การแพทย์แผนไทย

(เปลี่ยนทางจาก แพทย์แผนไทย)

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฏิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำกายของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย

องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไทย

สาขาของการแพทย์แผนไทย

แก้

เดิมทีความรู้และความเข้าใจของแพทย์แผนไทย กระจัดกระจายกัน และแยกกันเป็นส่วน ๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 3) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ไทยแห่งแรก และมีการรวบรวมความรู้ทางด้านแพทย์แผนไทยทั้ง 4 สาขาเข้าไว้ด้วยกัน ดังนี้

  1. เวชกรรมไทย
  2. เภสัชกรรมไทย
  3. ผดุงครรภ์ไทย
  4. นวดไทย

ทฤษฎีความสมดุลธาตุ

แก้

การแพทย์ไทย กล่าวว่า ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุใหญ่สำคัญ 4 ประการ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย สุขภาพพลานามัยจะสมบูรณ์ แต่หากธาตุในร่างกายขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยขึ้น สาเหตุที่ทำให้ธาตุขาดสมดุล เกิดได้ทั้งปัจจัยภายใน เช่น อายุ พฤติกรรม เป็นต้น และปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น ฤดูกาล สภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นเพื่อรักษาความสมดุลธาตุในร่างกาย แพทย์แผนไทยจึงใช้วิธีปรับสมดุลธาตุ ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวดรักษา การปรับพฤติกรรมสุขภาพ เป็นต้น

คัมภีร์แพทย์แผนไทย

แก้
คัมภีร์ที่เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคโดยทั่วไป และการวินิจฉัยโรค
  • คัมภีร์เวชศึกษา กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค และ วิธีการตรวจโรคต่าง ๆ
  • คัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ซึ่งกล่าวถึงถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยทฤษฎีธาตุในการวินิจฉัยและพยากรณ์โรค
  • คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงสาเหตุของโรค การเสียชีวิต และความผิดปกติของธาตุต่าง ๆ และรสยาต่าง ๆ
  • คัมภีร์ธาตุวิภังค์ เช่นเดียวกับคัมภีร์โรคนิทาน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน และรสยาต่าง ๆ
  • คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงสาเหตุการเกิดโรค โดยอาศัยปัจจัยแวดล้อม และปัจจัยภายใน รวมถึงรสยาต่าง ๆ

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับไข้

  • คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงไข้ต่าง ๆ โดยอาศัยทฤษฎีธาตุ
  • คัมภีร์ตักศิลา กล่าวถึง อาการและโรคไข้ต่าง ๆ
  • คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ อาการไข้ในเด็กแรกเกิดถึงหนึ่งปี และอาการไข้ในผู้ใหญ่ที่เกิดจากการอักเสบต่าง ๆ

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

  • คัมภีร์มุขโรค กล่าวถึงโรคในช่องปากและคอ

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

  • คัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยพิจารณาจากอุจจาระ และใช้ทฤษฎีธาตุ
  • คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึงโรคในช่องท้องและท้องเดินอาหาร
  • คัมภีร์อติสาร เช่นเดียวกับคัมภีร์อุทรโรค แต่รายละเอียดแตกต่างกัน

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคสตรี การตั้งครรภ์ และโรคในเด็ก

  • คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ลักษณะสตรีต่าง ๆ โรคในเด็กแรกเกิด
  • คัมภีร์มหาโชติรัตน์ กล่าวถึงโรคสตรี

คัมภีร์ที่กล่าวถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และทางเดินปัสสาวะ

  • คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคลม

  • คัมภีร์ชวดาร กล่าวเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะ หัวใจ และไต ซึ่งอธิบายโดยทฤษฎีลม
  • คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร อธิบายที่ตั้งและการเรียกชื่อโรคลม

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือความสึกกร่อนของร่างกาย

  • คัมภีร์กษัย

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นที่เยื่อบุผิว (ฝีภายใน)

