แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง[ก] (ญี่ปุ่น: 阪神・淡路大震災; โรมาจิ: Hanshin Awaji daishinsai; อังกฤษ: The Great Hanshin earthquake) หรือ แผ่นดินไหวโคเบะ หรือชื่อทางการเรียกว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง-อาวาจิ เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) เวลา 05:46 น. ตามเวลาท้องถิ่น บริเวณตอนใต้ของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาด 7.3 ตามกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และ 6.9 ตามมาตราโมเมนต์ ลึกลงไปใต้ผิวโลก 16 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่บริเวณเกาะอาวาจิ ซึ่งอยู่ห่างจากนครโคเบะ 20 กิโลเมตร ระยะเวลาการสั่นสะเทือนนานประมาณ 20 วินาที [8] มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 6,434 คน (นับถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2538) ในจำนวนนี้ประมาณ 4,600 คน มาจากโคเบะ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด และมีประชากรทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน[9]
兵庫県南部地震 阪神・淡路大震災 | |
ทางด่วนฮันชิงพังถล่มลงมา | |
แผนที่แรงสั่นสะเทือน (USGS) | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 1995-01-16 20:46:53 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 124708 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 17 มกราคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) |
เวลาท้องถิ่น | 05:46:53 JST |
ระยะเวลา | ~20 วินาที |
ขนาด | 7.3 Mw JMA 6.9 Mw USGS[1] |
ความลึก | 17.6 กิโลเมตร (10.9 ไมล์)[1] |
ศูนย์กลาง | 34°35′N 135°04′E / 34.59°N 135.07°E[1] |
รอยเลื่อน | โนจิมะ |
ประเภท | ตามแนวระดับ[2] |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ญี่ปุ่น |
ความเสียหายทั้งหมด | 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | XII (ภัยพิบัติ)
[4][5] ชินโดะ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.6) [6] |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 0.91 g 891 gal |
สึนามิ | ประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ก่อความเสียหาย [7] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 5,502–6,434 คน[2] บาดเจ็บ 36,896–43,792 คน[2] พลัดถิ่น 251,301–310,000 คน[2] |
เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ร้ายแรงที่สุดในรอบ 72 ปี นับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 140,000 คน ความเสียหายเบื้องต้น ทำให้บ้านเรือนพังพลายกว่า 200,000 หลัง, โครงสร้างยกระดับของทางด่วนฮันชิง พังทลายเป็นระยะทางประมาณ 630 เมตร[10] , ปั้นจั่นของท่าเรือโคเบะเสียหายกว่าหนึ่งร้อยตัว มูลค่าตวามเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 10 ล้านล้านเยน (ประมาณ 102.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็น 2.5% ของจีดีพีของญี่ปุ่นในปีนั้น
แผ่นดินไหว
แก้แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น เกิดจากการแผ่นทะเลฟิลิปปินชนกับแผ่นยูเรเชีย แผ่นดินไหวประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยเฉพาะในภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นประเภทที่เรียกว่า "แผ่นดินไหวระดับตื้นในแผ่นดิน" หากเกิดในขนาดที่ต่ำก็สามารถสร้างความเสียหายได้เพราะเกิดขึ้นใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรสูงและเนื่องจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ตื้นแค่ 20 กม. แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทางเหนือของเกาะอาวาจิ ซึ่งอยู่ทางใต้ของนครโคเบะ แรงสั่นกระจายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ตามรอยเลื่อนโนจิมะ และไปทางตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งวิ่งผ่านใจกลางโคเบะ บริเวณที่ถูกแรงสั่นกระจายจากตะวันออกสู่ตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเช่นเดียวกับการเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ ที่บันทึกไว้ในภาคตะวันตกของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1891 และ ค.ศ. 1948 แผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1995 มีกลไกการชนกันระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นทะเลฟิลิปปิน
