยู่บนโครโมโซม X แท่งหนึ่ง และยีนสำหรับขนสีดำอยู่บนอีกแท่งก็ได้ ยีนลายด่างอยู่บนอีกโครโมโซม ซึ่งถ้าแสดงออกมา ยีนนี้จะเข้ารหัสสำหรับขนสีขาว หรือก็คือไม่มีสี และข่มอัลลีลที่เข้ารหัสสำหรับบางสี เช่น สีส้มหรือสีดำ ทำให้เกิดเป็นแต้มสีขาวบนตัวแมวคาลิโก ถ้าหากว่าเป็นตามที่กล่าวมาแล้ว ยีนสีขนเหล่านี้ก็จะแสดงออกมาเป็นลักษณะขนด่างดวงในแมวจำพวกลายกระดองเต่าหรือลายคาลิโก ส่วนตัวผู้ ซึ่งมีโครโมโซม X หนึ่งแท่ง มียีนสีขนที่ว่าเพียงยีนเดียว มันอาจมีขนสีส้มหรือไม่ใช่สีส้มก็ได้ ถึงแม้ยีนปรับแต่งบางยีนอาจช่วยเติมแต่งสีขาวตรงนั้นตรงนี้บ้างเล็กน้อย แต่ถ้ามันไม่มีความผิดปกติของโครโมโซม มันก็ไม่อาจเป็นแมวลายคาลิโกได้[6]
การทำซ้ำรูปแบบลายขนของแมวคาลิโกด้วยการโคลนนิงถือเป็นเรื่องที่กระทำได้ยากมากในปัจจุบัน ดังปรากฏในก็อปปีแคต (Copy Cat) ซึ่งมีตัวต้นแบบคือแมวที่ชื่อเรนโบว์ ซึ่งเป็นแมวบ้านขนยาวลายคาลิโก แต่ทั้งก็อปปีแคตและเรนโบว์กลับมีรูปแบบลายขนที่ต่างกัน[20]
การศึกษาแมวคาลิโกอาจช่วยให้ข้อค้นพบสำคัญในประเด็นความแตกต่างทางสรีรวิทยาระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้และตัวเมีย[11][15][21]
คติชน
แก้ในคติชนของหลายวัฒนธรรม เชื่อกันว่าแมวที่มีสีนี้จะนำความโชคดีมาให้[22] ในเยอรมนี คำสำหรับเรียกแมวคาลิโกคือ "Glückskatze" ซึ่งแปลว่า "แมวนำโชค" ในสหรัฐอเมริกาบางครั้งเรียกว่า แมวเงิน (money cat)[23] แมวคาลิโกยังเป็นแมวประจำรัฐแมรีแลนด์ของสหรัฐอเมริกา[24] ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า ยูจีน ฟิลด์ได้ตีพิมพ์ "เดอะดูเอล" ซึ่งเป็นบทกวีสำหรับเด็กที่รู้จักกันในชื่อ "The Gingham Dog and the Calico Cat" ในญี่ปุ่น รูปปั้นมาเนกิเนโกะเป็นตัวแทนของแมวคาลิโกที่นำความโชคดีมาให้ และกะลาสีเรือญี่ปุ่นมักมีแมวประจำเรือเป็นแมวคาลิโกเพื่อกันความเคราะห์ร้ายในทะเล[25]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Cat Colors FAQ: Common Colors - Torties, Patched Tabbies and Calicos :เก็บถาวร 5 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Robinson, Richard. "Mosaicism". Genetics. New York: Macmillan Reference USA, 2003. 76-80.
- ↑ "Calico cat". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 December 2014.
- ↑ "XX/XY Chimerism in a Tricolored Male Cat". Cytogenetics. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ Todd, Neil B. (November 1977) Cats and Commerce. Scientific American.
- ↑ 6.0 6.1 Hubbell, Sue. Shrinking the Cat: Genetic Engineering Before We Knew About Genes. Boston: Houghton Mifflin, 2001.
- ↑ "The Science Behind the Calico Cat's Colors". Lets talk science. 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ Robinson, Roy. Genetics for Cat Breeders and Veterinarians, Butterworth-Heinemann Medical, 1991. ISBN 978-0750635400
- ↑ Travis, John. "Silence of the Xs". Science News. 158 (6): 92–94. 5 August 2000.
- ↑ Travis, John. "Silence of the Xs". Science News. 158 (6): 92–94. 5 August 2000.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Travis, John. "Silence of the Xs". Science News. 158 (6): 92–94. 5 August 2000.
- ↑ Gilbert, Scott F. "Transcriptional Regulation of an Entire Chromosome: Dosage Compensation." Developmental Biology, Sunderland, Mass.: Sinauer Associates, 2000.
- ↑ "The Genetics of Calico Cats - QPS Clinical Research". QPS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
- ↑ https://www.tuxedo-cat.co.uk/calico-cats/
- ↑ 15.0 15.1 Gunter, Chris. "She Moves in Mysterious Ways". Nature 17 March 2005.
- ↑ "The Genetics of Calico Cats - QPS Clinical Research". QPS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
- ↑ "Are All Orange Cats are Male, and Calico Cats are Female?". PussMeow (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2020. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020.
- ↑ "Are All Orange Cats are Male, and Calico Cats are Female?". PussMeow (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-04.
- ↑ "What's A Chimera? Thanks To A Genetic Anomaly, An Extremely Rare Fertile Male Calico Is Born". Cat Gazette. สืบค้นเมื่อ 2020-06-24.
- ↑ Hubbell, Sue. Shrinking the Cat: Genetic Engineering Before We Knew About Genes. Boston: Houghton Mifflin, 2001.
- ↑ Pearson-White, Sonia. "Mammalian Genetics: X/imprinting เก็บถาวร 17 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The University of Virginia. 2004. Accessed 23 May 2010.
- ↑ Hartwell, Sarah (1995). "Feline Folktails - Cats in Folklore and Superstition". สืบค้นเมื่อ 22 January 2009.
- ↑ Finegan, Edward; Rickford, John (2004). "Language in the USA: Themes for the Twenty-first Century". Cambridge University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2013. สืบค้นเมื่อ 22 January 2009.
- ↑ "Maryland State Cat: Calico Cat".
- ↑ Finlay, Katie (November 25, 2017). "4 Things You Didn't Know About Calico Cats". iHeartCats.com. HomeLife Media. สืบค้นเมื่อ January 17, 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Calico cats