แฟแรงเกสถาน (เปอร์เซีย: فرنگستان) เป็นศัพท์ที่ชาวมุสลิมและชาวเปอร์เซียใช้เรียกยุโรปตะวันตกหรือยุโรปละตินในสมัยกลางและสมัยถัดมา

แฟแรงเกสถาน มีความหมายตรงตัวว่า "ดินแดนแห่งชาวแฟรงก์" มีรากศัพท์มาจาก แฟแรงก์ ("ฝรั่ง") ซึ่งเป็นรูปที่แปลงเป็นเปอร์เซียของคำว่า แฟรงก์ ประสมกับ -สถาน ซึ่งเป็นหน่วยคำเติมท้ายในภาษาเปอร์เซีย[1]

ในทางตรงกันข้าม ในสมัยกลางชาวคริสต์มักเรียกชาวมุสลิมว่า ซาราเซ็น หรือ มัวร์ ทั้งสองชื่อนี้มีที่มาจากชื่อของเผ่าท้องถิ่นในอาระเบียและเมาเรตานิอาตามลำดับ

ในสมัยจักรวรรดิออตโตมันยังคงมีการใช้คำว่า แฟแรงเกสถาน โดยปรากฏในแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างน้อยจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17[2] ในขณะที่เปอร์เซียก็ใช้คำนี้จนกระทั่งราชวงศ์กอญัรสิ้นสุดลง ตามที่ระบุไว้ในจดหมายโต้ตอบและเอกสารการบริหารต่าง ๆ ที่อ้างถึงประเทศแถบยุโรปในสมัยนั้น[3] คำอื่น ๆ ที่แปลงมาจากคำนี้ เช่น แฟแรงก์ (คำนาม), แฟแรงกี (คำคุณศัพท์) และคำประสมอย่าง แฟแรงกีแมออบ (แปลว่าแบบอย่างฝรั่งเศส) มีการใช้ในภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ไม่บ่อยนักและไม่มีความหมายแฝงในทางลบ[4]

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรมเดฮ์โฆดอ
  2. Bernard Lewis, "Some Reflections on the Decline of the Ottoman Empire", Studia Islamica, No. 9. (1958), pp. 111–127.
  3. روزنامه خاطرات ناصرالدين شاه در سفر سوم فرنگستان (Chronicles of Nasser al-Din Shah from His Third Journey to Farangestān (Europe)), edited by Dr. Mohammad Esmā'eel Rezvāni & Fātemeh Ghāzihā, Iranian National Documents Organization Publishing, Tehran, 1378 Solar A.H. (1999).
  4. พจนานุกรมเดฮ์โฆดอ