แผ่นดินไหวขนาด 7.3 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05:46 น. JST ในเช้าวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 แผ่นดินไหวกินเวลา 20 วินาที ทิศใต้ของรอยเลื่อนโนจิมะเคลื่อนตัวไปทางขวา 1.5 เมตร และจมลงไป 1.2 เมตร และเกิดแผ่นดินไหวนำ ขนาด 3.7 เวลา 18:28 น. ของวันก่อนหน้า
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
แก้เป็นครั้งแรกที่แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นถูกวัดอย่างเป็นทางการที่ความรุนแรงระดับ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.6) [6]ระดับของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น(JMA) ระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว ระดับ 5 และ 6 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 5- 5+ และ 6- 6+ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1996) หลังแผ่นดินไหวมีการตรวจสอบทันทีโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น สรุปว่าแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ที่ความรุนแรงระดับ 7 ในพื้นที่ทางเหนือของเกาะอาวาจิ และในนครโคเบะ
ความรุนแรง | ที่ตั้ง |
---|---|
6 | ซูโมโตะ |
5 | โทโยโอกะ, ฮิโกเนะ, เกียวโต |
4 | จังหวัดเฮียวโงะ, จังหวัดชิงะ, จังหวัดเกียวโต, จังหวัดฟูกูอิ, จังหวัดกิฟุ, จังหวัดมิเอะ, จังหวัดโอซากะ, จังหวัดวากายามะ, จังหวัดทตโตริ, จังหวัดโอกายามะ, จังหวัดฮิโรชิมะ, จังหวัดโทกูชิมะ, จังหวัดคางาวะ จังหวัดโคจิ และจังหวัดนาระ |
ความรุนแรง | จังหวัด | ที่ตั้ง | แผนที่ |
---|---|---|---|
7 | เฮียวโงะ | โคเบะ (เขตฮิงาชินาดะ, เขตนาดะ, เขตชูโอ, เขตเฮียวโงะ, เขตนางาตะ, เขตซูมะ), นิชิโนมิยะ, อาชิยะ, ทาการาซูกะ, สึนะ, โฮกูดัง, อิจิโนมิยะ | พื้นที่ความรุนแรงแผ่นดินไหวระดับ 7 (震度7) |
6 | โอซากะ | โอซากะ (เขตนิชิโยโดงาวะ), โทโยนากะ, อิเกดะ | |
เฮียวโงะ | โคเบะ (เขตทารูมิ, เขตคิตะ, เขตนิชิ), อามางาซากิ, อากาชิ, อิตามิ, คาวานิชิ, อาวาจิ, ฮิงาชิอูระ, โกชิกิ |
ความเสียหาย
แก้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างและรุนแรง โครงสร้างอาคารได้รับความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้เกือบ 400,000 แห่ง[3][13] เกิดไฟไหม้ประมาณ 300 แห่ง ไฟไหม้ได้ทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองและเกิดการขาด น้ำ ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มในพื้นที่ ประชาชนไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวตามนานหลายวัน แผ่นดินไหวตามมีถึง 74 ครั้งที่รู้สึกได้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เสียชีวิตในจังหวัดเฮียวโงะ
หนึ่งในห้าของอาคารในพื้นที่เสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ประมาณ 22% ของสำนักงานในย่านธุรกิจกลางเมืองโคเบะไม่สามารถใช้งานได้ และกว่าครึ่งหนึ่งของอาคารในพื้นที่นั้นถือว่าไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย อาคารสูงที่สร้างขึ้นหลังจาก ค.ศ. 1981 ได้รับความเสียหายเล็กน้อย[14] ถึงกระนั้นก็ยังมีอาคารบางหลังที่พังทลายและได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงแม้ว่าจะไม่มากเท่ากับอาคารที่สร้างขึ้นก่อน ค.ศ. 1981 อาคารที่ไม่ได้สร้างขึ้นตามมาตรฐานได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเพราะโครงสร้างที่อ่อนแอ บ้านแบบดั้งเดิมที่มีอายุมากส่วนใหญ่มีหลังคากระเบื้องหนักซึ่งมีน้ำหนักมากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันพายุไต้ฝุ่นที่ผ่านโคเบะ แต่เมื่อเจอกับแผ่นดินไหวบ้านที่มีน้ำหนักมากก็เสียหายอย่างง่ายดาย บ้านที่ถูกสร้างใหม่มีผนังเสริมแรงและหลังคาที่เบากว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้แต่มีความอ่อนไหวต่อพายุไต้ฝุ่นมากขึ้น