  • คัมภีร์ทิพยมาลา เกี่ยวกับฝีภายในร่างกาย
  • คัมภีร์อติสาร

คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคตา

  • คัมภีร์อภัยสันตา

คัมภีร์เกี่ยวกับโรคผิวหนัง

  • คัมภีร์วิถีกุฏฐโรค
  • คัมภีร์ไพจิตร์มหาวงศ์ กล่าวเกี่ยวกับฝี

คัมภีร์เกี่ยวกับสรรพคุณยา

  • คัมภีร์สรรพคุณยา

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทย

แก้

แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ซึ่งต้องการพัฒนาและยกฐานะของการแพทย์แผนโบราณให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทยที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้จะต้องร่ำเรียนตามหลักวิชาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ผสมผสานกับคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของไทย รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยวิธีการการแพทย์แผนไทย อาทิการใช้ยาสมุนไพร นวด อบ ประคบ นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

แพทย์แผนไทยประยุกต์จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้น จึงจะเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง


ข้อแตกต่างตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

หัวข้อ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์
การประกอบวิชาชีพ การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนาสืบต่อกันมา ตามตําราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง

การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยโดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษา ที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย

ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ประเภท ก. ประเภท ข. ประเภทประยุกต์
ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภารับรอง โดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้ถ่ายทอด  และต้องใบอนุญาตสอบผ่าน ได้รับปริญญาตรี การแพทย์แผนไทยบัณฑิต จากสถาบันที่สภารับรอง และต้องสอบใบอนุญาตผ่าน

 

ได้รับปริญญาตรี การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

จากสถาบันที่สภารับรอง และต้องสอบใบอนุญาตผ่าน   


ใบอนุญาต สอบขึ้นทะเบียน “แยก” แต่ละด้าน

1. ด้านเวชกรรมไทย (พท.ว)

2. ด้านเภสัชกรรมไทย (พท.ภ.)

3. ด้านผดุงครรภ์ไทย (พท.ผ.)

4. ด้านนวดไทย (พท.น.)

สอบขึ้นทะเบียน 4 ใบ

1. ด้านเวชกรรมไทย (พท.ว)

2. ด้านเภสัชกรรมไทย (พท.ภ.)

3. ด้านผดุงครรภ์ไทย (พท.ผ.)

4. ด้านนวดไทย (พท.น.)

สอบขึ้นทะเบียน

ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) 1 ใบ

สอบวิชาชีพพื้นฐาน

วิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

วิชาด้านที่อบรม

1. สอบวิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

2. สอบภาคทฤษฎีของด้านที่สมัครสอบ

3. สอบภาคปฏิบัติของด้านที่สมัครสอบ

1.สอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานชั้นเตรียมคลินิก ชั้นคลินิก และกฎหมาย

2.สอบความรู้ทางวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

3.สอบความรู้ทักษะและหัตถการในเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยประยุกต์)


คำนำหน้าชื่อ แพทย์แผนไทย ย่อ พท. แพทย์แผนไทยประยุกต์ ย่อ พท.ป.

การจัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

แก้

ในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตในสาขาการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ซึ่งการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์ นั้นมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันพอสมควร อย่างไรก็ตามทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละประเภทกัน[1]

โดยสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย มีดังนี้

สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์[2]

สาขาการแพทย์แผนไทย[15]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.kmpht.ac.th/homekmp/?page_id=1575
  2. https://thaimed.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0/
  3. http://ra.mahidol.ac.th
  4. https://www.mfu.ac.th/education/school/sch-integrative-medicine.html
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-05. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  7. https://smd.wu.ac.th/
  8. http://www.medicine.up.ac.th/
  9. http://www.health.nu.ac.th
  10. http://thaimed.buu.ac.th
  11. http://www.atm.ahs.ssru.ac.th/index.php/th
  12. "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ. พระนคร". www.scipnru.com.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  14. "สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรใหม่ปี2566 (ว.อภัยภูเบศร ปราจีนบุรี) – วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี".
  15. https://thaimed.or.th/download/%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%82/?wpdmdl=6632&refresh=66b0d2e458d1f1722864356
  16. http://www.ttmed.psu.ac.th
  17. http://www.rsa.ru.ac.th[ลิงก์เสีย]
  18. "Facebook". www.facebook.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้