แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(เปลี่ยนทางจาก แฟรงกลิน โรสเวลต์)

แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt; 30 มกราคม ค.ศ. 1882 – 12 เมษายน ค.ศ. 1945) มักจะเรียกเป็นคำย่อว่า เอฟดีอาร์ (FDR) เป็นรัฐบุรุษและผู้นำทางการเมืองชาวอเมริกันที่ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 32 ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1945 สมาชิกพรรคเดโมแครต เขาได้รับชนะการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสี่ครั้งและกลายเป็นบุคคลสำคัญในเหตุการณ์ของโลกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 โรเซอเวลต์ได้ชี้นำกับรัฐบาลสหรัฐในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ได้นำสัญญาใหม่ของเขามาใช้ในวาระการประชุมภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา ในฐานะที่เป็นผู้นำที่โดดเด่นของพรรคตนเอง เขาได้จัดตั้งการร่วมมือสัญญาใหม่ (New Deal Coalition) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนทางการเมืองอเมริกามาเป็นระบบห้าพรรค (Fifth Party System) และนิยามฝ่ายเสรีนิยม ชาวอเมริกันมาโดยตลอดในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ในวาระในการดำรงตำแหน่งที่สามและสี่ของเขานั้นถูกครอบงำโดยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเพิ่งจะยุติลงได้ไม่นานหลังจากที่เขาถึงแก่อสัญกรรมในที่ทำงาน เขาได้รับคำวิจารณ์ในเรื่องประเด็นต่าง ๆ เอาไว้มากมาย เขาได้รับการจัดอันดับโดยนักวิชาการว่าเป็นหนึ่งในสามประธานาธิบดีแห่งสหรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พร้อมกับจอร์จ วอชิงตันและเอบราแฮม ลิงคอล์น

แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์
Franklin D. Roosevelt
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 32
ดำรงตำแหน่ง
4 มีนาคม ค.ศ. 1933 – 12 เมษายน ค.ศ. 1945
(12 ปี 39 วัน)
รองประธานาธิบดีจอห์น แนนซ์ การ์เนอร์ (1933–1941),
เฮนรี เอ. วอลเลซ (1941–1945),
แฮร์รี เอส. ทรูแมน (1945)
ก่อนหน้าเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
ถัดไปแฮร์รี เอส. ทรูแมน
ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก คนที่ 44
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 1929 – 31 ธันวาคม 1932
รองเฮอร์เบิร์ต เอช. เลห์แมน
ก่อนหน้าอัลเฟรด อี. สมิธ
ถัดไปเฮอร์เบิร์ต เอช. เลห์แมน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1913–1920
ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน
สมาชิกวุฒิสภา แห่งรัฐนิวยอร์ก
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม 1911 – 17 มีนาคม 1913
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม ค.ศ. 1882(1882-01-30)
ไฮด์พาร์ก รัฐนิวยอร์ก
เสียชีวิต12 เมษายน ค.ศ. 1945(1945-04-12) (63 ปี)
วอร์ม สปริงส์ รัฐจอร์เจีย
ศาสนาคริสต์ เอพิสโคเพเลียน
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรสเอเลนอร์ โรเซอเวลต์
วิชาชีพทนายความ
ลายมือชื่อ

โรเซอเวลต์เกิดในไฮด์พาร์ก รัฐนิวยอร์ก ในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 26 และวิลเลียม เฮนรี แอสปินวอลล์ (William Henry Aspinwall) แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกรอตัน วิลยาลัยฮาร์วาด์ และโรงเรียนกฎหมายโคลัมเบีย และได้ไปซักซ้อมทางด้านกฎหมายในนครนิวยอร์ก ในปี 1905 เขาได้แต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องของเขาที่ย้ายออกไปคือ เอเลนอร์ โรเซอเวลต์ พวกเขามีลูกถึงหกคน ซึ่งมีเพียงแค่ห้าคนที่รอดชีวิตจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งวุฒิสภาแห่งรัฐนิวยอร์กในปี 1910 และหลังจากนั้นได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการแห่งกองทัพเรือภายใต้การนำโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โรเซอเวลต์เป็นคู่หูกับเจมส์ เอ็ม ค็อกซ์ที่เข้าแข่งขันบนตั๋วแห่งชาติของพรรคเดโมแครต ปี 1920 แต่ค็อกซ์พ่ายแพ่ให้แก่ Warren G. Harding ฝ่ายพรรคริพับลิกัน ในปี 1921 โรเซอเวลต์ได้มีอาการป่วยเป็นอัมพาตครึ่งท่อนที่มีความเชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นโรคโปลิโอ และขาของเขาได้กลายเป็นอัมพาตอย่างถาวร ในขณะที่เขาได้พยายามที่จะฟื้นฟูจากสภาพอย่างนั้น โรเซอเวลต์ได้ก่อตั้งศูนย์บำบัดในเมืองวอร์มสปิรงส์ รัฐจอร์เจีย สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคโปลิโอ ในสภาพที่ไม่สามารถเดินได้โดยเพียงลำพัง โรเซอเวลต์ได้เดินทางกลับไปที่สำนักงานสาธารณะด้วยการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กในปี 1928 เขาได้ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 1929 ถึง 1933 และทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการปฏิรูป ได้นำเสนอโครงการต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

ในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1932 โรเซอเวลต์ได้รับชัยชนะเหนือประธานาธิบดี เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ จากฝ่ายพรรคริพับลิกันอย่างถล่มทลาย โรเซอเวลต์ได้เข้ารับตำแหน่งในขณะที่สหรัฐอเมริกากำลังตกอยู่ในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ วิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้เพียงร้อยวันในการประชุมสภาคองเกรสสหรัฐครั้งที่ 73 โรเซอเวลต์ได้กลายเป็นหัวหอกในการออกกฎหมายของสหรัฐอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและได้ออกคำสั่งแก่ฝ่ายผู้บริหารจำนวนมาก เมื่อได้จัดตั้งสัญญาใหม่ โครงการต่าง ๆ มากมายที่ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรเทา ฟื้นฟู และการปฏิรูป เขาได้สร้างโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือบรรเทาแก่ผู้ว่างงานและเกษตรกร ในขณะที่กำลังหาทางการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจด้วยฝ่ายบริหารการฟื้นฟูแห่งชาติ (National Recovery Administration) และโครงการอื่น ๆ นอกจากนี้เขายังได้ทำการปฏิรูปทางด้านกฏระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการเงิน การสื่อสาร และแรงงาน และปกครองในช่วงปลายของยุคต้องห้ามสุรา เขาได้กำกับควบคุมรายการวิทยุเพื่อที่จะได้พูดให้แก่ประชาชนชาวอเมริกันโดยตรง ด้วยการให้ที่อยู่ของสถานีวิทยุ"fireside chat" 30 แห่งในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และกลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เศรษฐกิจได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 1933 ถึง 1936 โรเซอเวลต์ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งใหม่ในปี 1936 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 1937 และ 1938 ภายหลังการเลือกตั้งปี 1936 โรเซอเวลต์ได้พยายามหาทางในกระบวนการแต่งตั้งผู้พิพากษา ค.ศ. 1937 (Judicial Procedures Reform Bill 1937; "แผนการบรรจุผู้พิพากษา") ซึ่งจะมีการขยายขนาดของศาลสูงสุดสหรัฐ สองพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ร่วมมือกันที่เกิดขึ้นในปี 1937 ได้เข้าขัดขวางกระบวนการการจ่ายเงินและปิดกั้นการดำเนินงานของโครงการสัญญาใหม่และการปฏิรูปที่กำลังไปได้ไกล โครงการและกฎหมายที่สำคัญที่เหลือรอดซึ่งดำเนินการภายใต้การนำของโรเซอเวลต์ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์แห่งชาติ (National Labor Relations Act) บริษัท์ค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง (Federal Deposit Insurance Corporation) และประกันสังคม (Social Security)

โรเซอเวลต์ได้ประสบความสำเร็จอีกครั้งในการเลือกตั้งใหม่ในปี 1940 ด้วยชัยชนะของเขาทำให้เขากลายเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งได้มากกว่าสองวาระ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ได้ปรากฏเป็นลาง ๆ ในช่วงปี 1938 โรเซอเวลต์ได้ให้การสนับสนุนทางการทูตและการเงินที่แข็งแกร่งแก่จีน สหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดคือสหภาพโซเวียต ในขณะที่สหรัฐยังคงวางตัวเป็นกลางจากสงครามอย่างเป็นทางการ ภายหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เหตุการณ์นี้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงจากคำกล่าวสุนทรพจน์ของเขาว่า "วันซึ่งที่จะมีชีวิตอยู่ในความอัปยศ" ("a date which will live in infamy") โรเซอเวลต์ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในรัฐสภาและอีกไม่กี่วันต่อมาก็ประกาศสงครามกับเยอรมนีและอิตาลี ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ช่วยระดับชั้นนำของเขา แฮร์รี่ ฮอปกิ้น และด้วยการสนับสนุนแห่งชาติที่แข็งแกร่งมาก เขาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล ผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน และจอมทัพแห่งกองทัพจีน เจียง ไคเชก ในบทบาทเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อสู้รบกับฝ่ายอักษะ โรเซอเวลต์ได้กำกับดูแลในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงคราม และยุทธ์ศาสตร์ครั้งแรกในทวีปยุโรปได้ประสบความสำเร็จซึ่งทำให้เยอรมนีต้องพ่ายแพ้ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าญี่ปุ่น นอกจากนี้เขายังได้ริเริ่มการพัฒนาระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกและทำงานร่วมกับผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรคนอื่น ๆ เพื่อวางรากฐานสำหรับองค์กรสหประชาชาติและสถาบันอื่น ๆ ในช่วงหลังสงคราม โรเซอเวลต์ได้รับชัยชนะอีกครั้งในการเลือกตั้งใหม่ในปี 1944 แต่สุขภาพร่างกายของเขาได้ถดถอยลงในช่วงสงคราม เขาได้ถึงแก่อสัญกรรมในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เขาได้ดำรงตำแหน่งได้แค่เพียง 11 สัปดาห์ในวาระที่สี่ของเขา ฝ่ายอักษะได้ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเดือนต่อมาหลังจากที่โรเซอเวลต์ถึงแก่อสัญกรรม ในช่วงที่ตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นได้ตกเป็นของแฮร์รี เอส. ทรูแมน

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ ถัดไป
เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์    
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 32
(4 มีนาคม พ.ศ. 2476 - 12 เมษายน พ.ศ. 2488)
  แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ปีแอร์ ลาวาล   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1932)
  ฮิวจ์ จอห์นสัน
ฮิวจ์ จอห์นสัน   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1934)
  เฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย
วินสตัน เชอร์ชิล   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1941)
  โจเซฟ สตาลิน