ความเสียหายต่อทางหลวงและรถไฟใต้ดินเป็นภาพที่โด่งดังที่สุดของแผ่นดินไหว ภาพของทางด่วนฮันชิงที่ถล่มลงปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วโลก คนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นเชื่อว่าโครงสร้างเหล่านั้นค่อนข้างปลอดภัยเนื่องจากมีคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ต่อมาก็แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างที่พังทลายส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นตามกฎหมายอาคารที่บังคับใช้ในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1960 ทางด่วนยกระดับ 3 แห่งเสียหายในโคเบะและนิชิโนมิยะ เส้นทางทั้งหมดปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1996 สะพานสามแห่งบนเส้นทางที่ 2 ได้รับความเสียหาย ทางด่วนเมชิงถูกปิดจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 เพื่อเปิดทางให้รถกู้ภัย รถไฟส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้รับความเสียหาย รถไฟโอซากะ–โคเบะเปิดใช้งานเพียง 30% ความรุนแรงจากแผ่นดินไหวทำให้สถานีรถไฟไดไคถล่มส่งผลให้ทางหลวงหมายเลข 28 ถล่มตามลงมาด้วยทำให้ทั้งสายต้องปิดตัวลง หลังจากแผ่นดินไหวการเดินทางโดยรถไฟสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วโดยสามารถใช้งานได้ถึง 80% ในหนึ่งเดือน แต่ยังคงมีการจำกัดความเร็วจนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1995
เกาะเทียมโดยเฉพาะร็อคโกะและเกาะพอร์ต ในโคเบะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเนื่องจากแผ่นดินเหลว แต่เกาะเทียมที่เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติคันไซไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ไกลจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหว และสร้างขึ้นตามมาตรฐานล่าสุด และสะพานอากาชิไคเกียวซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมาก แต่กับไม่ได้รับความเสียหาย
ผู้เสียชีวิต
แก้เมื่อตรวจสอบข้อมูลผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง มีผู้เสียชีวิตในอาคารกว่า 86.6% ในจำนวนนั้นมีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ จากการถูกทับ การบาดเจ็บที่ศีรษะหรืออวัยวะภายใน อันเนื่องมาจากอาคารถล่มหรือการพลิกคว่ำของฟอร์นิเจอร์ 83.3% และสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาคือ การเสียชีวิตจากการถูกไฟไหม้ 12.2% จากการสอบสวนเพิ่มเติมพบว่าการถล่มของบ้านเรือนทำให้ไฟลุกลามได้ง่ายขึ้น กล่าวคือผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่กว่า 98-99% เกิดจากการถล่มของอาคาร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือแทบจะไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตเลยหากอาคารในตอนนั้นไม่พังทลายลงมา [15]
ลางสังหรณ์
แก้จากการวิจัยในภายหลังรายงานว่ามีปรากฏการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นก่อนแผ่นดินไหว [16][17]
ความแปรปรวนของเปลือกโลกใกล้เคียง
แก้จากการสำรวจของสถาบันวิจัยการป้องกันภัยพิบัติแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตและหน่วยงานอื่น ๆ พบว่าตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1994 ถึง 1995 พื้นที่กว้างในคันไซเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ซึ่งเปลี่ยนจากการบีบอัดเป็นการขยายตัวอย่างกะทันหัน การเปลี่ยนแปลงความเครียดนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก และการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวฮันชิง-อาวาจิขึ้น [18]
ช่วงว่างแผ่นดินไหว
แก้นักวิจัยบางคนคาดการณ์ว่าจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นช่วงว่างแผ่นดินไหวระดับที่สาม หมายถึงบริเวณที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวใกล้รอยเลื่อนที่มักเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นประจำ[19] การวิเคราะห์ข้อมูลในภายหลังพบว่าในช่วงท้ายปี 1992 เกิดปรากฏการณ์ช่วงว่างแผ่นดินไหวไปทั่วภูเขาโฮกูเซ็ตสึและภูเขาทันบะ [17]
ฝูงแผ่นดินไหวอินางาวะ
แก้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่รู้สึกได้เป็นระยะ ๆ ในบริเวณใกล้เคียงนครอินางาวะ จังหวัดเฮียวโงะ[20][17]
