แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์

แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์ (อังกฤษ: Kübler-Ross model) เป็นชุดขั้นทางอารมณ์ที่ผู้เผชิญการเสียชีวิตของบุคคลสนิทประสบ แบ่งเป็นห้าขั้น คือ ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้าและยอมรับ

จิตแพทย์ชาวสวิส เอลิซาเบธ คือเบลอร์-รอสส์ (Elisabeth Kübler-Ross) เริ่มแบบจำลองนี้ในหนังสือ ว่าด้วยความตายและการตาย (On Death and Dying) ของเธอในปี 2512 ซึ่งได้รับบันดาลใจจากงานของเธอกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย[1] โดยมีแรงจูงใจจากการขาดหลักสูตรในโรงเรียนแพทย์เรื่องความตายและการตาย คือเบลอร์-รอสส์จึงพิจารณาความตายและผู้ที่เผชิญความตายที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยชิคาโก โครงการของคือเบลอร์-รอสส์พัฒนาเป็นชุดสัมมนาซึ่งร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและการวิจัยก่อน ๆ กลายเป็นรากฐานของหนังสือเธอ นับแต่การจัดพิมพ์ ว่าด้วยความตายและการตาย แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์ได้กลายเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน

คือเบลอร์-รอสส์บันทึกในภายหลังว่าขั้นต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ความก้าวหน้าเป็นเส้นตรงและพยากรณ์ได้ และเธอเสียใจที่เขียนแบบจำลองนี้โดยทำให้เข้าใจผิด[2] ทว่า มีห้าประสบการณ์ร่วมที่เกิดกับผู้สูญเสียที่เกิดในลำดับใดก็ได้ ถ้ามี

การวิจารณ์ แก้

ในหนังสือของจอร์จ โบนันโน (George Bonanno) อีกข้างหนึ่งของความเศร้า: สิ่งที่วิทยาศาสตร์การพรากใหม่บอกเราเกี่ยวกับชีวิตหลังการสูญเสีย (The Other Side of Sadness: What the New Science of Bereavement Tells Us About Life After a Loss) เขาสรุปการวิจัยการทบทวนระดับเดียวกันที่อิงหลายพันเรื่องเป็นเวลากว่าสองทศวรรษและสรุปว่า การหายเองตามธรรมชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญของความโศกเศร้า[3] ตรรกะคือ หากไม่มีความโศกเศร้า ก็ไม่มีขั้นของความโศกเศร้าให้ผ่าน งานของโบนันโนยังแสดงว่าการขาดความโศกเศร้าหรืออาการบาดเจ็บเป็นผลลัพธ์ที่ดี[4][5]

อ้างอิง แก้

  1. Broom, Sarah M. (Aug 30, 2004). "Milestones". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-17. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.
  2. On Grief and Grieving: Finding the Meaning of Grief Through the Five Stages of Loss. Elisabeth Kübler-Ross and David Kessler
  3. Bonanno, George A. (January 2004). "Loss, trauma, and human resilience: have we underestimated the human capacity to thrive after extremely aversive events?". The American Psychologist. 59 (1): 20–8. doi:10.1037/0003-066X.59.1.20. PMID 14736317.
  4. The Neuroscience of True Grit. Gary Stix, 15 February 2011. Scientific American.
  5. "New Ways to Think About Grief. Ruth Davis Konigsberg, 29 January, 2011, Time Magazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.