แผ่นดินไหวนำ
แก้เมื่อเวลา 18:28 น. ของวันที่ 16 มกราคม เพียงหนึ่งวันก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ได้เกิดแผ่นดินไหวนำขนาดเล็ก 3.3 เกิดใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก [21][22] คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นแผ่นดินไหวนำก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในวันถัดมา แต่เป็นเรื่องยากที่จะทำนายการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จากแผ่นดินไหวนำ
การตั้งชื่อ
แก้นอกประเทศญี่ปุ่นมีการรู้จักแผ่นดินไหวในชื่อ "แผ่นดินไหวโคเบะ" แต่ในญี่ปุ่นเรียกแผ่นดินไหวครั้งนี้อย่างเป็นทางการว่า "แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง-อาวาจิ" (阪神・淡路大震災, Hanshin-Awaji Daishinsai) ฮันชิงหมายถึงภูมิภาคระหว่างโอซากะและโคเบะ ชื่อนี้ถูกเลือกโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใน 1 สัปดาห์หลังจากแผ่นดินไหว
จิตอาสา
แก้อาสาสมัครจากทั่วประเทศญี่ปุ่นมาบรรจบกันที่โคเบะเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 17 มกราคมเป็น "วันป้องกันและอาสาสมัครภัยพิบัติ" ของชาติ และสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 ถึง 21 มกราคม เป็น "สัปดาห์ป้องกันและอาสาสมัครภัยพิบัติ" เพื่อเป็นการบรรยาย การสัมมนา และกิจกรรมอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเตรียมพร้อมและบรรเทาภัยพิบัติโดยสมัครใจ [23]
อนุสรณ์
แก้โคเบะ รูมินาริ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันครบรอบแผ่นดินไหว จัดขึ้นประมาณสองสัปดาห์ทุกเดือนธันวาคม มีการตกแต่งด้วยซุ้มประตูด้วยไฟหลากสีที่รัฐบาลอิตาลีบริจาค จากถนนาจากร้านไดมารุในโมโตมาจิไปยังสวนสาธารณะฮิงาชิยูเอ็นจิ ตัวเลข "1.17" ขนาดใหญ่จะส่องสว่างในช่วงต้นของวันที่ 17 มกราคมของทุกปี
ภาพและสื่อ
แก้ดูภาพแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงทั้งหมดที่: ภาพแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่คอมมอนส์
-
ความเข้มของแรงสั่น
-
หน้าร้านขายสินค้าราคาถูกในย่านมินาโตะงาวะ โคเบะ
-
รอยเลื่อนโนจิมะสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้
-
อาคารถล่มลงมาปิดถนน
-
ผู้คนกำลังเดินผ่านซากอาคาร
-
ชายผู้รายงานสถานการณ์ความเสียหายทางโทรศัพท์มือถือที่สถานี Hankyu Sannomiya
-
อาคารที่เอียงจากแรงสั่น
เชิงอรรถ
แก้- ก. ^ ชื่อ ฮันชิง (ญี่ปุ่น: 阪神; โรมาจิ: Hanshin) มาจากอักษรคันจิตัวหลังของชื่อนครโอซากะ (大阪) และอักษรตัวหน้าของชื่อนครโคเบะ (神戸) ซึ่งเป็นชื่อของทางด่วนฮันชิง ที่เชื่อมระหว่างโคเบะกับโอซากะ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ISC (2015), ISC-GEM Global Instrumental Earthquake Catalogue (1900–2009), Version 2.0, International Seismological Centre
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 USGS (September 4, 2009), PAGER-CAT Earthquake Catalog, Version 2008_06.1, United States Geological Survey, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-13
- ↑ 3.0 3.1 Comfort, Louise (1995). Self Organization in Disaster Response: The Great Hanshin Earthquake of January 17, 1995 (PDF). p. 12.
- ↑ National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972). "Significant Earthquake Database". NOAA (Data Set). National Geophysical Data Center, NOAA. doi:10.7289/V5TD9V7K.
- ↑ International Seismological Centre. On-line Bulletin. Thatcham, United Kingdom. [Event 124708].
- ↑ 6.0 6.1 "震度7より大きい震度8や震度10が存在しないのはなぜか。". 地球科学ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 May 2023.
- ↑ "阪神大震災から25年 : 大都市直下型地震の衝撃". nippon.com (ภาษาญี่ปุ่น). 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 August 2022.
- ↑ The City of Kobe (2009-01-01). "STATISTICS" (PDF). The Great Hanshin-Awaji Earthquake: Statistics and Restoration Progress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-29.
- ↑ Kobe City FIRE Bureau (2006-01-17). "被害の状況". 阪神・淡路大震災. On the Site in Japanese of Kobe City FIRE Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
- ↑ Gazetas, George; Anastasopoulos, Ioannis; Gerolymos, Nikos; Mylonakis, George; Syngros, Costis (2006). Rackwitz, Frank (บ.ก.). "The Collapse of the Hanshin Expressway (Fukae) Bridge, Kobe 1995: Soil-Foundation-Structure Interaction, Reconstruction, Seismic Isolation". Entwicklungen in der Bodenmechanik, Bodendynamik und Geotechnik (ภาษาอังกฤษ). Berlin, Heidelberg: Springer: 93–120. doi:10.1007/3-540-27438-3_7. ISBN 978-3-540-27438-4.
- ↑ "震度データベース検索". www.data.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 気象庁(1997): 第2章 現地調査, 気象庁技術報告, 第119号
- ↑ Anshel J. Schiff, บ.ก. (1999). Hyogoken-Nanbu (Kobe) Earthquake of January 17, 1995: Lifeline Performance. Reston, VA: ASCE, TCLEE. ISBN 9780784404089. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2013. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
- ↑ "Introduction to the Building Standard Law" (PDF). July 2013.
- ↑ "【三匹の子ぶた vol.09】〜多くのマスコミも誤解した阪神淡路大震災の被害の事実〜". 耐震構法SE構法のエヌ・シー・エヌ | 木造注文住宅なら耐震構法SE構法のエヌ・シー・エヌ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 28 August 2022.
- ↑ 1995年兵庫県南部地震の予測可能性:地震活動からみた予測性(京大防)PDF
- ↑ 17.0 17.1 17.2 片尾浩 (2015年1月). "兵庫県南部地震を振り返って〜観測の現場から〜" (PDF). 「なゐふる」. 日本地震学会. 100: 2-3. สืบค้นเมื่อ 2020-12-5.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 1995年兵庫県南部地震に先行した広域地殻歪について 京都大学防災研究所 年報49号 2006PDF
- ↑ 石川有三 1995 地震活動空白域の定義、月刊地球 号,p71-80
- ↑ 兵庫県猪名川町の群発地震について(京大防)PDF 地震予知連絡会 会報第53巻, NAID 20000167003
- ↑ 阪神.淡路大震災を体験して、今後の地震についての考察 เก็บถาวร 2021-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน アマチュア無線運用とHAMボランティアの活動 : 阪神・淡路大震災 : 実状記録と反省そして更なる無線運用の構築に向けて 1995阪神・淡路大震災で活動したアマチュア無線家有志
- ↑ 兵庫県南部地震の前震に現れた初期フェイズの普遍性PDF 地球惑星科学関連学会 2002年合同大会
- ↑ "'Disaster Prevention and Volunteerism Day' and 'Disaster Prevention and Volunteerism Week'" (ภาษาญี่ปุ่น). Cabinet Office, Government of Japan. December 15, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
อ่านเพิ่ม
แก้- Kitamura, R.; Yamamoto, T.; Fujii, S. (1998). "Impacts of the Hanshin-Awaji Earthquake on Traffic and Travel – Where Did All the Traffic Go?". ใน Cairns, S.; Hass-Klau, C.; Goodwin, P. (บ.ก.). Traffic Impact of Highway Capacity Reductions: Assessment of the Evidence. London: Landor Publishing. pp. 239–261.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Great Hanshin Earthquake and the destruction of the infrastructure เก็บถาวร 2014-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism
- Kunii et al., The Medical and Public Health Response to the Great Hanshin-Awaji Earthquake in Japan: A Case Study in Disaster Planning เก็บถาวร 23 พฤศจิกายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sawada and Shimizutani, Are People Insured Against Natural Disasters? Evidence from the Great Hanshin-Awaji (Kobe) Earthquake in 1995
- Seismic Activity in Japan – Headquarters for Earthquake Research Promotion
- Special Great Hanshin Earthquake Edition - St. Cloud State University - Links to lists of the deceased and injured, including Japanese citizens and foreign students at Kobe University
- Kansai Area Earthquake information - Sony Computer Science Laboratory Inc. (ソニーコンピュータサイエンス研究所)